รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 13, 2012 11:40 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 2.0 โดยได้รับปัจจัยทางบวกที่สำคัญจากปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลด้านสินค้าคงทนและด้านบริการ และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตปรับตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ปรับลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.1 ในเดือนตุลาคม 2554
  • ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวที่ ร้อยละ 3.4 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ำมัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ปรับลดลงมาที่ร้อยละ 8.6 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 120,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศปรับลดลงในเดือนตุลาคมที่ระดับ 43.5 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนธันวาคม 2554 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ และเงินเยน โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ร้อยละ 3.5 ในขณะที่มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินหยวน และเงินบาท
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • คณะกรรมาธิการ Joint Select Committee on Deficit Reduction ไม่สามารถจัดทาแผนเพื่อปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาลเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ภายในระยะเวลาที่กาหนด ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องถูกปรับลดรายจ่ายแบบอัตโนมัติจานวน 1.2 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย Budget Control Act of 2011
  • รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านงบประมาณประจาปี 2555 มูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญ สรอ. โดยงบประมาณดังกล่าวปรับลดจากปี 2554 จานวน 7 พันล้านเหรียญ สรอ.
  • รัฐสภาสหรัฐฯ ยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้างและการขยายเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ว่างงานที่จะหมดอายุลงภายในปี 2554
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2554
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.0

ปัจจัยสาคัญที่สนับสนุนการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ได้แก่ (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลด้านสินค้าคงทนที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 โดยส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของปริมาณการซื้อขายยานพาหนะ และชิ้นส่วนรถยนต์ (2) ปริมาณการใช้จ่ายด้านบริการที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากไตรมาสก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขยายตัวของการใช้จ่ายด้านบริการที่เกี่ยวข้องกับการเคหะ สาธารณูปโภค และสุขอนามัย (3) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 จากไตรมาสก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขยายตัวของการลงทุนในอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และการขนส่งเป็นหลัก

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2554

ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤศจิกายนหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 ในเดือนตุลาคม

อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 ของกำลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กำลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 2.6 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)

  • รายได้และการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน

ภาพรวมด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนตุลาคม 2554 โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่ปรับลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน ในขณะที่ภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อยหลังจากที่มีการขยายตัวอย่างชัดเจนในเดือนก่อน โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนตุลาคมปรับเพิ่มขึ้นในอัตราเพียงร้อยละ 0.1 เปรียบเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ในเดือนกันยายน

ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ำมัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ซึ่งส่งผลให้อยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี

  • อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ปรับลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.6 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน (Labor force) ทั้งหมด 153.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐฯ มีจำนวนประชากรได้รับจ้างงานเพิ่มขึ้นจานวน 278,000 คน มาอยู่ที่ระดับ 140.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.5 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 13.3 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 120,000 คน โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากการขยายตัวของการจ้างงานในธุรกิจค้าปลีก ด้านบริการวิชาชีพ งานบริการเพื่อความบันเทิง และสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การจ้างงานของหน่วยงานรัฐบาลยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 13.4) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 11.7) และกรุงวอชิงตัน ดีซี (ร้อยละ 11.0) ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนตุลาคม

ในเดือนตุลาคม 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 0.7 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 1.6 จากเดือนกันยายนที่ระดับ 44.2 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 43.5 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ชะลอตัวในอัตราที่สูงกว่าการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลง 1.5 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 179.2 พันล้านเหรียญ สรอ. มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 2.2 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 222.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนตุลาคม

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนตุลาคม 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีน สหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

     US Trade                China            Europe             Mexico
                        ---------------------------------------------------------
                         Oct 11  Sep 11   Oct 11  Sep 11    Oct 11   Sep 11
     Export                9.74    8.37    23.4     23.1      17.6     17.2
     Import                37.8    36.4    31.4     29.5      22.9     22.2
     Trade Balance        -28.1   -28.1   -7.99    -6.37     -5.26    -5.04
     ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง
          - Super Committee ล้มเหลวในการจัดทาแผนปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ
          เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 คณะกรรมาธิการ Joint Select Committee on Deficit Reduction ได้ออกมาแถลงถึงความล้มเหลวในการจัดทาแผนเพื่อปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ จำนวน 1.5 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งไม่สามารถนาเสนอแผนดังกล่าวต่อรัฐสภาสหรัฐฯให้ทันภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ ทั้งนี้ ความล้มเหลวของคณะกรรมาธิการฯ มีสาเหตุมาจากการที่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับริกันไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในการนานโยบายการปรับเพิ่มภาษีรายได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรับมือหนี้สาธารณะในระยะยาวของสหรัฐฯ
          ความล้มเหลวของการจัดทาแผนการปรับลดปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มเติมในครั้งนี้จะนาไปสู่การใช้มาตรการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลแบบอัตโนมัติจำนวน 1.2 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย Budget Control Act of 2011 โดยการปรับลดดังกล่าวแบ่งเป็นการปรับลดจากงบประมาณทางทหารจานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. และจากงบประมาณการใช้จ่ายภายในประเทศ (Domestic Discretionary Spending) จำนวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ.
          ทั้งนี้ สถานการณ์ทางการเมืองในลักษณะแบ่งแยกของสหรัฐฯ ประกอบกับแนวนโยบายที่แตกต่างกันของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับริกันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดความล้มเหลว ตลอดจนความล่าช้าในการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยพรรคเดโมแครตที่ถือเสียงข้างมากในวุฒิสภาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมและต้องการให้มีการปรับเพิ่มภาษีเงินได้ของประชากรผู้มีรายได้สูงเพื่อปรับลดปริมาณการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะที่ พรรครีพับริกันที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วยกับการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวและในทางตรงกันข้ามกลับเห็นว่าการลดหย่อนภาษีให้กับประชากรและธุรกิจภาคเอกชนจะเป็นแนวทางที่ทาให้สหรัฐฯ ผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันไปได้
          ความล้มเหลวของคณะกรรมาธิการฯ ในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเป็นผู้นำของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ไม่สามารถทำให้พรรคเดโมแครตและพรรครีพับริกันหาข้อตกลงร่วมกันได้ในการพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งข้อบกพร่องในการทำหน้าที่ดังกล่าวจะส่งผลในทางลบต่อคะแนนเสียงของนายโอบามา และพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2555

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
          - ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร เงินปอนด์ และเงินเยน
          ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนธันวาคม 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลังอย่างเงินยูโร เงินปอนด์ และเงินเยน โดยในช่วงดังกล่าวเงินดอลลลาร์แข็งค่ามากขึ้นที่สุดเทียบกับเงินยูโร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่มีค่าคงที่เมื่อเทียบกับ เงินหยวน เมื่อเทียบกับช่วงเดือนธันวาคม 2554 ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2554 อยู่ที่ 1.2997 USD/EUR, 1.5500 USD/GBP, 0.0128 USD/JPY, และ 0.1580 USD/CNY
          เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าคงที่เมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนธันวาคม 2554 แม้ว่าจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือน ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2554 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.2901 THB/USD เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 31.2354 THB/USD เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญ
          - เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านงบประมาณประจาปี 2555 ที่จะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 หลังจากผ่านงบประมาณรายจ่ายเพียงระยะสั้นก่อนหน้านี้ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญ สรอ. โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ชะลอการขยายตัวของงบประมาณทางทหาร และกำหนดเพดานการใช้จ่ายภายในประเทศควบคู่กันไป ทั้งนี้ งบประมาณในปีดังกล่าวถูกปรับลดจากปี 2554 จำนวน 7 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งนับเป็นการปรับลดของงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ 2 ปีติดต่อกัน
          - สหรัฐฯ ยังคงมีประเด็นทางเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาอย่างเร่งด่วน เช่น การลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) และการขยายเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ว่างงาน (Unemployment benefit) ที่จะหมดอายุลงภายในปี 2554 ซึ่งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับริกันต่างต้องการให้มีการขยายโครงการดังกล่าวออกไปแต่ยังคงหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ว่าจะจัดสรรรายได้จากส่วนไหนเพื่อมาทดแทนงบประมาณในส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ มีความเป็นได้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯ จะใช้นโยบายขยายโครงการดังกล่าวในระยะสั้นเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อเป็นการขยายเวลาในการพิจารณาหาข้อตกลงร่วมกัน


          Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
          Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,
          Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas
          Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ