ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.08 เคลื่อนไหวกรอบแคบตามภูมิภาค หลังดอลล์แข็งจากปธ.เฟดปัดใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ แม้กังวลศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 14, 2020 09:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.08 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวาน นี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.05/09 บาท/ดอลลาร์

"เมื่อคืนประธานเฟดประเมินภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯยังเผชิญกับความไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงในช่วงขาลง แต่เครื่องมือ หนึ่งที่เฟดจะไม่เข้าไปแตะคือการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ทำให้ดอลลาร์ฟื้นตัวเมื่อเทียบกับสกุลหลัก ซึ่งเงินบาทก็เคลื่อนไหวตาม ภูมิภาค"นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 32.00 - 32.15 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (13 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.51105% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.75095%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.89 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 107.06 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0815 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.0840 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.0820 บาท/ดอลลาร์
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะประชุมร่วมกับหน่วยงานสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อประเมินภาวะ
เศรษฐกิจ และกำหนดแผนประคองเศรษฐกิจช่วงที่เหลือของปี 63 หลังต้องเผชิญกับผล กระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยในการสัมมนาออนไลน์ เรื่องกลยุทธ์การท่องเที่ยวของประเทศ
ไทยในสถานการณ์โควิด-19 ว่า การท่องเที่ยวคงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนถึงอาจจะกลับมาเริ่มเดินทางได้ ททท.เตรียมแผน
ความพร้อมหลังรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์ประเทศไว้ 3 ระดับ คือ ระดับแรก การเตรียมความพร้อมการซ่อมสร้างการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิต
ใหม่ พร้อมการสื่อสารการตลาดว่าไทยยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และต่างประเทศยังคงนึกถึง ระดับที่ 2 หากหลาย
ประเทศมีการปลดล็อกการเดินทางท่องเที่ยวได้ 50-60% จะเน้นนักท่องเที่ยวบางชาติที่มีการควบคุมโรคเป็นอย่างดี สามารถเดินทางได้
โดยมีใบอนุญาตจากแพทย์ ส่วนระดับ 3 หากทุกอย่างเปิดทั้งหมด ก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปด้วย
  • "ธนินท์" เสนอรัฐปลดล็อกดาวน์สกัดเศรษฐกิจพัง ประเมินปิดเมือง 1 เดือนเสียหายแล้วกว่า 5 แสนล้านบาท มั่นใจไม่
ระบาดรอบ 2 ซ้ำรอยเกาหลี-ญี่ปุ่น แนะกู้เงิน 3 ล้านล้าน อุ้มแรงงาน-เกษตรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ควบคู่ลงทุนระบบสาธรณสุข ดันขึ้นศูนย์
การแพทย์โลก
  • รายงานสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WESP) ของสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะหดตัว
ลง 3.2% ในปีนี้ และมูลค่าเศรษฐกิจโลกจะลดลงเกือบ 8.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ดิ่งลง 1.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลัง
จากลดลง 0.2% ในเดือนมี.ค. โดยการร่วงลงของดัชนี PPI ในเดือนเม.ย. ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าสหรัฐจะเผชิญภาวะเงิน
ฝืดในช่วงสั้นๆ ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบอุปสงค์
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับความ
ไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 พ.ค.)
เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยและมีสภาพคล่องมากที่สุด หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) เตือนว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับความไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากนายเจอ
โรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตือนว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับความไม่
แน่นอน และมีความเสี่ยงในช่วงขาลง
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความในวันนี้ ระบุว่า ผลประโยชน์ที่สหรัฐได้รับจากการทำข้อตกลงทางการค้ากับจีนที่
เขาลงนามในเดือนม.ค. ดูด้อยค่าลงเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่สหรัฐได้รับจาก"โรคร้ายที่มาจากจีน"
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอด

ค้าปลีกเดือนเม.ย., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาค

อุตสาหกรรมเดือนเม.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ