รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 21 — 25 กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 7, 2011 11:42 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ญี่ปุ่น ขาดดุลการค้าประจำเดือนมกราคม 2554 เป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี 10 เดือน

2. Moody's Investors Service ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงมาเป็น Negative

3. เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเริ่มฟื้นตัวจากการผลิตและการส่งออก

-----------------------------------

รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

1. ญี่ปุ่น ขาดดุลการค้าประจำเดือนมกราคม 2554 เป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี 10 เดือน

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นขาดดุลการค้าในเดือนมกราคม 2554 มีมูลค่า 471.4 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี 10 เดือน โดยยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 5.4428 ล้านล้านเยน ได้รับผลกระทบจากราคาน้ามันที่สูงขึ้นโดยการมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากเดือนที่แล้ว ขณะที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 4.9714 ล้านล้านเยน ซึ่งการเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลา 14 เดือน แต่การเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องจากวันหยุดยาวช่วงตรุษจีนทำให้การส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้กล่าวว่าภาวะเศรษฐกิจจีนและภูมภาคเอเชียที่ขยายตัวส่งผลให้การส่งออกญี่ปุ่นสามารถกลับมาเพิ่มขึ้นได้อีก

ส่วนการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียและจีนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า โดยการส่งออกเหล็กกล้าและยานยนต์เพิ่มขึ้นแต่การส่งออกวัตถุไม่ใช้โลหะเหล็กและวัตถุพลาสติกไปยังจีนลดลง ส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 0.7 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

ดุลการค้าประจำเดือนมกราคม 2554

หน่วย: พันล้านเยน

                ยอดการส่งออก (ร้อยละ)          ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)              ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                 752.9 (6.0)                464.8 (-1.9)                  288.1 (21.7)
สหภาพยุโรป            575.9 (-0.7)                512.7  (5.0)                   63.2 (-31.3)
เอเชีย (รวมจีน)       2,730.0 (0.4)              2,469.7 (14.0)                  260.2 (-52.8)
สาธารณรัฐประชาชนจีน     928.8 (1.0)              1,232.2 (17.2)                 -303.3 (131.0)
  รวม               4,971.4 (1.4)              5,442.8 (12.4)                 -471.4 (-)
2. Moody's Investors Service ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงมาเป็น Negative

Moody's Investors Service ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นลงจากที่ระดับ Stable ลงมาอยู่ที่ระดับ Negative เป็นการลดอันดับครั้งแรกในรอบ 8 ปี 9 เดือน เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันสร้างความกังวัลยิ่งมากขึ้นโดยรัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถดาเนินการนโยบายอย่างเต็มที่ได้ หลังจากนาย Koizumi ได้ลาออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ได้มีการเปลี่ยนนายกฯ เกือบทุกปีอย่างติดต่อกัน ทำให้การเมืองไม่มีความมั่นคง จึงไม่สามารถปรับปรุงฐานะด้านการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือครั้งต่อไปจะนาการดำเนินการปรับปรุงระบบภาษีและประกันสังคมในมิถุนายนในปีนี้มาพิจารณาให้ความสาคัญด้วย โดยหากมีการยุบสภา ญี่ปุ่นอาจจะมีโอกาสถูกปรับลดอันดับลงอีก แต่ตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศของ Moody's แต่อย่างใด

ซึ่งญี่ปุ่นถูกลดอันดับความน่าเชื่อเป็นครั้งที่สองภายในเวลา 2 เดือน นับตั้งแต่ Standard and Poor`s ได้ประกาศลดระดับความน่าเชื่อถือญี่ปุ่นในวันที่ 27 มกราคม 2554 แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นมีแนวโน้มจะแข็งตัวขึ้นต่อไปเรื่อยๆ

3. เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเริ่มฟื้นตัวจากการผลิตและการส่งออก

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 นาย Kaoru Yosano รัฐมนตรีประจำสำนักนายก รับผิดชอบด้านนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง ได้รายงานสภาวะเศรษฐกิจต่อคณะรัฐมนตรีว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกาลังเริ่มฟื้นตัว เนื่องจากตัวเลขการผลิตและการส่งออกได้ปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่หยุดชะงักมาตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2553

เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เริ่มถดถอยลงเนื่องจากผลกระทบของ Lehman Brother Shock ในช่วงสิ้นปี 2551 และได้เริ่มฟื้นตัวมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งได้หยุดชะงักลงในช่วงสิ้นปี 2553 ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มมีสัญญาณว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งนึง เนื่องจากตัวเลขการผลิตและการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นและยอดการล้มละลายของบริษัทนั้นลดลง สำหรับด้านการผลิตนั้นได้รับผลมาจากมาตรการส่งเสริมการซื้อรถประหยัดพลังงาน (ECO Car) โดยการลดภาษี และให้เงินสนับสนุนทาให้อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างมาก แต่ภายหลังจากมาตรการดังกล่าวได้หมดอายุลงในเดือนกันยายน 2553 ส่งผลให้ยอดการจาหน่ายรถยนต์ลดลงอีกครั้งแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนยอดการส่งออกนั้นก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยยอดการส่งออกประจาเดือนพฤศจิกายน 2553 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 ที่มียอดการส่งออกน้อยกว่าเดือนกันยายน และในเดือนธันวาคม 2553 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากยอดการส่งออกไปในตลาดเอเชียนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นยอดการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศจีนประจำเดือนมกราคม 2554 นั้นมีจำนวนมากที่สุดในเท่าที่ผ่านมาและยอดการส่งออกชิ้นส่วนสาหรับโทรศัพท์ Smart Phone ไปยังประเทศเกาหลี และไต้หวันนั้นก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาเงินฝืดอยู่ เห็นได้จากยอดการใช้จ่ายรายบุคคลนั้นยังคงซบเซา เนื่องจากจำนวนโบนัสของบรรดาบริษัทที่ได้รับนั้นต่ำกว่าที่ได้คาดไว้ และการเปลี่ยนแปลงมาตรการสนับสนุนการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานทาให้ยอดการขายลดลงเป็นต้น นอกจากนั้นหลายฝ่ายเริ่มกังวลว่าสภาวะความไม่มั่นคงในแถบประเทศตะวันออกกลาง อาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ โดยจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุน

การผลิตของบรรดาบริษัททาให้มีผลกาไรลดลง และหากจะต้องปรับเพิ่มราคาสินค้าก็จะส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคลดต่ำลงไปอีกจนอาจจะทำให้สภาวะเศรษฐกิจฝืดตัวมากขึ้นกว่าปัจจุบันได้

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ