Real GDP ของสหรัฐฯ ไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 1, 2011 15:02 —กระทรวงการคลัง

สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ รายงานตัวเลขเบื้องต้นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ ในปี 2553 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตรารวมร้อยละ 2.9 ต่อปี เปรียบเทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 2.6 ต่อปี ในปี 2552

ปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง (Real PCE) ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยอัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนอยู่ที่ร้อยละ 21.6 ด้านสินค้าไม่คงทนร้อยละ 5.0 และด้านบริการร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 7.6 ร้อยละ 2.5 และร้อยละ 1.6 ตามลาดับ (2) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 หลังจากขยายตัวร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า (3) ปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการที่ชะลอตัวร้อยละ 13.6 หลังจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.8 (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่อาศัย (Non-residential fixed Investment) ที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และ (5) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 หลังจากชะลอตัวร้อยละ 27.3 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553

อย่างไรก็ตาม (1) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชนที่ปรับลดลงร้อยละ 3.70 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 1.61 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 และ (2) ปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับลดลงร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบกับที่ขยายตัวด้วยอัตราร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ยังคงเป็นปัจจัยทางลบที่กดดันการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553

ส่วนระดับราคาสินค้าและบริการขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.1 หลังจากปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า หากไม่รวมสินค้าอาหารและพลังงาน ระดับราคาในไตรมาสที่ 4 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 จะขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 0.4 ตามลาดับ

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553ขยายตัวด้วยอัตราที่สูงกว่าไตรมาสที่ 3 นั้น มาจากปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวในอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับการขยายตัวของไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2549 อันเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่านกฎหมาย Tax Relief, Unemployment Insurance Reauthorization, and Job Creation Act of 2010 (หรือ Bush Tax Cuts) เมื่อกลางเดือนธันวาคม ปี 2553 ที่ช่วยลดหย่อนภาษีบางส่วนให้กับประชากรสหรัฐฯ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศอีกด้วย โดยกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยมาตรการสาคัญ ได้แก่ (1) การขยายการลดหย่อนภาษีรายได้ (Income taxes) ให้กับประชากรสหรัฐทั้งหมดไปจนถึงสิ้นปี 2555 (2) การลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) จานวนร้อยละ 2 (3) การขยายเงินกองทุนช่วยเหลือสาหรับผู้ว่างงาน (Unemployment benefit) และ (4) การลดหย่อนภาษีจากการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจในปี 2554

ปัจจัยหลักที่สองที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 คือ การขาดดุลการค้าระหว่างประเทศที่ปรับลดลงของสหรัฐฯ (ปริมาณการนาเข้าปรับลดลงในขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการปรับลดลงครั้งแรกของปริมาณการขาดดุลดังกล่าวในรอบปี 2553 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินดอลลาห์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ในขณะที่เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 อนึ่ง จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ มากที่สุด คิดเป็นมูลค่ากว่า 250 พันล้านเหรียญ สรอ. ต่อปี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 3.2 ในช่วงไตรมาส ที่ 4 ของปี 2553 แต่การขยายตัวดังกล่าวมีค่าต่ากว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ร้อยละ 3.5 โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการลงทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าว

ในส่วนของอัตราการว่างงานของประชากรสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 9.4 ในเดือนธันวาคม 2553) นั้น นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งการที่อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะปรับลดลงมาในระดับที่ต่ากว่า ร้อยละ 9 ได้นั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 ต้องขยายตัวในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 3 ต่อปี อีกทั้งเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) ไว้ที่ระดับ 600 พันล้านเหรียญสรอ. และจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0 ถึง 0.25 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกระยะหนึ่ง

ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)

Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ