รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 20, 2012 12:16 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2555

Summary:

1. โครงการโลจิสติกส์คลินิก

2. ธปท.มั่นใจ AEC รวมตัวไม่ซ้ำรอยวิกฤติยุโรป

3. กรีซมีทีท่าจะขอผ่อนปรนเงื่อนไขระยะเวลาในการดำเนินการตามข้อตกลงกับสหภาพยุโรป

Highlight:
1. โครงการโลจิสติกส์คลินิก
  • นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมมีแผนที่จะต่อยอดโครงการโลจิสติกส์คลินิก เตรียมเปิดบูธให้คาปรึกษาครบวงจรในงาน TILOG 2012 ระดมผู้เชี่ยวชาญทุกสาขารวม 60 ราย จากทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมวงให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก เจาะลึกแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ประกอบการ
  • สศค.วิเคราะห์ว่า จากข้อมูลความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ที่จัดท้าโดย World Bank พบว่าไทยอยู่อันดับที่ 35 ของโลก โดยยังเป็นรองประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี้ พบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 17-20 ซึ่งเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 โดยจุดอ่อนที่สำคัญของไทยด้านโลจิสติกส์ คือ พิธีการศุลกากรที่มีความซับซ้อน สมรรถนะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง นอกจากนี้ จากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนค่าขนส่งสินค้า สะท้อนถึงประสิทธิภาพด้านระบบขนส่งของไทยว่าต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
2. ธปท.มั่นใจ AEC รวมตัวไม่ซ้ำรอยวิกฤติยุโรป
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในหัวข้อ “บทเรียนจากอียูสู่อาเซียน เรียนรู้ก่อนเข้าสู่เออีซี การเตรียมพร้อมของระบบการเงินไทย” ว่า การรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะไม่มีปัญหาเหมือนยุโรป เพราะไม่มีการผูกติดด้วยการใช้สกุลเงินเดียวกัน ที่สาคัญเออีซีรวมตัวกันอย่างมีเงื่อนไขเปิดเสรีตามความพร้อม เพื่อการพัฒนาระบบการเงินให้สนับสนุนเศรษฐกิจในภูมิภาค
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในระยะแรกจะเป็นการเปิดเสรีทางด้านการค้า การลงทุน และบริการ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างภูมิภาคมากขึ้น และลดความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปได้ (โดยสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 17.5 ของการส่งออกสินค้ารวม) นอกจากนี้ การรวมตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังกล่าว คาดว่าไม่ทำให้เกิดวิกฤตเหมือนในสหภาพยุโรป เนื่องจากแต่ละประเทศยังคงสามารถใช้นโยบายการเงินและการคลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC เช่น เร่งพัฒนาระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และในส่วนของ สศค. เริ่มมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับ AEC และเตรียมเสนอกระทรวงการคลังระยะต่อไป เช่น การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าลดหย่อน, ภาษีสรรพสามิตและ ภาษีศุลกากรที่ลดเรื่องสินบนและอำนวยการค้าระหว่างประเทศ การปฏิรูปกฎหมายพรบ.การเงินการคลังภาครัฐ และ กฎหมายสนับสนุนเอกชนไทยไปลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น
3. กรีซมีทีท่าจะขอผ่อนปรนเงื่อนไขระยะเวลาในการดำเนินการตามข้อตกลงกับสหภาพยุโรป
  • กระทรวงการคลังประเทศกรีซ แถลงว่า หากได้รับการขยายเวลาอีก 2 ปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดงบประมาณ เศรษฐกิจกรีซจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยในปีหน้าจะหดตัวเพียงร้อยละ 1.5 และกลับมาฟื้นตัวได้ร้อยละ 2 ในปี 2557 แต่หากต้องทาตามกรอบอันเข้มงวดภายใน 2 ปีตามเดิมเศรษฐกิจปีหน้าจะหดตัวอย่างหนักถึงร้อยละ 4.5 และจะไม่มีการขยายตัวไปจนถึงปี 2558 เนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้สาธารณะจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อฟื้นตัวจากภาวะถดถอยก่อนเท่านั้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้ยากที่กรีซจะได้รับการผ่อนปรนในการดำเนินตามกรอบเป้าหมายลดงบประมาณจากสหภาพยุโรป เนื่องจากเยอรมนีได้แสดงท่าทีออกมาค่อนข้างชัดเจนในการก้าหนดให้ด้าเนินการตามข้อบังคับที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังคงมีข้อกังขาจากอีกหลายฝ่ายในทิศทางเดียวกันว่า กรีซไม่น่าจะประสบผลส้าเร็จในการด้าเนินตามเกณฑ์ที่วางไว้ แต่ยังไม่ถึงกับต้องออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป ถ้ายังคงมีการด้าเนินการตามข้อบังคับที่ตกลงกันไว้อยู่ อย่างไรก็ดี ได้มีการถกเถียงถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการออกจากกลุ่มสหภาพยุโรปของกรีซ และการกลับมาใช้ค่าเงินของตนเองอีกครั้ง ซึ่งกรณีดังกล่าว แม้จะสามารถดำเนินการได้ทางเทคนิค แต่ในแง่ของการเมืองในกลุ่มสหภาพยุโรปเองและต่อสายตาของนานาประเทศ จะแสดงถึงความไม่มีเอกภาพของกลุ่มสหภาพยุโรปในการแก้ปัญหาซึ่งจะส่งผลให้นานาประเทศมองว่ากลุ่มสหภาพยุโรปไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอในการแก้ปัญหาของกลุ่มเองในระยะยาวได้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ