รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 17, 2012 11:51 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555

Summary:

1. ยอดผลิตรถเดือน ม.ค.55 สูงสุดในรอบ 4 เดือน

2. ธปท.ไม่ห่วงเงินทุนไหลเข้ากระทบค่าเงินบาท

3. GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

Highlight:
1. ยอดผลิตรถเดือน ม.ค.55 สูงสุดในรอบ 4 เดือน
  • โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าเดือน ม.ค.55 มีการผลิตรถยนต์ในประเทศทั้งสิ้น 140,404 คัน สูงสุดในรอบ 4 เดือนนับตั้งแต่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยเมื่อเดือน ต.ค.54 ที่ผ่านมาและขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 41.0 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าแล้วพบว่ายังคงหดตัวร้อยละ -3.0 สำหรับแนวโน้มช่วง 3 เดือนต่อไป (ก.พ.-เม.ย.55) ทางกลุ่มได้ประมาณการผลิตว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 465,266 คัน ซึ่งเป็นการขยายตัวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าอย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าวไม่รวมตัวเลขของฮอนด้าที่ยังอยู่ในช่วงการหยุดผลิต หลังได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงปี 54 ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางตรงและทางอ้อม โดยการผลิตยานยนต์ได้รับผลกระทบผ่านทางห่วงโซ่อุตสาหกรรมอย่างหนักในช่วงไตรมาส 2 ปี 54 จากภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่น สะท้อนได้จากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ของภาคยานยนต์ในช่วงไตรมาส 2 ปี 54 ที่หดตัวถึงร้อยละ -18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แล้วจึงฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 โดยขยายตัวร้อยละ 14.3 อย่างไรก็ตาม มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 54 ทำให้การผลิตรถยนต์ประสบปัญหาทั้งทางตรง เนื่องจากโรงงานฮอนด้าซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่อยู่ในพืน้ ที่ประสบภัยไม่สามารถทำการได้ อีกทั้งยังประสบปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การผลิตยานยนต์ในไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวถึงร้อยละ -61.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามภาคยานยนต์เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่เดือน ธ.ค.54 และคาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้เต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 55
2. ธปท. ไม่ห่วงเงินทุนไหลเข้ากระทบค่าบาท
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศไหลเข้ามาในไทย สะท้อนได้จากตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม การไหลเข้ามาในช่วงนี้ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้ผันผวนมาก เนื่องจากในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังน้ำท่วม ภาคธุรกิจจึงต้องการใช้เงินตราต่างประเทศ เพราะต้องนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์สูง ขณะที่ภาคส่งออกเองยังไม่ฟื้นตัวทำให้ดุลการค้าขาดดุล
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนตลอดจนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนโยกย้ายเงินทุนเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงไทยมากขึ้นและอาจส่งผลให้ตลาดทุนมีความผันผวนมากขึ้นในระยะต่อไป นอกจากนี้ ความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย จะส่งผลให้การนำเข้า โดยเฉพาะการนาเข้าเครื่องจักรและสินค้าวัตถุดิบเร่งตัวขึ้นในปี 55 ขณะที่การส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในยูโรโซน ซึ่งเครื่องชี้เศรษฐกิจโดยรวมได้บ่งชี้การเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 55 จะอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปี ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (ช่วงคาดการณ์ 30.3-31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.54)
3. GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ทางการสิงคโปร์ประกาศ GDP ไตรมาส 4 ปี 54 โดยขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ -0.1 (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ทาให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 4.9 การขยายตัวชะลอลงของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากไตรมาสก่อนมีสาเหตุสาคัญมาจากการชะลอตัวของภาคการผลิตในไตรมาส 4 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคการผลิตนี้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก เมื่ออุปสงค์ภายนอกประเทศชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวิกฤตหนี้สาธารณะของยุโรป จึงทำให้ภาคการผลิตในสิงคโปร์ชะลอตัวตามไปด้วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 4 ปี 54 นั้น เป็นไปตามเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ซึ่งสาเหตุสาคัญมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ของโลกนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคการเงินแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงผ่านช่องทางการส่งออกต่อเศรษฐกิจคู่ค้าทั่วโลก โดยเฉพาะสิงคโปร์ ซึ่งอาศัยภาคการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนการส่งออกสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 31 ของ GDP ทั้งนี้ สัดส่วนการส่งออกของสิงคโปร์ในยังกลุ่มประเทศยุโรปคิดเป็ นร้อยละ 9.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม อนึ่ง ในปี 55 นี้ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54 ว่าเศรษฐกิจสิงค์โปร์จะขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากปี 54 อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อเนื่องสู่เศรษฐกิจคู่ค้าของสิงคโปร์ ทา ให้อุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของสิงคโปร์ จากประเทศนั้นลดลงตามไปด้วย ขณะที่เศรษฐกิจภายในประเทศก็ไม่เป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่าที่ควรสะท้อนจากตลาดที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์ตกต่า และการตัดสินใจปรับลดการใช้จ่ายของภาครัฐบาลสิงคโปร์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ