ภาวะเศรษฐกิจยูโรโซน เดือนกรกฎาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 6, 2012 17:17 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • วันที่ 4 ก.ค. 55 Eurostat ประกาศข้อมูลสุดท้ายอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 1 ของ ปี 2555 เท่ากับที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อนที่ 0% QoQ ซึ่งเป็นการยืนยันเศรษฐกิจยูโรโซนยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) หลังจากหดตัว -0.3% QoQ ในไตรมาสก่อน
  • ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจยูโรโซนไม่ให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย มาจากการส่งออก(โดยเฉพาะของเยอรมนี)ที่ยังขยายตัวดี แม้การลงทุนรวมจะหดตัวมากจากภาคเอกชนลดการลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวและภาครัฐที่ต้องตัดงบประมาณลงทุนเพื่อลดการขาดดุลของภาครัฐ ขณะที่การบริโภคเอกชนไม่มีการขยายตัว เนื่องจากปัญหาการว่างงานสูง
  • เครื่องชี้เศรษฐกิจจากดัชนี Composite PMI บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสสองของปี 2555 มีแนวโน้มกลับมาหดตัวจากไตรมาสแรกประมาณ -0.5%QoQ
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราว่างงานของประเทศในเขตยูโรโซนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.1% ของกาลังแรงงาน โดยกลุ่ม PIIGS มีอัตราว่างงานสูงมาก ได้แก่ สเปน(24.6%) กรีซ(22.5%) โปรตุเกส(15.2%) ไอร์แลนด์(14.6%) อิตาลี(10.1%)
  • อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ 2.4% แม้ว่าราคาน้ามันในตลาดโลกจะเริ่มลดลง
นโยบายการเงิน
  • ECB ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Market Refinancing Operations 0.25% เหลือ 0.75% และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงินฝากไว้ที่ธนาคารกลาง Deposit Rate 0.25% เหลือ 0% เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินยุโรปนาเงินฝากที่ ECB ไปปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
นโยบายเศรษฐกิจและการคลัง
  • ที่ประชุมผู้นายุโรปออกมาตรการแก้ปัญหาวิกฤติยูโรโซนหลักๆ 3 ด้าน 1)ให้กลไกรักษาเสถียรภาพการเงิน(ESM)ปล่อยกู้สถาบันการเงินในแต่ละประเทศได้โดยตรง 2)ให้ ESM สามารถเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยลดดอกเบี้ยของรัฐบาลบางประเทศที่ตลาดเงินขาดความเชื่อมั่น 3)อนุมัติงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.2 แสนล้านยูโร (1.3%ของยูโรโซนGDP) ทั้งนี้ สานักงานที่ปรึกษา ประเมินมาตรการมุ่งเฉพาะแก้ปัญหาระยะสั้น และยังมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติ
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2555
  • Eurostat ยืนยันข้อมูลสุดท้ายเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 1/2555 ยังไม่ถดถอย โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออก(โดยเฉพาะของเยอรมนี)ที่ขยายตัวได้ดีมาก

เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2555 สา นักงานสถิติ Eurostat ประกาศข้อมูลสุดท้าย (Final Number) ของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซน 17 ประเทศ (Euro Area) ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 (ค.ศ.2012)เท่ากับที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนก่อนที่ 0% QoQ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการที่เศรษฐกิจติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส (Technical Recession) หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว -0.3%QoQ ในไตรมาส 4 ปีก่อน นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 1/2555 ยังขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.3%YoY

เมื่อพิจารณารายละเอียดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่าสาเหตุหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสแรกของปี 2555 ยังคงไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย มาจากการส่งออก (Exports) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 37 ของ Euro Zone’s GDP ที่ยังขยายตัวได้ดีมากจากไตรมาสก่อนที่ 1% QoQ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการส่งออกทีดีขึ้นของเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตยูโรโซน อย่างไรก็ดี การลงทุนรวม (Investment) ของเขตยูโรโซนในไตรมาสแรกหดตัวค่อนข้างมากถึง -1.4% QoQ เน่อื งจากภาคเอกชนลดการลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวและภาครัฐของเกือบทุกประเทศในเขตยูโรโซนต้องตัดลดงบประมาณในการลงทุนเพื่อลดการขาดดุลของภาครัฐ ขณะที่การบริโภคเอกชน (Consumption) ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 58 ของ GDP ก็ไม่มีการขยายตัวในไตรมาสแรก เนื่องจากปัญหาการว่างงานในเขตยูโรที่รุนแรงมากขึ้นส่งผลให้อานาจซื้อภาคเอกชนลดลง สำหรับอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจล่าสุดแยกรายประเทศ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปี 2555
  • ดัชนีPMI ชี้เศรษฐิจยูโรโซนในไตรมาส2/2555 จะหดตัวประมาณ -0.5%QoQ โดยดัชนี PMI เดือนมิ.ย.ชี้เศรษฐกิจเยอรมนีเริ่มชะลอตัวจากวิกฤติยูโร

เครื่องชี้เศรษฐกิจในเขตยูโรโซน ที่วัดจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อรวมของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม (Markit Composite Purchasing Managers’ Index: Composite PMI) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสสองของปี 2555 มีแนวโน้มหดตัวจากไตรมาสแรกประมาณ -0.5%QoQ โดยดัชนี Composite PMI ในไตรมาส 2 ลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 46.2 จุด จากไตรมาสแรกที่อยู่ที่ประมาณ 50 จุด (ซึ่งเป็นระดับการผลิตที่ไม่มีการขยายตัว) สาหรับสาเหตุหลักที่ส่งผลให้ดัชนี Composite PMI หดตัวในไตรมาส 2 มาจากการลดลงของคาสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะในเยอรมนี ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่า การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะขยายตัวในอัตราชะลอลงค่อนข้างมากในไตรมาส 2

เมื่อพิจารณารายละเอียดของดัชนี Composite PMI เป็นรายประเทศจากรูปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ดัชนี Composite PMI ของทุกประเทศในเขตยูโรโซนปรับลดต่ากว่า 50 จุด โดยเฉพาะดัชนี PMI ของเยอรมนีได้หดตัวมาอยู่ต่ากว่า 50 จุดเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน สะท้อนว่า เศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึง 1 ใน 4 ของยูโรโซน เริ่มได้รับผลกระทบทางลบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราการว่างงานยูโรโซนเดือนพ.ค.2555 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.1%

อัตราการว่างงานของประเทศในเขตยูโรโซนสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกันมาอยู่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 11.1 ของกำลังแรงงาน ในเดือนพฤษภาคม 2555 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคมทั้งสิ้น 17.56 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2555 จำนวน 88,000 คน

เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานเป็นรายประเทศ (ในตารางด้านล่าง) พบว่าอัตราการว่างงานของหลายประเทศในเขตยูโรโซนยังคงทรงตัวในระดับสูง โดยเฉพาะประเทศตามรอยขอบของเขตยูโรโซน (Periphery) เช่น สเปน ที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 24.6 ของกำลังแรงงาน ขณะที่อัตราการว่างงานในกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และอิตาลี ยังทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 22.5 15.2 14.6 และ 10.1 ของกำลังแรงงาน

เนื่องจากอัตราการว่างงานเป็นตัวเลขที่จะปรับตัวช้ากว่าภาวะเศรษฐกิจทัว่ ไป (Lagging Economic Indicator) ดังนั้น สา นักงานที่ปรึกษาฯ จึงประเมินว่า อัตราการว่างงานในเขตยูโรโซนน่าจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะหดตัวในไตรมาส 2

  • เงินเฟ้อยูโรโซนในไตรมาส 2 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน แม้ราคาน้ามันในตลาดโลก

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ที่คานวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonized Index of Consumer Prices: HICP) ของเศรษฐกิจในเขตยูโร Euro Area ในเดือนมิถุนายน 2555 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสแรก สาเหตุหลักที่ส่งผลให้เงินเฟ้อในไตรมาส 2 ลดลงมาจากราคาน้ามันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญได้ปรับลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Target) ของธนาคารกลางที่ร้อยละ 2 ต่อปี แต่สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลังฯ ประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มหดตัวในไตรมาสสอง จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 จะปรับตัวลดต่ากว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางที่ร้อยละ 2 ต่อปี

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังฯ วิเคราะห์ว่า แม้อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนในไตรมาส 2 จะปรับตัวลดลง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือน เงินเฟ้อปรับตัวลดลงค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับราคาน้ามันในตลาดโลกที่ลดลง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ในหลายประเทศที่ต้องลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาล ทาให้ราคาสินค้าบริโภคทั่วไปในเขตยูโรโซนไม่ได้ปรับตัวลดลงรวดเร็วนัก ซึ่งจะยิ่งเป็นปัจจัยถ่วงทาให้การบริโภคภาคเอกชน และเศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวมากขึ้น

นโยบายการเงิน
  • ECB ลดดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัว

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 คณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Market Refinancing Operations (MRO) ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.0 ต่อปี เหลือร้อยละ 0.75 ต่อปี และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงินนามาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง Deposit Rate ร้อยละ 0.25 ต่อปี เช่นกัน จากร้อยละ 0.25 ต่อปี เหลือร้อยละ 0 ต่อปี เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินยุโรปถอนเงินฝากจาก ECB มาปล่อยกู้มากขึ้น แต่ยังคงไม่เพิ่มมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่อง (liquidity) ผ่านมาตรการให้สถาบันการเงินกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่าผ่านตลาดซื้อคืนที่มีระยะเวลาคืนยาว (Longer- term refinancing operations: LTROs)

สาเหตุหลักที่ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ทิศทางอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงต่ากว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลาง ECB กาหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ในช่วงปลายปี 2555 ประกอบกับสถานการณ์วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปทวีความรุนแรงและอาจส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวรุนแรง

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังฯ ประเมินว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย MRO จากร้อยละ 1 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี ได้เป็นไปตามที่ตลาดการเงินได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของตลาดการเงินคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงินนามาฝากไว้ที่ธนาคารกลางจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เหลือร้อยละ 0 ต่อปี ซึ่งคาดว่า ธนาคารกลาง ECB มีจุดมุ่งหมายที่จะลดแรงจูงใจของสถาบันการเงินจานาเงินสภาพคล่องมาพักฝากไว้ที่ธนาคารกลางและต้องการจูงใจให้สถาบันการเงินนาสภาพคล่องไปลงทุนปล่อยสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจมากขึ้น

อย่างไรก็ดี สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า ประสิทธิผลของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวในการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่น่าจะมีผลมากนัก เนื่องจากสถาบันการเงินยังไม่น่าจะกล้าปล่อยสินเชี่อให้กับภาคธุรกิจมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว ขณะเดียวกัน ความต้องการกู้เงินจากภาคธุรกิจในยูโรโซนไม่น่าจะมีมากนักในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นกัน

นโยบายเศรษฐกิจและการคลัง

มาตรการแก้วิกฤติจากEU Summit ล่าสุด ผ่อนคลายความกังวลตลาดเงินระยะสั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องการนาไปใช้ปฎิบัติ และปัญหาระยะยาวยังไม่ได้รับการแก้ไข

ที่ประชุมผู้นายุโรป EU Summit เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 ได้ตกลงมาตรการแก้ปัญหาวิกฤติยุโรปใน 3 ประเด็นหลัก สรุปได้ดังนี้

1. มาตรการที่เกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพธนาคารยุโรป (Banking Union) โดยตกลงให้กลไกรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป(European Stability Mechanism: ESM) สามารถปล่อยเงินกู้ให้สถาบันการเงินในแต่ละประเทศได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการกู้เงินของรัฐบาลก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลที่กู้เงินมาช่วยธนาคารไม่ต้องเพิ่มขึ้น และเป็นการตัดวงจรอุทาทว์ที่เชื่อมโยงระหว่าง Banking Crisis ที่จะทาให้เกิด Fiscal Crisis แต่ทั้งนี้ จะต้องสามารถจัดตั้งหน่วยงานกากับตรวจสอบสถาบันการเงินในยุโรปให้เรียบร้อยก่อน โดยได้มอบหมายให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นแกนนำ

2. มาตรการที่เกี่ยวกับการจัดตั้งสหภาพการคลัง (Fiscal Union) โดยจะผ่อนคลายกฎระเบียยที่จะอนุญาตให้กลไก ESM สามารถเข้าแทรกแซงซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในยูโรโซนได้ (แม้ว่าประเทศนั้นจะยังไม่ได้เข้าโครงการรับความช่วยเหลือทางการเงินก็ตาม) เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลบางประเทศที่ตลาดการเงินขาดความเชื่อมั่น เช่น พันธบัตรรัฐบาลสเปนและอิตาลี

3. มาตรการที่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในยุโรป โดยอนุมัติวงเงิน 1.2 แสนล้านยูโร (ร้อยละ 1.3 ของ GDPยูโรโซน) เพื่อเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มทุนให้ European Investment Bank (EIB) เพื่อปล่อยกู้ลงทุนในยุโรปมากขึ้น หรือ การเพิ่มงบประมาณให้ EU ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในยุโรปมากขึ้น

ภายหลังการประชุมผู้นายุโรปดังกล่าว ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยุโรป ได้กาหนดรายละเอียดเบื้องต้นในการให้ ESM ปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินสเปน โดยในช่วงแรก จะให้กองทุนชั่วคราว (European Financial Stability Facility:EFSF) ปล่อยเงินกู้รอบแรกจานวน 3 หมื่นล้านยูโรให้สถาบันการเงินสเปน ภายในสิ้นเดือนก.ค. และเมื่อ ESM จัดตั้งแล้ว จะโอนเงินกู้ดังกล่าวไปให้ ESM ต่อไป ทั้งนี้ ESM จะไม่มีสถานะได้รับชาระหนี้คืนก่อนเจ้าหนี้รายอื่น

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังฯ ประเมินว่ามาตรการแก้วิกฤติยุโรปล่าสุดดังกล่าว น่าจะส่งผลให้ตลาดเงินคลายความกังวลได้เพียงระยะสั้น เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องการนามาตรการดังกล่าวไปบังคับใช้ในทางปฏิบัติ ดังนี้

  • กลไก ESM ยังไม่สามารถมาเริ่มใช้ได้จริงในทางปฎิบัติ ซึ่งขณะนี้หลายประเทศในยูโรโซนยังไม่ได้อนุมัติสนธิสัญญาการจัดตั้ง ESM เลย โดยเฉพาะเยอรมนี ที่ต้องลงทุนในกองทุน ESM ถึง 1 ใน 4 ของกองทุนรวม กาลังรอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจใช้เวลานาน นอกจากนั้น การให้ ESM มาเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินในแต่ละประเทศโดยตรงได้ จะต้องรอให้ธนาคารกลางยุโรป ECB จัดตั้งหน่วยงานกากับตรวจสอบสถาบันการเงินให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งคงไม่สามารถทาได้อย่างรวดเร็วภายในสิ้นปี 2555 นี้
  • ประเทศที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงินและได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินแล้ว เช่น ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และกรีซ เริ่มเรียกร้องขอให้ ESM มาปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินโดยตรง โดยไม่เป็นภาระกับหนี้รัฐบาล เช่นเดียวกับที่สเปนกาลังดาเนินการขออยู่
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์ ได้ออกมาคัดค้านการนากลไก ESM ไปใช้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยไม่มีเงื่อนไขรัดเข็มขัด Conditionalityซึ่งจะทาให้เสียวินัยการคลัง โดยเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์อาจคัดค้านการแก้ไขสนธิสัญญาที่จะให้ ESM ซื้อพันธบัตรดังกล่าว

นอกจากนี้ สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังฯ ยังวิเคราะห์ว่ามาตรการดังกล่าว มุ่งแค่แก้ปัญหาในระยะสั้น แต่ปัญ หาในระยะยาวยังไม่ชัดเจนและยังไม่ได้รับการแก้ไขหลายประการ ดังนี้

  • ขนาดเงินกองทุนรักษาเสถียรภาพมีไม่เพียงพอที่จะรองรับวิกฤติที่อาจลุกลามเป็นวงกว้างไปยังสเปน และอิตาลี โดยเงินกองทุนชั่วคราว EFSF (ขณะนี้มีเหลือเพียง 1.5 แสนล้านยูโร) และกองทุน ESM ขนาด 5 แสนล้านยูโร ก็ยังไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ
  • ยังไม่มีการจัดตั้ง Banking Union อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการจัดตั้ง EURO-wide Deposit Guarantee ซึ่งเป็นหัวใจการป้องกันการลุกลามของBanking Crisis ในยุโรป
  • ยังไม่มีการจัดตั้งFiscal Union อย่างเต็มรูปแบบ เช่น การออกพันธบัตรยูโรบอนด์ และกองทุน ESM ก็มีขนาดเล็กเกินไปที่จะทาให้นักลงทุนเชื่อมั่นในการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรให้ลดลงได้จริง
  • หลายประเทศในเขตยูโรโซน ไม่มีแหล่งที่มาในการเติบโตทางเศรษฐกิจ(No Source of Growth) เพราะไม่สามารถใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหนี้ฯสูง และไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ(ขึ้นกับ ECB) ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็นที่จะทาให้ฐานะการคลังยั่งยืนในระยะยาว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020
Ext 3665: www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ