รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 24 - 28 ตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 11:46 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. คณะทางานของพรรค DPJ ตกลงที่จะจัดทารายละเอียดของการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคและปรับโครงสร้างระบบประกันสังคม

2. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 1.67 ล้านล้านเยนในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554

3. รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) ได้แถลงนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในประเทศไทย

4. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) จะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม

-----------------------------------

1. คณะทำงานของพรรค DPJ ตกลงที่จะจัดทารายละเอียดของการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคและปรับโครงสร้างระบบประกันสังคม

คณะทำงานของพรรค DPJ ที่เป็นพรรคแกนนารัฐบาลได้ตกลงที่จะจัดทารายละเอียดของการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคและการปรับโครงสร้างระบบประกันสังคมให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2554 โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมารัฐบาลได้มีแผนที่จะปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคขึ้นเป็นร้อยละ 10 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5 ภายในปี 2558 อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะหาเงินทุนมาใช้สาหรับระบบประกันสังคม โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะเสนอกฎหมายการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภคต่อสภาผู้แทนราษฏรภายในต้นปีหน้า ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประมาณการว่าถึงแม้รัฐบาลจะสามารถลดการใช้จ่ายลงได้เป็นจำนวน 1.2 ล้านล้านเยนภายในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลก็ยังคงต้องการงบประมาณอีกประมาณ 2.7 ล้านล้านเยนเพื่ออุดหนุนระบบประกันสังคม

2. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 1.67 ล้านล้านเยนในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังเปิดเผยตัวเลขว่าประเทศญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 1.67 ล้านล้านเยนในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2554 อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2551 ที่มีการขาดดุลการค้าอันเนื่องมาจากผลที่ Lehman Brothers Holdings Inc. ล้มละลายจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นอย่างมาก การขาดดุลการค้าจำนวน 1.67 ล้านล้านเยนครั้งนี้ นับเป็นยอดที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2552 ที่มียอดการขาดดุลการค้า 2.35 ล้านล้านเยนอันเนื่องมาจากผลของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นยอดการส่งออกของรถยนต์และผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ลดลงอย่างมากในขณะที่การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากการหยุดเดินเครื่องของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยยอดการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าเหลือ 32.81 ล้านล้านเยน ส่วนยอดการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 18.4 และยอดการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์กับอุปกรณ์อิเลคโทรนิคลดลงร้อยละ 15.8 ในขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 อยู่ที่ 34.48 ล้านล้านเยนและยอดการนาเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 และ 24.9 ตามลำดับ แต่สำหรับในเดือนกันยายน 2554 ญี่ปุ่นมียอดการเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 300.4 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้าครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 โดยยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีมูลค่าทั้งสิ้น 5.98 ล้านล้านเยน และ 5.68 ล้านล้านเยนตามลำดับ

3. รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) ได้แถลงนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) ได้แถลงนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในประเทศไทย เช่นการให้เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันน้าท่วมไปให้คาแนะนาแก่รัฐบาลไทยด้วย

BOJ จะให้เงินกู้แก่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งจะมีการจัดทาระบบการปล่อยเงินกู้แบบใหม่โดยให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีลูกค้าเป็นผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยนาพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหลักประกันในการขอกู้เงินสกุลบาทจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ BOJ ร่วมกับธนาคารกลางต่างประเทศในการสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้สถาบันการเงินภายใต้ความดูแลของรัฐบาลเช่น Japan Finance Corporation (JFC) จะช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยให้เงินกู้ผ่านบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเพื่อนาไปช่วยเหลือในการฟื้นฟูความเสียหายของบริษัทลูกในไทยด้วย

Ministry of Economic, Trade and Industry (METI) เปิดเผยว่ามีแผนจะให้ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยจากบริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมและมีความจาเป็นจะต้องปิดโรงงานชั่วคราวมาปฎิบัติงานผลิตสินค้าทดแทนในโรงงานที่ญี่ปุ่น และนาย Osamu Fujimura, Chief Cabinet Secretary ได้กล่าวว่าญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือประเทศไทยเนื่องจากไทยเป็นศูนย์รวมของบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศที่สำคัญและเพื่อเป็นการตอบแทนที่ไทยได้ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นตอนที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554

4. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) จะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2554 ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) ประกาศว่าจะออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากมีความกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงจากวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น โดยได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือร้อยละ 0.3 ในปีงบประมาณ 2554 จากการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.4 และร้อยละ 2.2 ในปีงบประมาณ 2555 จากการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.9 และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นจนถึงปีงบประมาณ 2555 สาหรับมาตรการนั้นได้แก่การเพิ่มวงเงินในการซื้อสินทรัพย์ในตลาดรวมถึงพันธบัตรรัฐบาลอีก 5 ล้านล้านเยนเป็นจานวน 55 ล้านล้านเยน โดยเงินจำนวน 5 ล้านล้านเยนที่เพิ่มขึ้นจะนาไปใช้ในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างเดียวและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.5

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ