รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 12, 2012 11:03 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อัตราร้อยละ 1.7 โดยได้รับปัจจัยทางบวกที่สาคัญจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล การส่งออก และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.2, 6.8 และ 8.6 ตามลำดับ
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิตปรับลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนมกราคม 2555
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนธันวาคม 2554
  • ในเดือนมกราคม 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2555 ปรับลดลงมาที่ร้อยละ 8.3 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 243,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมมาอยู่ที่ระดับ 48.8 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินบาท ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์กับเงินปอนด์และเงินหยวนอยู่ในระดับคงที่
ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2554

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 ขยายตัวในอัตรารวมร้อยละ 1.7

  • การขยายตัวของค่า GDP ของสหรัฐฯ ในปี 2554 นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2554 ได้แก่ (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.2 จากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะด้านสินค้าคงทนที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 (2) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราร้อยละ 6.8 ต่อปี (3) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการลงทุนด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ (Equipment and Software) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่ในเดือนมกราคม 2555

  • ในเดือนมกราคม 2555 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนธันวาคม 2554 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนมกราคม 2555 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือนธันวาคม 2554
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.5 ของกำลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กำลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 1.8 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.3)

รายได้ประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่การใช้จ่ายหดตัวเล็กน้อย

  • ภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ชะลอตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนธันวาคม 2554 ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 0.1 หลังจากที่ขยายตัวในอัตราคงที่ที่ร้อยละ 0.1 ในเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบเดือนก่อน โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.3 หลังจากที่อยู่ในระดับคงที่ในเดือนพฤศจิกายน
  • ในเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.9 ต่อปี เช่นเดียวกับดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ซึ่งส่งผลให้อยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี

อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.3

  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2555 ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.3 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 154.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63.7 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐฯ มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานจานวน 141.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.5 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 12.8 ล้านคน
  • ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 243,000 คน โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากการขยายตัวของการจ้างงานด้านการบริการวิชาชีพ การบริการเพื่อความบันเทิง และอุตสาหกรรมการผลิต
  • มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 12.6) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 11.1) และรัฐโรดไอแลนด์ (ร้อยละ 10.8) ตามลำดับ
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 48.8 พันล้านเหรียญ สรอ.

  • ในเดือนธันวาคม 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขาดดุลได้ปรับเพิ่มขึ้น 1.7 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 3.6 จากเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 47.1 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 48.8 พันล้านเหรียญ สรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านเหรียญ สรอ. จากเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ 178.8 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนธันวาคม ส่วนมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 3.0 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 227.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนธันวาคม

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนธันวาคม 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีน สหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า

US Trade              China             Europe                Mexico
                Dec 11  Nov 11     Dec 11   Nov 11     Dec 11    Nov 11
Export           9.71     9.94       22.8     22.0      16.3       17.7
Import           32.8     36.8       32.4     31.7      23.2       22.9
Trade Balance   -23.1    -26.9      -9.63    -9.73     -4.95      -5.51
ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)


นโยบายทางการเงินและการคลัง
          สรุปนโยบายทางการเงินและการคลังของสหรัฐฯ ในปี 2554
          รัฐบาลสหรัฐฯ ได้มีนโยบายทางการคลังที่สาคัญในปี 2554 ดังนี้
          1. สหรัฐฯ ได้ปรับลดงบประมาณประจาปี 2554 จำนวน 38.5 พันล้านเหรียญ สรอ. จากการกำหนดงบประมาณเบื้องต้น เพื่อปรับลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งการปรับลดดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากการปรับลดการใช้จ่ายภายในประเทศ (Domestic Discretionary Spending) โดยการพิจารณาดังกล่าวใช้เวลานานหลายเดือน ในระหว่างนั้นมีการผ่านงบประมาณระยะสั้นหลายครั้งเพื่อขยายเวลาการพิจารณาและเพื่อป้องกันโครงการรัฐบาล และหน่วยงานบางส่วนปิดทำการลง (Government Shutdown)
          2. สหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมาย Budget Control Act of 2011 เพื่อปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จานวน 2.1 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ก่อนที่ปริมาณหนี้สาธารณะสหรัฐฯ จะขยายตัวเกินกว่าวงเพดานที่กาหนดไว้และก่อให้เกิดผิดชาระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาล (Default) เพียงวันเดียว ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวส่งผลให้สถาบันจัดอันดับเครดิต Standard & Poor ปรับลดเครดิตของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากระดับเครดิตสูงสุด (AAA) ลดลงมาหนึ่งระดับ (AA+) ทั้งนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวมาควบคู่กับแผนการรับมือหนี้สาธารณะในระยะยาวที่จะปรับลดปริมาณหนี้สาธารณะจานวน 2.1 ล้านล้านเหรียญ สรอ. เท่ากับปริมาณเพดานหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ Joint Select Committee on Deficit Reduction เพื่อพิจารณาเสนอแผนการปรับลดงบประมาณรายจ่ายต่อรัฐสภาสหรัฐฯ
          3. คณะกรรมาธิการ Joint Select Committee on Deficit Reduction ล้มเหลวในการจัดทาแผนเพื่อปรับลดการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ให้ทันภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในการนานโยบายการปรับเพิ่มภาษีรายได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรับมือหนี้สาธารณะในระยะยาวของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความล้มเหลวดังกล่าวนาไปสู่การใช้มาตรการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลแบบอัตโนมัติจานวน 1.2 ล้านล้านเหรียญ สรอ. โดยแบ่งเป็นการปรับลดจากงบประมาณทางทหารจานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. และจากงบประมาณการใช้จ่ายภายในประเทศจานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ.
          4. สหรัฐฯ ขยายเวลาการลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) และการขยายเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ว่างงาน (Unemployment benefit) ให้กับประชากรสหรัฐฯ ไปจนถึงสิ้นปี 2555 จากเดิมที่มีกาหนดหมดอายุลงภายในปี 2554
          5. รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านมติเห็นชอบความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับปานามา โคลอมเบีย และเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากมีการเจรจาต่อรองเป็นเวลากว่า 5 ปี

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีนโยบายทางการเงินที่สาคัญในปี 2554 ดังนี้
          1. ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0 และร้อยละ 0.25 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปลายปี 2557
          2. ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ครั้งที่ 2 จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. โดยจะทาการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดการเงินสหรัฐฯ ด้วยอัตราการซื้อที่ 75 พันล้านเหรียญ สรอ. ต่อเดือนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 พร้อมทั้งยังคงซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ หลังจากที่มาตรการ QE2 สิ้นสุดลง โดยจะเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถืออยู่ (Operational Twist) เพื่อดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินสหรัฐฯ ให้ปรับลดต่าลง


ข้อสังเกตจากสานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง
          1. ความแบ่งแยกทางการเมืองของรัฐสภาสหรัฐฯ ที่พรรคเดโมเครตมีเสียงข้างมากในวุฒิสภาและพรรครีพับริกันมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรยังคงเป็นปัจจัยสาคัญที่ชะลอการผ่านนโยบายทางการคลังของสหรัฐฯ ในปี 2554 โดยสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงเป็นไปในลักษณะดังกล่าวจนกระทั่งถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2555
          2. สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นที่น่าจับตามองในหลายด้าน เช่น แนวทางการรับมือกับหนี้สาธารณะในระยะยาว ผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินในยุโรป ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชากรสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะเป็นตัวแปรสาคัญทางการเมืองว่านายโอบามาจะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหรือไม่
          3. ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงรอดูทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน โดยหลายฝ่ายได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศใช้มาตรการ QE3 เพื่อกระตุ้นการจ้างงานของสหรัฐฯ เพิ่มเติม ในขณะที่บางส่วนไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินเยน
          - ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับเงินเยน ซึ่งแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนมกราคม ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโร ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับเงินปอนด์และเงินหยวนอยู่ในระดับคงที่ ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 1.3325 USD/EUR, 1.5921 USD/GBP, 0.0123 USD/JPY, และ 0.1588 USD/CNY
          - เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนมกราคม 2555 ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.4497 THB/USD ลดลงจาก 31.0347 THB/USD เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555


          Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
          Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,
          Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas
          Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ