กรุงเทพ--21 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในช่วงบ่ายของวันที่ 20 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่สองของการเยือนกรุงวอชิงตัน นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือข้อราชการกับ ดร. Condoleezza Rice รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาถือได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวแน่นแฟ้นตลอดมา นับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2376 ที่ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างกัน ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สหรัฐฯ ได้ลงนามความตกลงในลักษณะดังกล่าว
ดร. Rice ได้แสดงความชื่นชมต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ก็ได้กล่าวขอบคุณที่ประธานาธิบดีบุชได้โทรศัพท์ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความยินดีด้วยตนเอง พร้อมกล่าวย้ำเชิญชวนให้ประธานาธิบดีบุชและ ดร. Rice เดินทางเยือนประเทศไทยในปีนี้ด้วย
ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ได้มีการกำหนดจัดการเจรจาหารือทางยุทธศาสตร์ไทย — สหรัฐฯ ครั้งที่สองในช่วงหลังของปี เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศได้หารือกันในเรื่องยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ และในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องพม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงถึงแนวนโยบายและจุดยืนของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า (Neighbor Engagement) และมุ่งเน้นการกระชับความร่วมมือระหว่างกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาตามแนวชายแดนและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยเชื่อว่าการเจรจาและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเท่านั้นที่จะเป็นมาตรการในการส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าได้ นอกจากนี้ ไทยได้ย้ำถึงความสำคัญของการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน และยืนยันให้การสนับสนุนพม่าในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของพม่าอีกด้วย
สำหรับประเด็นภูมิภาคอื่น ๆ นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวกับ ดร. Rice ว่าประเทศไทยอยากเห็นสหรัฐฯ มีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในกรอบอาเซียน และโดยที่สหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีว่าการฯ จึงได้ขอให้สหรัฐฯ มีบทบาทในการช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุฯ อีกทางหนึ่งด้วย
ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เข้าพบหารือกับนาย Michael Mukasey รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยในการจับกุมตัวนาย Viktor Bout รวมทั้งหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีด้านความมั่นคง และการสนับสนุนจากฝ่ายสหรัฐฯ ผ่านทาง International Law Enforcement Academy (ILEA) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ในเวลาใกล้เคียงกัน ดร. Madeleine Albright ประธานกลุ่ม Albright และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการฯ เพื่อหารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทย โดยดร. Albright แจ้งว่าจะส่งกลุ่มนักธุรกิจสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนไทยเพื่อแสวงหาลู่ทางการลงทุนต่อไป
สำหรับช่วงบ่ายวันที่ 20 มีนาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เดินทางไปยังสถาบันการศึกษาทางยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ หรือ Center for Strategic and International Studies (CSIS) และได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ Thai-U.S. Relations in the Changing Political-Economic Landscape of Southeast Asia โดยได้ย้ำถึงโอกาสที่เปิดกว้างอันเป็นผลสืบเนื่องจากการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียน และความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ตลอดจนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-สหรัฐฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ในช่วงบ่ายของวันที่ 20 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่สองของการเยือนกรุงวอชิงตัน นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือข้อราชการกับ ดร. Condoleezza Rice รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย — สหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาถือได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวแน่นแฟ้นตลอดมา นับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2376 ที่ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างกัน ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สหรัฐฯ ได้ลงนามความตกลงในลักษณะดังกล่าว
ดร. Rice ได้แสดงความชื่นชมต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ก็ได้กล่าวขอบคุณที่ประธานาธิบดีบุชได้โทรศัพท์ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความยินดีด้วยตนเอง พร้อมกล่าวย้ำเชิญชวนให้ประธานาธิบดีบุชและ ดร. Rice เดินทางเยือนประเทศไทยในปีนี้ด้วย
ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ได้มีการกำหนดจัดการเจรจาหารือทางยุทธศาสตร์ไทย — สหรัฐฯ ครั้งที่สองในช่วงหลังของปี เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศได้หารือกันในเรื่องยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ และในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องพม่า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงถึงแนวนโยบายและจุดยืนของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า (Neighbor Engagement) และมุ่งเน้นการกระชับความร่วมมือระหว่างกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาตามแนวชายแดนและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยเชื่อว่าการเจรจาและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเท่านั้นที่จะเป็นมาตรการในการส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าได้ นอกจากนี้ ไทยได้ย้ำถึงความสำคัญของการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน และยืนยันให้การสนับสนุนพม่าในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของพม่าอีกด้วย
สำหรับประเด็นภูมิภาคอื่น ๆ นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวกับ ดร. Rice ว่าประเทศไทยอยากเห็นสหรัฐฯ มีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในกรอบอาเซียน และโดยที่สหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีว่าการฯ จึงได้ขอให้สหรัฐฯ มีบทบาทในการช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุฯ อีกทางหนึ่งด้วย
ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เข้าพบหารือกับนาย Michael Mukasey รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยในการจับกุมตัวนาย Viktor Bout รวมทั้งหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีด้านความมั่นคง และการสนับสนุนจากฝ่ายสหรัฐฯ ผ่านทาง International Law Enforcement Academy (ILEA) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ในเวลาใกล้เคียงกัน ดร. Madeleine Albright ประธานกลุ่ม Albright และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการฯ เพื่อหารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทย โดยดร. Albright แจ้งว่าจะส่งกลุ่มนักธุรกิจสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนไทยเพื่อแสวงหาลู่ทางการลงทุนต่อไป
สำหรับช่วงบ่ายวันที่ 20 มีนาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เดินทางไปยังสถาบันการศึกษาทางยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ หรือ Center for Strategic and International Studies (CSIS) และได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ Thai-U.S. Relations in the Changing Political-Economic Landscape of Southeast Asia โดยได้ย้ำถึงโอกาสที่เปิดกว้างอันเป็นผลสืบเนื่องจากการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียน และความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ตลอดจนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-สหรัฐฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-