รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 10 - 14 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 17, 2011 09:57 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ก.ย. 2554 มีจานวนทั้งสิ้น 102.35 พันล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.0
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม ขยายตัวร้อยละ 16.5
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 72.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 73.8
  • GDP (เบื้องต้น) สิงคโปร์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรสเปนจาก AA- สู่ระดับ A
  • มูลค่าการส่งออกและนาเข้าของจีน ในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวต่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 17.0 และร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิตของญี่ปุ่น ในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 1 ปีที่ร้อยละ 11 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Sep: TISI (Level)                      98.0               102.5
  • โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมสาคัญ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง
Sep: Passenger car sale                24.0                26.4 (%YoY)
  • ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่นทาให้ขาดแคลนชิ้นส่วนการประกอบรถยนต์ ซึ่งในปัจจุบัน(เดือนก.ย. 54) เหตุการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ปี 54 เป็นต้นไป
Economic Indicators: This Week
          -  ก.ย. 2554 มีจานวนทั้งสิ้น 102.35 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.0 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้        นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้เร่งกำลังการผลิตเพื่อส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้า ภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 17.1 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 15.0  สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.ย. 54 มีมูลค่า 46.6 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 13.8 แต่เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. 54 และขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าหดตัวลงร้อยละ -3.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบจากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การบริโภคโดยรวมชะลอลงเล็กน้อย โดยคาดว่าเหตุการณ์น้ำท่วมดังกล่าวจะส่งผลกระทบมากในเดือน ต.ค. 54 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 54 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 13.5 บ่งชี้ถึงการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แม้มีความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ก็ตาม
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 48.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของตลาดบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และตลาดทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่ในระดับสูงจากธนาคารพาณิชย์ในช่วงปลายปี 53 ทั้งนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 34.5 ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • การจ้างงานเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ 39.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7.2 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อย ละ 1.9 โดยการจ้างงานภาคเกษตรมีจำนวน 16.0 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.1 แสนคน เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มมีการเก็บเกี่ยวของข้าวนาปี และยางพารา ประกอบกับแรงจูงใจของราคาสินค้าเกษตรในปีนี้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมมีจำนวน 7.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.1 แสนคน มาจากสาขาการผลิต และสาขาก่อสร้าง สำหรับการจ้างงานภาคบริการมีอยู่ 15.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.0 แสนคน มาจากสาขาการบริการด้านอื่นๆ และสาขากิจกรรมทางการเงิน/ประกันภัย เป็นหลัก ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 0.5 โดยมีผู้ว่างงาน 2.7 แสนคน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลง 8.3 หมื่นคน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 72.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ระดับ 73.8 ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยสาเหตุหลักมาจาก 1) ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดลง 2) ความกังวลต่อค่าครองชีพหลังจากราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง จากเหตุการณ์น้ำท่วมและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และ 3) แนวโน้มการชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 2.18 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2.16 ล้านล้านบาท จากเงินฝากและเงินกู้ยืมที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นในระดับที่น้อยกว่า โดยยอดคงค้างเงินฝากในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับเงินกู้ยืมซึ่งมีตั๋วแลกเงินเป็นหนึ่งในองค์ประกอบปรับเพิ่มขึ้น 5.3 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการระดมเงินฝากต่อเนื่องของภาคธนาคารเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 98.0 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.5 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คงมีความเปราะบาง
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 54 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 24.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.4 ตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ชะลอการซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 54 เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่นทำให้ขาดแคลนชิ้นส่วนการประกอบรถยนต์ ซึ่งในปัจจุบัน(เดือนก.ย. 54) เหตุการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ น้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ปี 54 เป็นต้นไป

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • S&P ลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรสเปนสู่ระดับ AA- ธนาคาร Dexia ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และต้องรับข้อเสนอให้ nationalize บางส่วนของธนาคารในประเทศเบลเยี่ยม และรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและลักแซมเบริกผ่านวงเงินค้ำประกัน 90 พันล้านยูโร ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) โดยผลผลิตสินค้าทุนและสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ รัฐสภาสโลวาเกียไม่อนุมัติขยายกรอบความช่วยเหลือของกองทุน EFSF
China: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาอาหารอยู่ในระดับเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 13.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกและนาเข้าเดือน ก.ย. 54 ขยายตัวต่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 17.0 และร้อยละ 21.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามลาดับ
USA: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกและนาเข้าเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 18.9 และร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และดุลการค้าขาดดุลเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ 45.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการขาดดุลการค้ากับจีน 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ วุฒิสภาไม่ผ่านแผนกระตุ้นการจ้างงานวงเงิน 4.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโอบามา ขณะที่อนุมัติมาตรการตอบโต้นโยบายค่าเงินหยวนของจีน การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้น 103,000 ตาแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ส่วน หนึ่งจากพนักงานการสื่อสารที่ผละงาน 45,000 คนได้กลับเข้าทำงาน
Japan: Improving economic trend
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิตเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 1 ปีที่ร้อยละ 11 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากคำสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอิเล็กทรอกนิกส์ที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 29.5 จากเดือนก่อนหน้า
Singapore: Mixed signal
  • GDP (เบื้องต้น) ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งคาดว่าเกิดจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 36 ของ GDP ขณะที่ภาคการส่งออก ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 2 เท่าของ GDP ยังคงขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะ
Philippines: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ส.ค. 54 หดตัวต่าสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 52 ร้อยละ -15.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดที่หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -30.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ตามตลาดการส่งออกพบว่า การส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสองของฟิลิปปินส์ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
South Korea: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย. 54 สูงสุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 3.2 ของกาลังแรงงานรวม จากการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอลง
Indonesia: Mixed signal
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 จากความกังวลต่อความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
India: Mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -3.0 จากเดือนก่อนหน้า จากการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่อง ตามแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 920 จุด เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคส่วนใหญ่ จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อนโยบายของกลุ่มประเทศยุโรปในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยกลางสัปดาห์ ดัชนีฯ ปิดที่ระดับเหนือ 950 จุด โดยเฉพาะในวันที่ 12 ต.ค. 54 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 952.77 จุด ก่อนกลับมาปิดที่ระดับ 936.82 จุด ในวันที่ 13 ต.ค.54 ทั้งนี้ ระหว่าง 10 - 13 ต.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,099 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงในทุกช่วงอายุ จากคาดการณ์ของนักลงทุนถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ หลังจากธนาคารกลางของอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ประกอบกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่จะส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศ นอกจากนี้ จากอุปทานของพันธบัตรที่น้อยในสัปดาห์นี้ ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสัปดาห์ (10 - 13 ต.ค. 54) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,595 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 13 ต.ค. 54 แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.87 จากสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ขณะที่เงินเยน เงินยูโรและเงินหยวนอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.09 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในปลาย สัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 13 ต.ค. 54 ปิดที่ 1,666 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,651 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ