ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร เมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 20, 2012 16:35 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • ข้อมูลสุดท้ายของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ U.K ในไตรมาส 4 ของปี 2554 หดตัวมากกว่าเดิมเหลือ -0.3%(QoQ) จากเดิมที่คาด -0.2%(QoQ) ส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ U.K เฉลี่ยทั้งปี 2554 ลดเหลือ 0.7% (YoY) จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.8% (YoY)
  • สาเหตุหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจ UK ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหดตัวมากกว่าที่คาด มาจากการผลิตบริการ ที่มีสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 76 ของการผลิตรวม หดตัวมากกว่าคาดไว้ และการบริโภคภาคเอกชน ที่มีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 63 ของการใช้จ่ายรวม ก็ขยายตัวได้น้อยกว่าที่คาด เนื่องจากรายได้ของผู้บริโภคที่ลดลงมากตามปญหาการว่างงานที่รุนแรงขึ้น
  • แต่ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นเกินกว่า 50 จุด (ซึ่งเป็นระดับการผลิตที่ไม่มีการขยายตัว) บ่งชี้ เศรษฐกิจ UK ในไตรมาส 1 น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อย ทำให้คลายความกังวลที่เศรษฐกิจ UK อาจจะประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Technical Recession) อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน2 ไตรมาส
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราเงินเฟอล่าสุดในเดือน มี.ค 55 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.5% เพิ่มจากเดือนก.พ.ที่อยู่ 3.4% อันเป็นผลหลักมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • แต่อัตราการว่างงานล่าสุดในรอบ 3 เดือน (ธ.ค.54-ก.พ.55) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงาน เทียบกับ 3 เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.4 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 35,000 คน ซึ่งนับว่าเป็นการลดลงของการว่างงานครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราว่างงานในช่วงอายุ 16-24ปี ได้ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 22.2%
  • ดุลการค้าล่าสุดในเดือนก.พ.55 ขาดดุลเพิ่มขึ้น -3.5 พันล้านปอนด์ ขาดดุลสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขาดดุล -2.5 พันล้านปอนด์ เนื่องจากปริมาณการส่งออกสินค้าในเดือนก.พ.หดตัวจากเดือนก่อนถึง -5.3%

สรุป สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า แม้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 2554 จะหดตัว แต่เครื่องชี้ เศรษฐกิจ UK ทั้งจากดัชนี PMI ที่ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการว่างงานที่ลดลง ชี้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 55 (ซึ่งจะประกาศตัวเลขเบื้องต้นในวันที่ 25 เม.ย) น่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อน

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • สำนักงานสถิติฯ ประกาศตัวเลขสุดท้ายเศรษฐกิจ UK ไตรมาส 4 ปี 11 หดตัวเพิ่มขึ้น -0.3% ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2011 ขยายตัวได้เพียง 0.7% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.8%

วันที่ 24 มีนาคม 2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักรประกาศตัวเลขสุดท้าย ของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (U.K) ไตรมาส 4 ของปี 2554 (ค.ศ.2011) หดตัวจากไตรมาสก่อนที่ -0.3% (QoQ) หดตัวมากกว่าที่ประกาศในครั้งก่อนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์(Second Estimate)ที่คาดการณ์ไว้ที่ -0.2%(QoQ) และได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2554 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.7% (YoY) เหลือ 0.5%(YoY) ส่งผลให้เศรษฐกิจ U.K เฉลี่ยในปี 2554 ขยายตัวได้เพียง 0.7% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.8% (YoY) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงมากจากปี 2553 (ค.ศ.2010) ที่ขยายตัว 2.1%

เมื่อพิจารณารายละเอียดข้อมูลสุดท้ายของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 2554 (ค.ศ.2011) พบว่าสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาส 4 ปี 2554 หดตัวมากกว่าที่คาดการณ์เดิม มาจาก การผลิตภาคบริการ (Services) ซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดถึงร้อยละ 76.3 ของการผลิตรวมของ UK ที่หดตัว -0.1%(QoQ) จากเดิมที่คาดไว้ว่าจะไม่ขยายตัว 0%(QoQ) ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63 ของการใช้จ่ายทั้งหมดใน UK ที่ขยายตัวได้น้อยกว่าที่คาดมาอยู่ที่ 0.3% (QoQ) จากเดิมที่คาดไว้ที่ 0.4%(QoQ) เนื่องจากรายได้ผู้บริโภคที่ลดลงมากจากปญหาการว่างงาน ประกอบกับการบริโภคภาครัฐ(Government Consumption) ที่ขยายตัวเพียง 0.5%(QoQ) จากเดิมที่คาดไว้ที่ 1%(QoQ) สอดคล้องกับการปรับลดงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล นอกจากนั้น การส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวได้น้อยกว่าที่คาดเหลือเพียง 1.6%(QoQ) เทียบกับเดิมที่คาดไว้ที่ 2.3%(QoQ) เนื่องจากการชะลอการส่งออกของ UK ไปยังคู่ค้าหลักในประเทศยูโรโซนที่กำลังประสบกับวิกฤติหนี้สาธารณะ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 1/2555
  • ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อ (PMI) ชี้เศรษฐกิจ UK ในไตรมาสแรกน่าจะขยายตัวได้เล็กน้อย

ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ (Services Purchasing Managers' Index) ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 55.3 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ 53.8 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคบริการในไตรมาสแรกของปี 2555 (ค.ศ. 2011) อยู่ที่เฉลี่ย 55.03 จุด ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับ 50 จุดที่สะท้อนการผลิตที่ไม่ขยายตัว และเป็นการปรับตัวสูงกว่าดัชนี PMI ภาคบริการเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้า บ่งชี้ว่า การผลิตภาคบริการในไตรมาสแรกปี 2555 น่าจะขยายตัวเป็นบวกเมื่อเทียบกับไตรมาส4 ของปี 2554 ที่หดตัว -0.1%(QoQ)

ส่วนดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Managers' Index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักรในเดือนมีนาคม 2555 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 51.5 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI อุตสาหกรรมเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี 2555 อยู่ที่ 51.8 จุด ซึ่งปรับตัวสูงกว่าระดับ 50 จุด (ระดับที่การผลิตไม่มีขยายตัว) อีกครั้ง สะท้อนการผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2555 น่าจะขยายตัวได้เป็นบวกเล็กน้อย หลังจากที่หดตัวถึง -1.4%(QoQ) ในไตรมาส 4 ของปีก่อน

จากเครื่องชี้PMI ข้างต้น สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจ UK น่าจะขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยในไตรมาส 1/2555 และจะไม่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจากเศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ
  • อัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค.55 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.5% จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแต่อัตราว่างงานล่าสุดลดลงอยู่ที่ 8.3% ของกำลังแรงงานสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

อัตราเงินเฟอล่าสุดในเดือนมีนาคม 2555 ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราเงินเฟอที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือนมีนาคม 2555 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.6%(YoY) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากอัตราเงินเฟอปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ15 เดือนที่ 3.4% (YoY) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาโดยสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟอปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาจากการที่ราคาเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก ดังจะเห็นได้จาก ราคาน้ำมันภายในประเทศ (Petrol Price) ที่เพิ่มขึ้นถึง 3.3 เพนนีต่อลิตรมาอยู่ที่ 1.38 ปอนด์ต่อลิตร ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า การที่อัตราเงินเฟอที่คำนวณจาก CPI ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย สะท้อนว่าอัตราเงินเฟอในสหราชอาณาจักรในปี 2555 ไม่น่าจะลดลงเร็วตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของผู้บริโภคในประเทศและกระทบต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศที่ค่อนข้างเปราะบาง และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษที่อาจจะลังเลที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงที่แรงกดดันเงินเฟอยังคงสูงกว่าเปาหมายเงินเฟอของธนาคารกลางที่ 2% อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟอที่คำนวณจากดัชนีราคาสินค้าขายปลีก (Retail Price Index: RPI) ของสหราชอาณาจักรในเดือนมีนาคมยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่3.6% (YoY) ลดลงเล็กน้อยจาก 3.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555

ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศที่วัดจากอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในรอบ 3 เดือนที่สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ธันวาคม2554-กุมภาพันธ์2555) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงาน โดยมีจำนวนผู้ว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ทั้งสิ้นจำนวน 2.65 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 35,000 คน ซึ่งนับว่าเป็นการลดลงของการว่างงานครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนผู้ว่างงานในกลุ่มแรงงานที่เป็นวัยรุ่นในช่วง 16-24 ปี(Youth Unemployment) ในรอบ 3 เดือน (ธันวาคม 2554-กุมภาพันธ์ 2555) ได้ปรับลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน 9,000 คน มาอยู่ที่ 1.03 ล้านคน ส่งผลให้ อัตราการว่างงานของแรงงานวัยรุ่นลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 22.2 ของกำลังแรงงาน เทียบกับไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ 22.5 ของกำลังแรงงาน

อัตราการว่างงานที่ลดลงสอดคล้องกับอัตราการจ้างงาน (Employment Rate) ในช่วง 3 เดือนที่สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 70.4 ของกำลังแรงงาน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 70.3 โดยมีจำนวนผู้มีงานทำ(Employment Level) รวมทั้งสิ้น 29.17 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 53,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานชั่วคราวจำนวน 80,000 คน ขณะที่การจ้างงานถาวรลดลง 27,000 คน

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า อัตราการว่างงานที่ลดลงและอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น สะท้อนว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ของปี 2555 น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • ดุลการค้าล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ขาดดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน

ดุลการค้าล่าสุดขาดดุลเพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุล -2.5 พันล้านปอนด์ในเดือนมกราคม 2555 มาอยู่ที่ -3.4 พันล้านปอนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากดุลการค้าของสินค้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -8.8 พันล้านปอนด์ เทียบกับเดือนมกราคม 2555 ที่ขาดดุล -7.9 พันล้านปอนด์ ขณะที่ดุลการค้าของบริการในเดือนกุมภาพันธ์ก็เกินดุลเท่ากับเดือนก่อนที่เกินดุลประมาณ 5.4 พันล้านปอนด์

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดของดุลการค้าของสินค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -8.8 พันล้านปอนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 พบว่ามาจากการขาดดุลการค้าสินค้ากับประเทศในสหภาพยุโรป (EU) ที่ขาดดุลอยู่ที่ -3.8 พันล้านปอนด์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ขาดดุล -4.2 พันล้านปอนด์) ขณะที่ขาดดุลการค้ากับประเทศนอกสหภาพยุโรป (Non EU) มากขึ้นมาอยู่ที่ -5.0 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขาดดุล -3.7 พันล้านปอนด์

สาเหตุหลักที่ทำให้สหราชอาณาจักรขาดดุลการค้ามากขึ้นมาจากปริมาณการส่งออกสินค้า (ที่ไม่รวมน้ำมันและรายการพิเศษ) ที่ลดลงค่อนข้างมากถึงร้อยละ -5.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกรถยนต์และสินค้าทุนที่ลดลงถึงร้อยละ -16 และร้อยละ -9 ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้า (ที่ไม่รวมน้ำมันและรายการพิเศษ) ที่ลดลงเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.9 ในเดือนกุมภาพันธ์

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า ดุลการค้าที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาน่าจะส่งผลกระทบทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากด่านต่างประเทศ (การส่งออกสุทธิ) ของสหราชอาณาจักรลดลงในไตรมาสแรกของปี 2555

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665: www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ