รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 5 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 5, 2012 11:20 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2555

Summary:

1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.ฟื้นตัวต่อเนื่อง

2. เฟดล้ม'คิวอี3' ธปท.ยันไม่กระทบตลาดเงินไทย

3. มูดีส์ประกาศลดเครดิตพันธบัตรรัฐบาลกรีซสู่ระดับต่าสุดที่ C

Highlight:
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.ฟื้นตัวต่อเนื่อง
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจาเดือน ก.พ.55 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ 65.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.55 ที่ 64.0 ทั้งนี้ ดัชนีทุกตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทาอยู่ที่ 66.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 94.3 โดยเป็นผลมาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบ พ.ร.ก. การเงิน 2 ฉบับ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทาให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลดีขึ้น สามารถดาเนินมาตรการป้องกันน้าท่วม และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้าท่วมตามที่วาง แผน และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวที่มีการประเมินไว้ได้ ขณะที่ดัชนีภาวะค่าครองชีพลดลงจากราคาน้ามันแพง
  • สศค.วิเคราะห์ว่า หลังจากปัญหาภาวะอุทกภัย เศรษฐกิจไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจุดต่าสุดของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่เดือน พ.ย. 54 ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4 หดตัวถึงร้อยละ -9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการขยายตัวทั้งปี 54 ที่ร้อยละ 0.1 สาหรับในปี 55 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5 -5.5 (คาดการณ์ ณ เดือนธ.ค. 54) จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ด้วยปัจจัยเหล่านี้ จึงสามารถทาให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากการขยายตัวของดัชนีหมวดอาหารสาเร็จรูปที่ขยายตัวถึงร้อยละ 9.19 ใน เดือนก.พ.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับราคาน้ามันที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีภาวะค่าครองชีพมีการปรับตัวลดลง
2. เฟดล้ม'คิวอี3' ธปท.ยันไม่กระทบตลาดเงินไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ไม่ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ รอบ 3 (QE3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ตลาดรับรู้อยู่แล้ว ว่าไม่ต้องกระตุ้นเพิ่ม และการไม่มี QE3 ก็ไม่น่าจะมีผลอย่างไรต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าไทย ซึ่งการเคลื่อนไหวของเงินบาทโดยรวมยังไม่น่าเป็นห่วง
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ค่าเงินบาทเฉลี่ยต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) อยู่ที่ 31.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวตามค่าเงินในภูมิภาค ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินที่ต้องจับตามอง ได้แก่ 1. การไหลเข้าของเงินจากต่างประเทศ ทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดทุน 2. การเกินดุลของบัญชีเดินสะพัดของไทยที่ลดลง และ 3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ในปี 55 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30.0-32.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีค่ากลางที่ 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (คาดการณ์ ณ เดือน กพ. 55)
3. มูดีส์ประกาศลดเครดิตพันธบัตรรัฐบาลกรีซสู่ระดับต่าสุดที่ C
  • มูดีส์ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรสกุลเงินในประเทศและต่างประเทศของกรีซลงจากระดับ Ca สู่ระดับ C ซึ่งเป็นระดับต่าที่สุดในระบบการจัดอันดับของมูดีส์ โดยเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลกรีซได้เสนอแผนการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการสว็อปพันธบัตร เพื่อแลกกับการอนุมัติเงินกู้รอบ 2 ในวงเงิน 130 พันล้านยูโรและลดภาระหนี้สินลงเหลือ 120.5 ต่อ GDP ภายในปี ค.ศ. 2020 จากในปี 2011 ที่อยู่ร้อยละ 165 ต่อ GDP โดยนักลงทุนภาคเอกชน (PSI) ที่ถือครองพันธบัตรของกรีซจะต้องยินยอมรับการขาดทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือกรีซ ด้วยการยอมรับเงื่อนไขการปรับลดมูลค่าหน้าตั๋วพันธบัตรของรัฐบาลกรีซลง (Hair Cut) ร้อยละ 53.5
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การประกาศปรับลดอันดับอันดับความน่าเชื่อถือกรีซของมูดีส์ เป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทจัดอันดับ S&P ที่ประกาศลดเครดิตกรีซจากระดับ CC มาอยู่ที่ระดับผิดชาระหนี้บางส่วน (Selective Default) บ่งชี้ถึงโอกาสที่รัฐบาลกรีซจะผิดนัดชาระหนี้พันธบัตร และไม่สามารถทาให้ฐานะทางการคลังมีความยั่งยืนในระยะยาวได้ เนื่องจากเงื่อนไขของมาตรการเข้มงวดทางการคลังอาจทาให้เศรษฐกิจกรีซหดตัวรุนแรง นอกจากนี้ การใช้มาตรการสว็อปพันธบัตรดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการเงินขาดความเชื่อมั่น และต้นทุนการกู้เงินพันธบัตรรัฐบาลกรีซสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 36.44 ในวันที่ 1 มี.ค. 55 และอัตรา CDS ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการเบิกวงเงินกู้รอบใหม่จาเป็นต้องผ่านการอนุมัติของรัฐสภาในประเทศยูโรโซน 17 ประเทศ จึงอาจส่งผลลบต่อตลาดเงินและตลาดทุนที่ยังคงผันผวน และเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ สศค. ได้คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวของสหภาพยุโรปในปี 55 จะหดตัวร้อยละ -0.8 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54) ซึ่งจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือนมี.ค. 55

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ