ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.11/12 แข็งค่าจากช่วงเช้าหลังมีแรงซื้อทองกลับ จับตาประชุมเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 16, 2020 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.11/12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.19/21 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเช้าเงินบาทยังทรงตัว แต่หลังจากที่มีการเทขายทองคำเพื่อทำกำไร และช่วงบ่ายมี flow กลับเข้ามา จึงทำให้เงินบาท ในช่วงบ่ายทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นตามแรงซื้อทองคำ อย่างไรก็ดี คืนนี้ต้องจับตาผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพราะหากออก มาเป็นตามทิศทางที่ตลาดคาดไว้ ดอลลาร์ก็มีโอกาสจะอ่อนค่าลง แต่ทั้งนี้ คงไม่ได้ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปได้มากนัก

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.00 - 31.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.17/22 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.28/30 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1876/1879 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1840/1843 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,293.48 จุด เพิ่มขึ้น 7.30 จุด (+0.57%) มูลค่าการซื้อขาย 52,709 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,200.61 ลบ. (SET+MAI)
  • ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) อัดงบ
5.1 หมื่นล้านบาท ผ่านมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และประชาชนทั่ว
ไป ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่ม
วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค เป็นเดือนละ 500 บาท ตั้งแต่ต.ค.-ธ.ค.63 และ 2.โครงการคนละครึ่ง ซึ่งจะให้วงเงินแก่ผู้มี
สิทธิ 3,000 บาท ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้าทั่วไปไม่เกินวันละ 100 บาท โดยรัฐจะร่วมจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง เริ่ม 23
ต.ค.-31 ธ.ค.63
  • ที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.)เห็นชอบ
มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และประชาชนทั่วไป ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อ
ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ โครงการคนละครึ่ง ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง
  • ศบศ. เห็นชอบมาตรการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา Credit term ในประเทศไทย ตามข้อเสนอของสภาพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ที่เป็นผู้จัดส่ง
สินค้าและวัตถุดิบการผลิต (Supplier) ของธุรกิจขนาดใหญ่
  • ศบศ. มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ ศบศ.ดำเนินการผลักดันขับเคลื่อนและ
ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายโครงการที่ตั้งไว้อย่างเป็นรูปธรรม
  • นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พบปะพูดคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ จากองค์กรวิจัยอิสระ มหาวิทยาลัย และสถาบันการเงิน
ที่ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตในช่วงนี้ มีหลายเรื่องที่ได้คุยกัน เช่น
นโยบายการเงินการคลัง ระบบภาษี การกระตุ้นการจ้างงาน และการปรับทักษะแรงงาน รวมถึงสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาล
ต้องเตรียมการเพื่อรับมือในอนาคต แต่ได้ปฎิเสธที่จะตอบคำถามถึงกระแสข่าวว่าจะมีการทาบทามคนนอกเข้ามารับตำแหน่ง รมว.คลัง
  • องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัว 4.5% ในปี 2563 ซึ่ง
เป็นการปรับทบทวนตัวเลขเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาว่าจะหดตัว 6% ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นตัวได้ใน
ปีหน้า
  • โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 3 ของปีนี้
หากปัจจัยกระตุ้นการฟื้นตัวยังคงปรากฏให้เห็นในเดือนนี้
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เริ่มการประชุมนโยบายการเงิน โดยนักวิเคราะห์คาดว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ BOJ จะ
คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ และคงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในวงเงินรวม 110 ล้านล้านเยน (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่ง
รวมถึงโครงการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยสำหรับบริษัทเอกชน และเข้าซื้อหุ้นกู้ และตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial Paper)
หลังจากที่ได้เปิดตัวโครงการดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
  • นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีการแถลงใน

วันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือในช่วงเช้าของวันพรุ่งนี้ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-

0.25% และจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2566


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ