Analysis: รายงานยูเอ็นจุดชนวนกระแสโต้แย้งเรื่องอาวุธเคมีในซีเรีย

ข่าวต่างประเทศ Tuesday September 17, 2013 11:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานที่เป็นที่ตั้งตารอคอยกันอย่างมากขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นที่ยืนยันว่า มีการใช้อาวุธเคมีในซีเรียในเหตุสังหารประชาชนหลายร้อยคนเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น มีความยาวเพียง 5 หน้า อีกทั้งยังได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จะก่อให้เกิดการโต้เถียงกัน

นอกจากนี้ รายงานยังไม่ได้ฟันธงว่าผู้ใดเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี รายงานเพียงแต่ระบุว่ามีการใช้อาวุธเคมี ส่งผลให้มีการโต้เถียงกันในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยแต่ละฝ่ายที่โต้เถียงกันต่างอ้างถึงประเด็นในรายงานที่ช่วยสนับสนุนข้อโต้แย้งของตนเอง ซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังคงเป็นเรื่องของความคิดเห็นที่แตกต่างกันของชาติตะวันตกและตะวันออก

ในการจัดทำรายงานดังกล่าว นายบัน กี มุน เลขาธิการยูเอ็น ได้มอบหมายให้ เอเค เซลสตรอม นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเป็นผู้นำทีมงานผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ในซีเรียเพื่อตรวจสอบสถานที่ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นที่เกิดเหตุโจมตีด้วยอาวุธเคมี

ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของซีเรียต่างอ้างว่า อีกฝ่ายเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีในเหตุสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง

ยูเอ็น: รายงานไม่ชัดเจนแต่ทว่ามีความจำเป็น

นายบันกล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่ได้สรุปให้ทางคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นรับทราบว่า วันนี้แม้ว่า จะยังไม่มีความชัดเจน แต่ทั่วโลกก็ยังจำเป็นต้องเดินหน้าเพื่อจัดการกับอาวุธเคมี โดยเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ได้มีการใช้อาวุธเคมีในวงกว้างในพื้นที่เมืองโกตาของกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มพลเรือน

ภารกิจของยูเอ็นทำให้โลกได้รับรู้ ผลการสำรวจยังถูกตั้งคำถามและไม่ชัดเจน นี่คือการทำอาชญากรสงครามและการละเมิดกฎบัตรปี 1925 และกฎหมายสากลอื่นๆ

นายบันกล่าวว่า ที่ผ่านมา สามารถยืนได้ว่ามีการใช้อาวุธเคมีกับประชาชนมานับตั้งแต่สมัยอดีตปธน.ซัดดัม ฮุสเซน ที่ใช้ในเมืองฮาลาบตา เมื่อปี 1988 ซึ่งถือเป็นการใช้อาวุธเพื่อการทำลายล่างที่เลวร่ายที่สุดในทศวรรษที่ 21

รายงานระบุว่า คณะผู้ตรวจสอบได้ลงพื้นที่ในซีเรียเพื่อตรวจสอบพื้นที่ 3 แห่งที่ถูกกล่าวหาว่ามีการใช้อาวุธเคมีอย่างเมืองคาน อัล อาซาล ที่เกิดเหตุโจมตีเมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา และก็ได้รับคำสั่งให้ไปยังเมืองโกตา เพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดเหตุโจมตีเมื่อวันที่ 21 ส.ค.

ทั้งนี้ ได้มีการรายงานข้อมูลหลายเรื่องตั้งแต่ผู้เสียชีวิตถึง 1,400 ราย ซึ่งรวมถึงพลเรือน โดยเฉพาะเด็กและสตรี อย่างไรก็ดี ในวันแรกของการลงพื้นที่ รถของเจ้าหน้าที่ก็ถูกยิงด้วยปืนสไนเปอร์ จนทำให้ทีมงานต้องล่าถอย แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ

ท้ายที่สุด ผู้ตรวจสอบก็ได้เดินทางมายังเมืองโกตาใกล้กับกรุงดามัสกัส โดยไม่ได้รับการข่มขู่หรือสัมภาษณ์ โดยเจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างของเลือด เส้นผม ดิน และตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ และยังได้เก็บชิ้นส่วนของจรวดที่ทางคณะผู้ตรวจสอบชี้ว่าจรวดดังกล่าวได้มีการนำมาใช้เพื่อยิงแก็สซาริน อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิถีกระสุนของยานพาหนะที่ถูกโจมตียังไม่มีความชัดเจน ก็ได้แต่หวังกันว่า จะสามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าว

ทางรัสเซียเองก็ได้จัดทำรายงานความยาว 100 หน้าเรื่องเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่เมือง คาน อัล อาซัล โดยรายงานระบุว่า พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า กลุ่มกบฎอาจจะเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี

ทั้งนี้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ ต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของรายงานดังกล่าว เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องเหตุโจมตีทั้ง 3 ครั้งที่ทางยูเอ็นได้จัดทำรายงาน โดยทีมสำรวจจจะกลับไปที่ซีเรียอีกครั้งเพื่อปฏิบัติภารกิจให้แล้วเสร็จ

มุมมองกลุ่มผู้สนับสนุนซีเรียและชาติตะวันตกที่มีต่อรายงาน

ภายหลังจากที่การหารือของคณะมนตรีความมั่นคงสิ้นสุดลงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตมาร์ค ไลอัล แกรนท์ จากอังกฤษ มองว่า รายงานชี้นำไปที่รัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัสซาด ซึ่งมีความคิดเห็นเช่นเดียวกันกับซาแมนทา พาวเวอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐ

ทูตสหรัฐกล่าวว่า จากการทบทวนเบื้องต้นของเรา พบว่า มีการใช้จรวดขนาด 122 มิลลิเมตรเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ซึ่งจรวดดังกล่าวเชื่อมโยงกันกับเหตุโจมตีที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เราได้ทบทวนวิดีโอจำนวนหลายพันชุดที่เกี่ยวกับเหตุความขัดแย้งล่าสุดในซีเรีย และไม่พบว่า กลุ่มกบฎได้ผลิตหรือใช้จรวดประเภทนี้แต่อย่างใด

ทูตสหรัฐย้ำเรื่องความเห็นของไลอัล แกรนท์ ที่ระบุว่า รายงานชี้ว่า คุณภาพของแก็สพิษที่ได้มีการนำมาใช้นั้นมีคุณภาพสูงกว่าแก็สพิษในสมัยของซัดดัม ฮุสเซนเสียอีก

ทูตสหรัฐกล่าวว่า เซลสตรอมระบุว่า อาวุธที่เก็บได้จากพื้นที่นั้นถูกผลิตขึ้นด้วยมืออาชีพที่เชี่ยวชาญ ไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เป็นอาวุธที่ถูกนำมาดัดแปลงขึ้นมา ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระบุว่า ซีเรียได้ครอบครองแก็สซาริน และเราไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่า กลุ่มฝ่ายต่อต้านรัฐบาลครอบครองแก็สซาริน

ทูตสหรัฐกล่าวต่อไปว่า กองทัพของซีเรียเป็นฝ่ายเตรียมความพร้อมสำหรับการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ส.ค.

ทูตสหรัฐกล่าวว่า ได้มีการแจกจ่ายหน้ากากกันแก็สแก่กองทัพ และได้มีการยิงจรวดจากพื้นที่ควบคุมไปยังย่านที่พักอาศัย 12 แห่งที่ทางรัฐบาลพยายามที่จะกำจัดกองกำลังของกลุ่มต่อต้าน หากเรามองว่ากลุ่มกบฎเป็นฝ่ายใช้อาวุธเคมีในพื้นทั่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนเองก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล

รัสเซีย: รายงานไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้แต่อย่างใด

ทางด้านวิทาลี เชอร์คิน เอกอัครราชทูตของยูเอ็นประจำรัสเซีย ได้ประณามการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย แต่ไม่ได้แปลกใจกับรายงานชิ้นนี้

ทูตรัสเซียกล่าวว่า ตอนนี้คิดว่าบางคนคงจะด่วนสรุปไปว่า รายงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ลงพื้นที่ในซีเรียนั้นชี้ว่ากองกำลังของทางรัฐบาลเป็นฝ่ายที่ใช้อาวุธเคมี ซึ่งจริงๆแล้วเรื่องนี้ควรที่จะมีการศึกษาอย่างระมัดระวัง

ทูตรัสเซียกล่าวว่า การที่จะระบุว่า กลุ่มต่อต้านรัฐบาลไม่ได้ใช้อาวุธเคมีนั้น ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงแบบที่ควรจะเป็น

ทูตรัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า เราได้รับรายงานมาว่ามีการใช้อาวุธเคมีโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อวันที่ 21 ส.ค. และได้มีการสู้รบกับกลุ่มต่อต้าน โดยมีการยิงจรวดที่บรรจุอาวุธเคมี เพื่อโจมตีกลุ่มต่อต้าน แต่ไม่มีรายงานว่า กลุ่มต่อต้านได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่อย่างใด โดยทูตรัสเซียได้ตั้งคำถามว่า ไม่มีรายงานเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเลยกระนั้นหรือ

ทูตรัสเซียยังได้ถามแบบใช้โวหารด้วยว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค. รัฐบาลซีเรียได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 1,026 ราย และผู้เสียชีวิต 16 รายเป็นทหารซีเรีย ดังนั้น ในทางทฤษฎีจึงเป็นไปได้มี่จะมีการยิงจรวด 5 หรือ 6 ลูกมายังฝ่ายตรงข้ามของคุณ และจรวดเหล่านี้พลาดเป้าทั้งหมดเลยหรือ

ดังนั้น คำถามทั้งหมดเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับคำตอบอย่างมืออาชีพและจริงจัง

วิลเลียม เอ็ม ไรลี สำนักข่าวซินหัวรายงาน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ