ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.91 ระหว่างวันผันผวนตามภูมิภาค รอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 18, 2023 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.91 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.08 บาท/ดอลลาร์

ปิดตลาดเย็นนี้ เงินบาทกลับมาแข็งค่าเมื่อเทียบกับช่วงเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทผันผวนค่อนข้างมาก เคลื่อนไหวในกรอบ 32.89 - 33.18 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งในช่วงครึ่งวันเช้า หลังจากรู้ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่มีมติคงนโยบาย Yield Curve Contro เงินบาทได้อ่อนค่าลงไป แต่ก็กลับมาแข็งค่าในช่วงบ่าย หลังมีแรงซื้อดอลลาร์กลับ

"ค่าเงินในเอเชียอ่อนค่าลงไป หลังจากที่มติ BOJ ออกมาว่าคงนโยบายเดิม แต่พอช่วงบ่ายที่ตลาดฝั่งยุโรปเปิด ก็มีแรงขาย ดอลลาร์กลับ จึงทำให้บาทกลับมาแข็งค่า เกาะกลุ่มกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย" นักบริหารเงิน ระบุ

สำหรับสัปดาห์นี้ ถือว่าไม่มีปัจจัยใหญ่ๆ สำคัญที่จะมีผลต่อค่าเงินแล้ว เป็นเพียงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไปของสหรัฐฯ โดย สัปดาห์หน้า ตลาดรอติดตามผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และยอดส่งออกของไทยเดือนธ.ค. และสรุปทั้งปี 65

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75 - 33.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 129.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 128.63 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0865 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,685.44 จุด เพิ่มขึ้น 4.40 จุด (+0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 61,238 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,606.76 ลบ. (SET+MAI)
  • KKP Research ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 66 จากการเติบโตที่ 2.8% เป็นเติบโต 3.6% โดยปัจจัยสนับ
สนุนหลักมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสามารถเข้ามาได้ 25.1 ล้านคน จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 19.2 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลบวก
เพิ่มเติมต่อการบริโภคในประเทศ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และ
ยังคงกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่นไว้ในช่วง -0.5% ถึง +0.5% ซึ่งการคงนโยบายการเงินดังกล่าว สวนทาง
กับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่า BOJ จะปรับนโยบายการเงินอีกครั้งในการประชุมวันนี้
  • BOJ ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐาน ในปีงบประมาณ 2565 ขึ้นสู่ระดับ 3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ
2.9% และคาดว่าดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานในปีงบประมาณ 2566 จะเพิ่มขึ้น 1.6% และจากนั้นจะเพิ่มขึ้น 1.8% ในปีถัดไป ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย
เงินเฟ้อ 2% ของ BOJ
  • ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ย้ำว่า BOJ จะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของ
ค่าจ้าง และเป็นปัจจัยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ และยั่งยืนตามเป้าหมายของ BOJ ต่อไป
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อสำคัญของอังกฤษในเดือนธ.ค.65 เพิ่มขึ้น 10.5% แต่ต่ำกว่าเดือน พ.
ย. ซึ่งอยู่ที่ 10.7% และเดือน ต.ค.ซึ่งอยู่ที่ 11.1% ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาพลังงานพุ่งทะยานขึ้น โดยเงินเฟ้อของอังกฤษปรับตัวลงติดต่อกัน
เป็นเดือนที่ 2 ซึ่งสร้างความหวังว่า วิกฤตค่าครองชีพที่เลวร้ายที่สุดของยุคนี้ อาจเริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว
  • โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของ GDP จีนในปี 66 ขึ้นสู่ระดับ 5.5% จากที่เคยคาดการณ์
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าอาจขยายตัว 5.2% หลังจากรัฐบาลจีนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินความคาดหมาย และการฟื้นตัวเป็นไปอย่าง
รวดเร็ว
  • ซีอีโอของซิตี้กรุ๊ป อิงค์ คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายฤดูใบไม้
ผลิ (ประมาณเดือนมี.ค.-พ.ค.) หรือต้นฤดูร้อน (ประมาณเดือนมิ.ย.-ส.ค.)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ