รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 29, 2011 11:12 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2554

Summary:

1. น้ำท่วมกดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมวูบ

2. ม.รังสิต ระบุเศรษฐกิจปี 54 โต 1.5%

3. สหรัฐเตือนญี่ปุ่นไม่ควรใช้วิธีแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราฝ่ายเดียวเพื่อสกัดเงินเยนแข็งค่า

Highlight:
1. น้ำท่วมกดดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมวูบ
  • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ย.54 ลดลงร้อยละ 48.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่คาดการณ์ MPI เดือน ธ.ค. 54 จะติดลบต่อเนื่องอีกร้อยละ 29 หลังจากได้รับผลกระทบน้าท่วม
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนพ.ย.54 ที่หดตัวร้อยละ -48.6 ซึ่งหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และเป็นการหดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือนพ.ย.54 ที่อยู่ที่ระดับ 87.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 89.0 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงต่าสุดในรอบ 29 เดือน เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ทาให้ต้องหยุดการผลิตลงชั่วคราว ทั้งนี้ จากข้อมูลในหมวดอุตสาหกรรมที่หดหลัก พบว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิส์หดตัวร้อยละ -84.0 และร้อยละ -81.6 ตามลาดับ ขณะที่อุตสาหกรรมในหมวดอาหารและเครื่องดื่มยังคงขยายตัวร้อยละ 1.8 ส่งผลให้ 11 เดือนแรกของปี 54 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ -7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2. ม.รังสิต ระบุเศรษฐกิจปี 54 โต 1.5%
  • คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ประมาณค่าความเสียหายที่มีผลกระทบทาให้รายได้ประชาชาติในไตรมาส 4 ของไทย ลดลง 200,000 ล้านบาท เป็นผลให้ประมาณการรายได้ประชาชาติทั้งปี 2554 เป็น 10.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% แต่ความเสียหายต่อเศรษฐกิจและทรัพย์สินรวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคส่วนต่างๆอาจมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี 2555 ไว้ที่ 5.8-6.5%
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 54 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.1 ขยายตัวชะลอลงจากปี 53 จากปัญหาวิกฤตอุทกภัยในช่วงปลายปี 54 ที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่หดตัวลดลง โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากปีก่อนหน้า การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอลงตามปัญหาการหยุดชะงักของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาหรับปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐในด้านการบริโภคภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.4 ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะหดตัวร้อยละ -6.6 สาหรับเศรษฐกิจไทยในปี 55 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศ เป็นหลัก
3. สหรัฐเตือนญี่ปุ่นไม่ควรใช้วิธีแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราฝ่ายเดียวเพื่อสกัดเงินเยนแข็งค่า
  • รัฐบาลวอชิงตัน ออกแถลงการณ์เตือนว่า ญี่ปุ่นไม่ควรใช้วิธีแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราฝ่ายเดียวในการสกัดการแข็งค่าของเงินเยน กระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. 54 มีจานวนเพิ่มขึ้น 94.88 พันล้านเหรียญสหรัฐจากเดือน ต.ค. 54 โดยมียอดอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหลังกระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 54 เมื่อเงินเยนมีมูลค่าสูงเป็นสถิติใหม่ถึง 75.32 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันที่ 28 ต.ค.-28 พ.ย. 54 ทางการญี่ปุ่นได้เทขายเงินเยนเป็นจานวนทั้งสิ้น 9.09 ล้านล้านเยน เพื่อทาให้เงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งนับเป็นการเข้าแทรกแซงครั้งที่ 4 นับจากเดือนก.ย. 53 เนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตและการส่งออกของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย.ของญี่ปุ่น หดตัวลง ร้อยละ 2.6 จากเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ขณะที่ยอดส่งออกเดือน พ.ย. ของญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน และปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ซึ่งส่งผลให้ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้ามูลค่าทั้งสิ้น 6.847 แสนล้านเยนในเดือน พ.ย. 54 ซึ่ง สศค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัวร้อยละ -0.6 ในปี 54 และกลับมาขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 55 เนื่องจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมาหลังจากประสบภัยพิบัติ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ