China Focus: พนักงานโนเกียประท้วงในจีน บทเรียนสำคัญจากการซื้อธุรกิจข้ามชาติ

ข่าวต่างประเทศ Friday November 29, 2013 13:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

พนักงานส่วนใหญ่ของโรงงานโนเกียในเมืองตงกวนทางใต้ของจีนที่ก่อประท้วงเมื่อเร็วๆนี้เริ่มกลับเข้ามาทำงานแล้ว แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการประท้วงดังกล่าวควรเป็นบทเรียนจากการควบรวมและเข้าซื้อกิจการข้ามชาติ

แรงงานโรงงานดังกล่าวถึง 1,000 คนก่อประท้วงตั้งแต่ 19 พ.ย. จากความกังวลว่าจะโดนลดค่าแรง เนื่องจากโนเกียขายธุรกิจโทรศัพท์มือให้แก่ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟท์แวร์รายใหญ่จากสหรัฐ

การประท้วงดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่โนเกียว บริษัทมือถือฟินแลนด์รายนี้ประกาศว่า หุ้นส่วนของบริษัทอนุมัติการขายธุรกิจมือถือ 5.4 พันล้านยูโร (7.2 พันล้านดอลลาร์) โดยคาดว่ากระบวนการถ่ายโอนธุรกิจให้แก่ไมโครซอฟท์จะเกิดขึ้นต้นปี 2557

พนักงานของโนเกียประมาณ 32,000 คนจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์ รวมทั้งพนักงานจากโรงงานตงกวนด้วย โดยโรงงานแห่งหนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 ในฐานะฐานะการผลิตหลักของอุปกรณ์มือถือโนเกียแห่งหนึ่ง และมีพนักงาน 4,900 คน

พนักงานโรงงานตงกวนกังวลว่า พวกเขาอาจถูกบีบให้เซ็นสัญญาฉบับใหม่กับนายจ้างรายใหญ่ภาคใต้เงื่อนไขที่แย่กว่า รวมถึงการถูกปรับลดเงินเดือน และจำนวนวันลางานที่ลดลง

พนักงานเหล่านี้คาดหวังว่า พวกเขาจะได้เซ็นสัญญาใหม่กับไมโครซอฟท์ภายใต้เงื่อนไขที่เท่าเดิมหรือดีขึ้น

ผู้บริหารของโรงงานเปิดเผยกับซินหัวว่า พนักงงานค่อยกลับเข้ามาทำงานตั้งแต่วันอาทิตย์ ภายหลังทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจากันได้โดยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

"ไมโครซอฟท์สัญญาว่าเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานจะยังคงเท่ากับมาตรฐานปัจจุบันภายใน 12 เดือนภายหลังการซื้อกิจการ" จดหมายภายในโรงงานตงกวนระบุ

นายเกา เซียง ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารของโนเกีย ไชน่า กล่าวว่า นอกจากนี้โรงงานตงกวนมอบโบนัส 1,000 หยวน (164 ดอลลาร์) ให้แก่พนักงานผู้ไม่เข้าร่วมการประท้วงด้วย

จดหมายเวียนภายในยังระบุว่า ผู้ที่ปฏิเสธที่จะกลับเข้าไปทำงานจะถูกไล่ออก พนักงานนามสกุลเหลียงรายหนึ่งเปิดเผยว่า เพื่อนร่วมงานของเขากว่า 200 คนถูกปลดงานแล้ว

การประท้วงแบบเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นที่โรงงานแห่งอื่นๆของจีนที่มีการควบรวมกิจการข้ามชาติในกรณีอื่นๆ อาทิ การเข้าซื้อฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยี และความพยายามของอพอลโล บริษัทยางรถยนต์อินเดีย ในการเข้าซื้อบริษัทคูเปอร์ ไทร์ของสหรัฐ

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า บริษัทข้ามชาติต้องเรียนรู้ที่จะพิจารณาผลประโยชน์ของโรงงานและแรงงานจีนด้วย เนื่องจากการสนับสนุนของโรงงานและแรงงานเหล่านี้จะส่งผลอย่างมากต่อการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ

ศาสตร์จาร์ยหวัง เจียงส่ง จากสถาบันความสัมพันธ์อุตสาหกรรมจีนกล่าวว่า การก่อประท้วงที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆ แสดงความเห็นว่า ชาวจีนตื่นตัวเรื่องสิทธิกันเป็นอย่างมาก

"แรงงานอพยพรุ่นแรกของจีนต้องการแค่หาเงินและมีความตระหนักถึงสิทธิน้อย" นายหวังกล่าว "แต่แรงงานยุคใหม่มีความตระหนักถึงสิทธิอย่างแข็งแกร่ง พวกเขาจะต่อต้านอย่างมากหากโดนละเมิดสิทธิ" สำนักข่าวซินหัวรายงาน

แท็ก China Focus   โนเกีย   china  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ