รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 9, 2012 13:57 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2555

Summary:

1. “เทสโก้โลตัส” เพิ่มยอดรับซื้อกุ้ง 20% วางขายสาขาไทย-ต่างประเทศ

2. นายกฯ ระบุวิกฤติยุโรปไม่กระทบเศรษฐกิจไทยมากนัก

3. IMF จะปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

Highlight:
1. “เทสโก้โลตัส” เพิ่มยอดรับซื้อกุ้ง20% วางขายสาขาไทย-ต่างประเทศ
  • นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ทาง "เทสโก้ โลตัส" มีนโยบายในการสนับสนุนฟาร์มกุ้งไทย ด้วยการช่วยเพิ่มยอดการรับซื้อกุ้ง เพื่อนำไปจำหน่ายในสาขาของเทสโก้ โลตัส ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยตลอดทั้งปี 2555 จะเพิ่มการรับซื้อกุ้งขึ้นอีก 20% คิดเป็นปริมาณรวม 12,000 ตัน มีมูลค่าสูงถึง 2,000 ล้านบาท และยังคงเน้นการรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรและกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง เพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่แน่นอน และเพื่อมอบสินค้าสดใหม่ให้แก่ลูกค้าในราคายุติธรรม ทั้งนี้ การรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรของเทสโก้โลตัสเพื่อจาหน่ายในไทยและเครือข่ายในต่างประเทศ นับเป็นการสนับสนุนนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ของรัฐบาลโดยเจาะกลุ่ม 6 ตลาดหลักได้แก่ สหราชอาณาจักร ยุโรป จีน ไอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนถือเป็นตลาดใหม่ล่าสุดที่เทสโก้โลตัสส่งกุ้งออกไปจาหน่ายในปี 2555 ด้วยการจัดแคมเปญโปรโมชั่นกุ้งไทยในเทสโก้โลตัสสาขาต่างประเทศทาให้สามารถเพิ่มปริมาณรับซื้อกุ้งเพื่อส่งออกจากปี 2554 ได้ถึง 500 ตัน
  • สศค.วิเคราะห์ว่าการส่งออกกุ้งของไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกที่ทารายได้ให้กับประเทศ โดยในปี 54 มูลค่าการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 1,752.96 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.76 ของการส่งออกทั้งหมด โดยสถานการณ์ล่าสุดการส่งออกกุ้งไปยังสหภาพยุโรปในช่วง 5 เดือนแรกของปี 55 มีการหดตัวที่ร้อยละ -15.93 จากผลของวิกฤติหนี้ยุโรป โดยอนาคตการส่งออกกุ้งของไทยอาจประสบปัญหาจากการถูกตัดสิทธิ GSP ซึ่งมีผลทาให้สินค้ากุ้งของไทยถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น มีผลต่อเนื่องทาให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากประเทศคู่แข่งของไทยยังคงได้รับสิทธิ GSP เช่นเดิม หรือได้ตกลงทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับยุโรปเรียบร้อยแล้วทั้งนี้ การที่เทสโก้โลตัสมีนโยบายในการรับซื้อกุ้งของเกษตรกร นอกจากจะเป็นส่วนช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว ยังเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนการส่งออกกุ้งของไทยโดยการหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดยุโรปที่มีแนวโน้มซบเซาจากวิกฤคิยุโรป
2. นายกฯ ระบุวิกฤติยุโรปไม่กระทบเศรษฐกิจไทยมากนัก
  • นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 55 ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง สะท้อนจากการท่องเที่ยว ผลผลิตอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรที่ยังเติบโตในเกณฑ์ดี ในขณะที่ด้านการส่งออกแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติในยุโรป (EU) บ้าง แต่คาดว่าไม่มากนัก เนื่องจากตัวเลขการส่งออกไป EU ยังขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังอยู่ในสถานการณ์เติบโตได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะจากการบริโภคและการลงทุนเป็นสาคัญ โดยได้รับปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ อาทิ มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจานาข้าวเปลือก ซึ่งสอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจกิจด้านการบริโภคและการลงทุนในช่วง 5 เดือนแรกปี 55 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 และร้อยละ 42.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลาดับ ในขณะที่ด้านภาคการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 12.8 จากปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่ค้าสาคัญของไทย อาทิ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และจีนยังขยายตัวตัวได้ดี และจะเป็นประเทศคู่ค้าหลักที่ทาให้การส่งออกไทยขยายตัวได้ในปี 55
3. IMF จะปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
  • IMF จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลงเนื่องจากการลงทุน การจ้างงาน และการผลิตที่อ่อนตัวลง ทั้งใน ยุโรป สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย และจีน โดยคาดว่าจะประกาศแนวโน้มใหม่ในช่วง 10 วันข้างหน้าให้ลดลงจากที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สาคัญ เช่น บราซิล จีน และ อินเดีย กาลังส่งสัญญาณชะลอตัวลง เมื่อรวมกับรัสเซีย จะคิดเป็นร้อยละ 20 ของเศรษฐกิจโลกในปีนี้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกของ IMF เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาทั่วโลก โดยวิกฤตหนี้ยูโรโซน ยังคงเป็นสาเหตุหลักและมีแนวโน้มยืดเยื้อ ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังคงอยู่ในระยะฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทั้งนี้ การปรับลดของ IMF ดังกล่าวสอดคล้องกับที่สศค. ได้ประมาณการเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า 14 ประเทศไว้ในเดือน มิ.ย. ที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวจะขยายตัวชะลอลง โดยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.7 โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป ประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งมีสัดส่วนการนาเข้าจากไทย ประมาณร้อยละ 24 โดยเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปคาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -0.9 ในขณะที่จีนและอินเดียมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเหลือร้อยละ 7.9 จากร้อยละ 9.2 ในปีที่ผ่านมา ส่วนเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 6.7 จากร้อยละ 7.5

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ