รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 13, 2012 10:54 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 มกราคม 2555

Summary:

1. ธปท. คาดจีดีพีปี 2554 ขยายตัวต่ากว่าร้อยละ 1.8 ส่วนปี 2555 คาดโตร้อยละ 4.8

2. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียเดือน พ.ย.54 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.9 จากเดียวกันปีก่อนหน้า

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคจีนในเดือน ธ.ค.54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

Highlight:
1. ธปท. คาดจีดีพีปี 2554 โตต่ำกว่าร้อยละ1.8 ส่วนปี 2555 คาดโตร้อยละ 4.8
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในปี 2554 อาจเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 1.8 ที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติอุทกภัย ส่วนปี 2555 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ตามคาด
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2554 ได้รับผลกระทบจากทั้งปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรปที่มีสัญญาณเศรษฐกิจตกต่า จากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะที่เรื้อรังมานาน ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง อีกทั้งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิและแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นซึ่งส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน สำหรับปัจจัยภายในในปีที่ผ่านมา เหตุการณ์มหาอุทกภัยในช่วงปลายปี ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับต่ำกว่าระดับศักยภาพ (Potential growth) อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูบูรณะหลังอุทกภัย ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยในปี 2555 กลับมาขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2554 และ 2555 จะขยายตัวร้อยละ 1.1 และ 5.0 ตามลำดับ (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 54)
2. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียเดือน พ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียเดือน พ.ย.54 ขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าคงทน และอุปกรณ์ไฟฟ้า สะท้อนการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมหลังจากที่หดตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 52 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 38 ของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ขยายตัวกว่าร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งนี้หากวิเคราะห์การผลิตในหมวดสินค้าอื่นๆ พบว่าในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะต่อไป ท่ามกลางความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่ยังคงเรื้อรัง ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงไม่ชัดเจน ที่อาจส่งผลลบต่อภาคการส่งออกอินเดียในระยะต่อไป ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มจะขยายตัวชะลอลงในปี 2555 ที่ร้อยละ 7.0 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 6.5 - 7.5) คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54
3. อัตราเงินเฟ้อจีนในเดือน ธ.ค.54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนในเดือน ธ.ค. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือลดลงร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 54 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนอยู่ที่ร้อยละ 5.4 สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาลจีนได้ตั้งไว้ที่ระดับร้อยละ 4.0 จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในช่วงต้นปี 54
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนในเดือน ธ.ค. 54 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลจีนใช้นโยบายเพิ่มอุปทานอาหารสด ส่งผลให้ราคาอาหารสดปรับลดลง โดยราคาอาหารสดถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีนเริ่มให้ความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาเงินเฟ้อ จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคการส่งออก ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์หนี้สาธารณะในยูโรโซนที่เริ้อรัง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงไม่ชัดเจน สะท้อนจากการที่ธนาคารกลางจีนใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น (Accommodative Monetary Policy) ผ่านการปรับลดสัดส่วนเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ลงจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 22.0 ลงเหลือร้อยละ 21.5 เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 54 และ 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และ 8.4 ตามลำดับ (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ