รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 17, 2012 11:27 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2555

Summary:

1. ถก 3 ประเทศเห็นพ้องลดส่งออกยาง 3 แสนตัน

2. GDP มาเลเซียไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

3. FDI จีน เดือน ก.ค. ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Highlight:
1. ถก 3 ประเทศ เห็นพ้องลดส่งออกยาง 3 แสนตัน
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการหารือในระดับเจ้าหน้าที่ของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางพารา อันได้แก่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีข้อสรุปตรงกันคือ จะจากัดและลดปริมาณในตลาดลงจานวน 3 แสนตัน โดยจะกาหนดตามสภาพความมากน้อยของพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณการส่งออกที่ผ่านมา โดยในส่วนของไทยจะลดปริมาณการส่งออกลง 1.5 แสนตัน นอกจากนี้จะโค่นยางอายุมาก เพื่อปลูกยางใหม่ทดแทน จำนวน 1 แสนไร่ ซึ่งจะทำให้ปริมาณยางลดลงอีก 1.5 แสนตัน
  • สศค.วิเคราะห์ว่า นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 54 เป็นต้นมา ราคายางพาราในตลาดโลกปรับลดลงมากต่อเนื่องโดยราคาเฉลี่ยในไตรมาส 2 ปี 54 อยู่ที่ 5,373 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ราคา 5,748 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ผลจากภัยพิบัติสึนามิในญี่ปุ่นที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตรถยนต์ ทาให้อุปสงค์ยางพาราในตลาดโลกโดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สาคัญแห่งหนึ่งของโลกลดลง นอกจากนี้ มหาอุทกภัยในไทยช่วงปลายปี 54 ตลอดจนวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ยางพาราอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคายางพาราในตลาดโลก ล่าสุด ณ เดือน ก.ค. 55 (ตัวเลขเบื้องต้น) อยู่ที่ 3,178 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงมากจากเดือน ก.พ. 55 ที่อยู่ที่ 4,088 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ -22.3 ส่งผลให้มูลค่าส่งออกยางของไทยลดลงต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 55 มูลค่าการส่งออกยางพาราหดตัวถึงร้อยละ -27.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยราคา ในขณะที่ปริมาณการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ หากห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์มาสามารถกลับสู่สภาพปกติได้ ประกอบกับเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไปไม่ชะลอตัวลงมากนัก ตลอดจนวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปคลี่คลาย น่าจะช่วยเอื้อราคายางในตลาดโลกและราคายางในประเทศในลาดับต่อไป
2. GDP มาเลเซีย ไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 2 ปี 55 ขยายตัวด้วยอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีกอ่น โดยสูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.6 เป็นผลมาจากภาคการบริโภคภาคเอกชนในฝั่งอุปสงค์ และภาคการก่อสร้างในด้านอุปทานที่ขยายตัวเร่งขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ออกมาดีนั้น เป็นการลดความกดดันในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางมาเลเซีย และคาดว่าจะสามารถคงอัตราดอกเบี้ยเดิมไว้ได้มากกว่า 1 ปี ส่งผลให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมาเลเซียในปีนี้เป็นร้อยละ 4-5 แม้ปัญหายุโรปและสหรัฐฯ ยังไม่คลี่คลาย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นกว่าเป้านั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปีหน้า ทำให้รัฐบาลมาเลเซียออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การเพิ่มเงินเดือนและบานาญของข้าราชการ การลดค่าเล่าเรียน และเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย วงเงินกว่า 74 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ โดยจะมีมาตรการเพิ่มเติมด้วยมูลค่าอีกกว่า 13.4 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก อาจส่งผลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ในระยะต่อไป ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 (คาดการณ์ ณ มิ.ย. 55)
3. FDI จีน เดือน ก.ค. หดตัวร้อยละ -8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังจีน (FDI) เดือน ก.ค. 55 หดตัวร้อยละ -8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยคิดเป็นมูลค่า 7.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 53
  • สศค. วิเคราะห์ว่า FDI จีนที่ขยายตัวชะลอลงนั้นเป็นผลจาก 1) ความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่เข้าสู่ช่วงชะลอตัว โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 55 นั้น ขยายตัวเพียงร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวในอัตราที่ต่าที่สุดในรอบ 3 ปี 2) ความกังวลต่อภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และ 3) ความกังวลต่อการชะลอตัวลงของภาคการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกจีนในเดือน ก.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 11.3 ในเดือน มิ.ย.55 จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่หดตัวเป็นสาคัญ ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วสองครั้งในเดือน มิ.ย. และ ก.ค. ที่ผ่านมาเพื่อหวังจะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนให้กลับมาโดยเร็ว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ