เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 25, 2010 12:23 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค การส่งออก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการอยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการนาเข้าที่ลดลง
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตและการใช้กาลังการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 0.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ส่วนยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ
(DPI) ปรับลดลงร้อยละ 0.1 ซึ่งบางส่วนเป็นผลกระทบจากราคาอาหารและนามันที่ปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่ รวมสินค้าอาหารและนามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.1 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.9 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 192,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 มาอยู่ที่ระดับ 40.3 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในระหว่างช่วงต้นเดือนมีนาคม 2554 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินบาท
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2554 อีกทั้ง ให้ความเห็นว่า ราคาอาหารและนามันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะไม่ส่งผลต่อการขยายตัวมากนัก
  • รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมายขยายเวลาของกองทุนของรัฐบาล (Federal Funds) ประจาปีงบประมาณ 2554 ออกไปเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการปิดทาการลงของโครงการของรัฐบาล และหน่วยงานจากภาครัฐบางส่วน โดยพรรคเดโมเครตและพรรครีพับริกันยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ในการตัดงบประมาณบางส่วนของปี 2554
  • กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ยื่นแผนการปฎิรูปตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ โดยต้องการลดบทบาทของ รัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ความช่วยเหลือผ่านแฟนนี่ เม และ เฟรดดี้ แมค เพื่อสร้างความสมดุลให้กับกลไกตลาดอสังหาริมทรัพย์
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2553

ค่า GDP ของไตรมาสที่ 4 ปรับแก้ไขลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (GDP) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ขยายตัวที่ ร้อยละ 2.8 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยเฉพาะด้านสินค้าคงทนที่ขยายตัวร้อยละ 21.0 (2) ปริมาณการส่งออกที่ขยายตัว ร้อยละ 9.6 (3) ปริมาณการนาเข้าที่ชะลอตัวร้อยละ 12.4 (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 และ (5) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 2.8

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนมกราคม โดยเป็นผลมาจากปริมาณการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคกับปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวเล็กน้อยในช่วงต้นปี 2554 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่มีการชะลอตัวลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่ การผลิตสินค้าบริโภค วัสดุสานักงาน และสินค้าจาพวก Nonindustrial supplies

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 76.3 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งตากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 4.2 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.5)

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง

ในเดือนมกราคม 2554 ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ ยังคงได้รับปัจจัยทางบวกจากการผ่านกฎหมาย Bush Tax Cuts ซึ่งส่งผลให้รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตาม การลดหย่อนภาษีดังกล่าวไม่ได้กระตุ้นการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ เท่าที่ควร โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ชะลอตัวลงร้อยละ 0.1 ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวของภาคการใช้จ่ายเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ทั้งนี้ ได้รับปัจจัยทางลบจากสภาพอากาศที่ยาแย่ในช่วงเดือนดังกล่าว เช่น การเกิดพายุหิมะในหลายพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าปลีก ตลอดจนราคาอาหารและนามันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในเขตตะวันออกกลาง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและนามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.9

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ปรับลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.9 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.2 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้น 60,000 คนจากเดือนก่อน ในขณะที่มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่อัตราร้อยละ 58.4 ของประชากรในวัยทางานทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรที่ว่างงานทั้งหมด 13.7 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 192,000 งาน โดยมาจากการขยายตัวของการจ้างงานด้านอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การขนส่ง งานเกี่ยวข้องกับโกดังสินค้า และสาธารณสุข (Healthcare)

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 14.2) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 12.4) และรัฐฟลอริด้า (ร้อยละ 11.9) ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.3 พันล้านเหรียญ สรอ.

ในเดือนมกราคม 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขาดดุลได้ปรับเพิ่มขึ้น 6.0 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 14.9 จากเดือนธันวาคมที่ระดับ 40.3 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 46.3 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่าน

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 4.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 167.7 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 10.5 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 214.1 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนมกราคม 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีน และเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลสหภาพยุโรปปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า

นโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ย

ธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.5-4.0 ในปี 2554

ในช่วงเดือนมีนาคม 2554 นายเบน เบอนันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นต่อการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ครั้งที่ 2 ว่า สภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีการฟื้นฟูตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง ไตรมาสที่ 4 ปี 2553 และช่วงต้นของไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ซึ่งสังเกตได้จากปริมาณการใช้จ่ายของประชากรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปริมาณการจ้างงานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าราคาอาหารและราคานามันได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นปี 2554 ซึ่งส่งผลทางลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐฯ เชื่อว่าการปรับเพิ่มขึ้นของราคาดังกล่าวจะไม่ยั่งยืน ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด ประกอบกับควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะยาว

อีกทั้ง นายเบน เบอนันกี้ ได้คาดการณ์ว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RealGDP) ในปี 2554 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5-4.0 ในขณะที่อัตราการว่างงานจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5-8.0 ภายในช่วงปลายปี 2555 ส่วนอัตราเงินเฟ้อถูกคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.25-1.75 ในปี 2554 และอยู่ที่ร้อยละ 1.0-2.0 ในปี 2555 และปี 2556

ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25 ตลอดจนยังคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ครั้งที่ 2 ไว้ที่จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ.

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง

รัฐสภาสหรัฐฯ ขยายเวลาการพิจารณาตัดงบประมาณปี 2554 ไปอีก 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการปิดทาการลงของหน่วยงานภาครัฐฯ

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมายขยายเวลาของกองทุนของรัฐบาล (Federal Funds) ประจาปีงบประมาณ 2554 ไปจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2554 รวมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการปิดทาการลงของโครงการของรัฐบาล และหน่วยงานจากภาครัฐบางส่วน หลังจากที่พรรคเดโมเครตซึ่งมีเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ และพรรครีพับริกันที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ไม่สามารถหาข้อสรุปในการพิจารณาตัดงบประมาณของปีดังกล่าว โดยการขยายเวลาในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากได้ขยายเวลาในลักษณะดังกล่าวเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2554

แม้ว่าการผ่านกฎหมายฉบับนี้ พรรคเดโมเครตยินยอมให้ตัดงบประมาณในส่วนของ Nondefense Discretionary จานวน 6 พันล้านเหรียญ สรอ. แต่การตัดงบประมาณดังกล่าว ยังคงมีปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่พรรครีพับริกันต้องการจานวน 61 พันล้านเหรียญ สรอ.

ทั้งนี้ ยังคงเป็นที่น่าติดตามว่านโยบายทางการคลังสหรัฐฯ จะเป็นไปในทิศทางใด เพราะนอกจากที่รัฐสภาสหรัฐฯ จะมีกาหนดต้องพิจารณาตัดงบประมาณของปี 2554 ตามที่กล่าวข้างต้นในเดือนเมษายน 2554 แล้ว รัฐสภาสหรัฐฯ ยังมีกาหนดต้องพิจารณานโยบายทางการคลังอื่นๆ ที่สาคัญประกอบด้วย (1)การพิจารณาปรับเพิ่มขอบเขตวงเงินหนี้สาธารณะ (US Public Debt Limit) และ (2)การพิจารณาจัดสรรงบประมาณสาหรับปีงบประมาณ 2555

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินเยน

ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ โดยค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ และเงินหยวน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนอ่อนตัวลงในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม ซึ่งได้รับปัจจัยความผันผวนจากการแทรกแซงค่าเงินของกลุ่ม G7 เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินเยนจากการที่เงินเยนได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว/สึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น และตลาดคาดกาณ์ว่าจะมีกระแสเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าญี่ปุ่นเพื่อฟื้นฟูความเสียหายหลังภัยพิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 17 มีนาคม 2554 อยู่ที่ 1.4018 USD/EUR, 1.6144 USD/GBP, 0.0126 USD/JPY, และ 0.1522 USD/CNY

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนมีนาคม โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2554 อยู่ที่ 30.2718 THB/USD ลดลงเล็กน้อยจาก 30.5595 THB/USD เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สาคัญ
  • เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ยื่นแผนการปฎิรูปตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ โดยต้องการลดบทบาทของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับกลไกตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ แผนปฎิรูปดังกล่าวประกอบไปด้วย การปรับมาตรฐานการปล่อยกู้สินเชื่อของแฟนนี่ เม และ เฟรดดี้ แมค ให้มาอยู่ในระดับเดียวกับผู้ปล่อยกู้จากภาคเอกชน ตลอดจนแนวทางการปรับโครงสร้างตลาดสินเชื่อสหรัฐฯ ในระยะยาว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ