รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 20, 2012 11:18 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นเพิ่มการผ่อนคลายทางมากตรการด้านการเงิน

2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาส 4

-----------------------------------

1. ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นเพิ่มการผ่อนคลายทางมากตรการด้านการเงิน

คณะกรรมการด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) มีมติเป็นเอกฉันท์หลังการประชุมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 1 พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของ BOJ จาก 55 ล้านล้านเยนเป็น 65 ล้านล้านเยน และคงอัตราดอกเบี้ยโยบายไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1

ปัจจุบัน BOJ ได้ซื้อสินทรัพย์ทางการเงินไปแล้ว 43 ล้านล้านเยนจากวงเงิน 55 ล้านล้านเยน โดยมีแผนที่จะซื้อเพิ่มในวงเงินที่เหลืออีก 12 ล้านล้านเยนภายในสิ้นปีนี้ สำหรับวงเงินอีก 10 ล้านล้านเยนที่เพิ่มขึ้นมานั้น BOJ มีแผนที่จะใช้ซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบการเงินนั้น BOJ หวังว่าสถาบันการเงินจะนาไปเพิ่มการปล่อยกู้ให้แก่บริษัทต่างๆ เพื่อใช้ในการขยายกิจการต่อไป

นอกจากนี้ BOJ ยังได้กล่าวในแถลงการณ์อีกว่า BOJ จะดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับใกล้ร้อยละ 0 และการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจนกว่าอัตราเงินเพื่อจะเริ่มเป้าใกล้ร้อยละ 1 ที่เป็นเป้าหมาย

2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 2.3 ต่อปีในไตรมาส 4

Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 หดตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการส่งออกลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย แต่ Cabinet Office ได้แสดงความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นตัวดีขึ้นจนถึงระดับเศรษฐกิจที่เป็นก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว

โดยปัจจัยหลักมาจากการส่งออกลดลงร้อยละ 3.1 เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป รวมทั้งอุทกภัยในประเทศไทยส่งผลให้การส่งรถยนต์ลดลง ในขณะที่การนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เนื่องจากการนาเข้าเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การใช้จ่ายผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เนื่องจากการใช้จ่ายในการบริการและอาหารปรับตัวดีขึ้น ส่วนการลงทุนในที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 0.8

การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 2 ไตรมาส เนื่องจากโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยให้กับผู้ประสบภัยสิ้นสุดในช่วงฤดูร้อนแล้ว

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ