ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทปิด 30.28/29 แกว่งแคบ มองแนวโน้มยังแข็งค่าต่อ คาดกรอบพรุ่งนี้ 30.25-30.35

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 24, 2019 17:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.28/29 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.28/29 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทค่อนข้างนิ่ง โดยยังรอผลประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในช่วงเย็นนี้ที่ตลาดคาดว่า ECB จะมีมาตรการ ผ่อนคลายทางการเงินออกมา ในขณะที่คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมไปก่อน ส่วนปัจจัยอื่นยังไม่ค่อยมีผลต่อเงินบาท ในวันนี้มากนัก อย่างไรก็ดี ภาพรวมเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.25-30.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.67 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.60 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1130/1131 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1137 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,620.97 จุด ลดลง 10.49 จุด (-0.64%) มูลค่าการซื้อขาย 70,337 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,817.22 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงการคลัง เผยปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.61-ก.ย.62) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,563,068 ล้านบาท สูง
กว่าปีก่อน 26,123 ล้านบาท หรือ 1.0% และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 13,068 ล้านบาท หรือ 0.5% ซึ่งจาก
สถานการณ์เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการบริหารและติดตามของกระทรวงการคลัง ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาล
สุทธิปีงบประมาณ 2562 เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และทำให้ฐานะการคลังของประเทศมีความเข้มแข็งเอื้อต่อการดำเนินนโยบาย เพื่อ
สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณถัดไป
  • กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.61 - ก.
ย.62) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 2,538,432 ล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,043,177 ล้านบาท โดย
รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 348,978 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 512,955 ล้าน
บาท
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4/62 จะขยายตัวได้ 3.5% ดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมา
และคาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.8% จากผลของการปลดล็อคความไม่แน่นอนเรื่องงบประมาณรายจ่ายปี 63 และมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงท้ายปี พร้อมคาดว่าภายในปีนี้มีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะลดดอกเบี้ยลงไปอยู่
ที่ 1.25% ส่วนเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องไปจนถึงปี 63 โดยมองว่าช่วง H1/63 เงินบาทจะแข็งค่าแตะ 29.70 บาท/ดอลลาร์ และสิ้นปี
63 อยู่ที่ระดับ 29.20-29.30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นการแข็งค่าสุดในรอบมากกว่า 5 ปี
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานวิเคราะห์ภาคการธนาคารญี่ปุ่นรอบครึ่งปี โดยระบุว่า ระบบการธนาคารของ
ญี่ปุ่นมีความเปราะบางมากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเผชิญกับความเสี่ยงในการปล่อยเงินกู้ และการลงทุนในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยอยู่
ในระดับต่ำมากเป็นเวลานาน นอกจากนี้ สถาบันการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่นได้ขยายการปล่อยเงินกู้ไปยังต่างประเทศ ซึ่งทำให้ระบบการ
ธนาคารของญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศ
  • เจพีมอร์แกน เปิดเผยผลสำรวจของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (CFO) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบริษัทระดับ
โลก 130 แห่ง พบว่า CFO มองว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และผลกระทบของภาษีการค้า เป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดสำหรับบริษัท
ของพวกเขาในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
  • ประธานรัฐสภายุโรป ระบุว่า รัฐสภายุโรปกำลังพิจารณาข้อเรียกร้องของอังกฤษ ในการขอเลื่อนกำหนดเส้นตายครั้งใหม่
ไปจนถึงวันที่ 31 ม.ค.63 สำหรับการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ซึ่งรัฐสภายุโรปต้องการให้คณะมนตรียุโรป
(European Council) ยอมรับการเรียกร้องของอังกฤษ
  • สภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยในรายงานฉบับใหม่ว่า ทองคำในฐานะสินทรัพย์ มีความแข็งแกร่งใน
บริบทความเสี่ยงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ลงทุนในกระแสหลัก
ส่วนใหญ่ ความยืดหยุ่นของทองคำสะท้อนให้เห็นกลไกขับเคลื่อนความต้องการทองคำในบางส่วน ซึ่งหนุนให้เกิดการลงทุนในทองคำ
อย่างกว้างขวาง ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกันแล้วชี้ว่าทองคำ อาจมีบทบาทเพิ่มเติมในฐานะสินทรัพย์บรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพอากาศใน
แผนกลยุทธ์ลงทุนระยะยาว
  • นักลงทุนติดตามการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่จะมีขึ้นในระหว่างวัน

ที่ 29-30 ต.ค.นี้ โดยส่วนใหญ่ต่างคาดว่า FOMC จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมรอบนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ