กรุงเทพ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการสาธารณสุข (มาลาเรีย) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท และทรงเป็นประธานการลงนามในความตกลงโครงการดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2551 ณ ห้องประชุมอาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา เวลา 17.00 น. โดยพล.อ.วาภิรมย์ มนัสรังษี รองสมุหราชองครักษ์ในฐานะตัวแทนสมุหราชองครักษ์ ได้ลงนามใน MOU ฝ่ายไทย และ ศ.นพ. เจีย ฉาย รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขประจำกัมพูชาเป็นผู้ลงนามฝ่ายกัมพูชา
โครงการควบคุมมาลาเรียพระราชทานเป็นการช่วยเหลือแก่กัมพูชาด้านสาธารณสุขในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นพระราชดำริสืบเนื่องจากเมื่อครั้งเสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และพระราชทานโรงเรียนวิทยาลัยกัมปงเฌอเตียล เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งครั้งนั้น สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือด้านการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศกัมพูชา หลังจากนั้น คณะทำงานของกรมราชองครักษ์จึงได้เดินทางไปกัมพูชาเพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลโรคมาลาเรียในพื้นที่จังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดมณฑลคีรี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยต่อโรคมาลาเรียสูง ผลการสำรวจสรุปว่า พื้นที่ทั้งสองจังหวัดดังกล่าวน่าจะดำเนินเป็นโครงการนำร่อง จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลถวายรายงานเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งทรงให้ความเห็นชอบและทรงแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานโครงการดังกล่าว โดยมี พล.อ. วิชิต ยาทิพย์ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ
การดำเนินโครงการฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2549 โดยให้ National Center for Parasitology, Entomology and Malaria Control (C.N.M.) และกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา เป็นผู้ดำเนินการหลัก และฝ่ายไทยให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค และถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่กัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การทำให้ประชาชนกัมพูชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดทั้งสอง รวมทั้ง NGOs เห็นถึงความสำคัญของภัยที่เกิดจากโรคมาลาเรีย และร่วมมือกันในการควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าว
คณะทำงาน ฯ ได้คัดเลือกหมู่บ้านนำร่องเพื่อเข้าร่วมโครงการจังหวัดละ 2 - 3 หมู่บ้าน ประชากรประมาณโครงการละ 700 คน โดยจัดส่งวิทยากรเข้าไปประจำในหมู่บ้านเพื่อติดตามผลและให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านในเรื่องสุขอนามัย อาทิ การนอนกางมุ้งเพื่อป้องกันยุง ซึ่งทำให้พฤติกรรมของชาวบ้านเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้จัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของทั้งสองจังหวัดทั้งที่กรุงพนมเปญ และที่จังหวัดตราด สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการรักษาโรคมาลาเรียในพื้นที่โครงการ เป็นผลให้มีผู้ป่วยลดน้อยลง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการสาธารณสุข (มาลาเรีย) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท และทรงเป็นประธานการลงนามในความตกลงโครงการดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2551 ณ ห้องประชุมอาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา เวลา 17.00 น. โดยพล.อ.วาภิรมย์ มนัสรังษี รองสมุหราชองครักษ์ในฐานะตัวแทนสมุหราชองครักษ์ ได้ลงนามใน MOU ฝ่ายไทย และ ศ.นพ. เจีย ฉาย รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขประจำกัมพูชาเป็นผู้ลงนามฝ่ายกัมพูชา
โครงการควบคุมมาลาเรียพระราชทานเป็นการช่วยเหลือแก่กัมพูชาด้านสาธารณสุขในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นพระราชดำริสืบเนื่องจากเมื่อครั้งเสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และพระราชทานโรงเรียนวิทยาลัยกัมปงเฌอเตียล เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งครั้งนั้น สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือด้านการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียในประเทศกัมพูชา หลังจากนั้น คณะทำงานของกรมราชองครักษ์จึงได้เดินทางไปกัมพูชาเพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลโรคมาลาเรียในพื้นที่จังหวัดรัตนคีรีและจังหวัดมณฑลคีรี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยต่อโรคมาลาเรียสูง ผลการสำรวจสรุปว่า พื้นที่ทั้งสองจังหวัดดังกล่าวน่าจะดำเนินเป็นโครงการนำร่อง จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลถวายรายงานเพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งทรงให้ความเห็นชอบและทรงแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานโครงการดังกล่าว โดยมี พล.อ. วิชิต ยาทิพย์ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ
การดำเนินโครงการฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2549 โดยให้ National Center for Parasitology, Entomology and Malaria Control (C.N.M.) และกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา เป็นผู้ดำเนินการหลัก และฝ่ายไทยให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค และถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่กัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การทำให้ประชาชนกัมพูชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดทั้งสอง รวมทั้ง NGOs เห็นถึงความสำคัญของภัยที่เกิดจากโรคมาลาเรีย และร่วมมือกันในการควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าว
คณะทำงาน ฯ ได้คัดเลือกหมู่บ้านนำร่องเพื่อเข้าร่วมโครงการจังหวัดละ 2 - 3 หมู่บ้าน ประชากรประมาณโครงการละ 700 คน โดยจัดส่งวิทยากรเข้าไปประจำในหมู่บ้านเพื่อติดตามผลและให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านในเรื่องสุขอนามัย อาทิ การนอนกางมุ้งเพื่อป้องกันยุง ซึ่งทำให้พฤติกรรมของชาวบ้านเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้จัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของทั้งสองจังหวัดทั้งที่กรุงพนมเปญ และที่จังหวัดตราด สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการรักษาโรคมาลาเรียในพื้นที่โครงการ เป็นผลให้มีผู้ป่วยลดน้อยลง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-