รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 8 - 12 กรกฎาคม 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 15, 2013 13:12 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary
Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย.56 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.0 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 25.0

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนมิ.ย. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.55 ล้านล้านบาท
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกจีน เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวลงร้อยละ -0.9
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. 56 ลดลงสู่ระดับ 44.6 จุด จากระดับ 46.0 จุดในเดือนก่อนหน้า
  • เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ช่วงร้อยละ 0-0.10 ต่อปี

ขณะที่ธนาคารmกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ o0.5 จากร้อยละ 6.0 ต่อปี

มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมาเลเซียเดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                               Forecast           Previous
 Jun : TISI (Index)                         97.0               94.3

จากค่าเงินบาทที่ส่งสัญญาณอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการคลายความกังวล ประกอบกับ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.50 ของ กนง. ที่เอื้อต่อการลงทุนและการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกประเทศ

Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย.56 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 6.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) โดยเป็นการขยายตัวดีจากนักท่องเที่ยว จีน มาเลเซีย และรัสเซีย ซึ่งขยายตัวร้อยละ 106.31 34.41 และ 58.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ส่งผลทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 56 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 5.9 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 21.3 0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 8.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (Q-o-Q SA)
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือนมิ.ย. 56 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก สอดคล้องกับผลผลิตหมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 1.4 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสุกร เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนมิ.ย.56 ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.5 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตในหมวดพืชผล โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ที่ราคายังคงขยายตัวในระดับสูง เนื่องจากอุปสงค์ที่มีเข้ามาต่อเนื่องจากประเทศจีน และราคาในหมวดประมง โดยเฉพาะกุ้งที่ได้รับผลกระทบจากโรดระบาดอย่างไรก็ดี ราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ราคายังคงหดตัวต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการเพิ่มสต็อคของของประเทศจีนและญี่ปุ่นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่อุปสงค์ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 56 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -1.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.55 ล้านล้านบาท จากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากนอกประเทศ รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อ และสถานะของสภาพคล่องได้ในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 56 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 97.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 94.3 จากค่าเงินบาทที่ส่งสัญญาณอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการคลายความกังวล ประกอบกับ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.50 ของ กนง. ที่เอื้อต่อการลงทุนและการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายนอกประเทศ

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal
  • การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 195,000 ตำแหน่ง ผลจากการจ้างงานหมวดบริการภาคเอกชน โดยเฉพาะหมวดขนส่งและสาธารณูปโภค หมวดธุรกิจ หมวดสันทนาการ และหมวดค้าปลีก ที่เพิ่มขึ้นถึง 45,000 53,000 75,000 และ 37,100 ตำแหน่ง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แรงงานที่กลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้นถึง คน ทำให้อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 56 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 7.6 ของกำลังแรงงานรวม
China: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากราคาอาหาร โดยเฉพาะผักและผลไม้สดที่เพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งจากปัจจัยฐานต่ำ มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 หดตัวร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 17 เดือน จากการส่งออกไปยังคู่ค้าสำคัญที่หดตัวลงต่อเนื่อง ทั้งสหรัฐฯ ฮ่องกง และยูโรโซน มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 หดตัวลงร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนอุปสงค์ภายในที่แผ่วลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกยังมากกว่ามูลค่าการนำเข้าทำให้ ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 56 เกินดุลเพิ่มขึ้นที่มูลค่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
Japan: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 56 ลดลงสู่ระดับ 44.6 จุด จากระดับ 46.0 จุดในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 6 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่ลดลง เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่เพิ่มขึ้น จากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ บ่งชี้ถึงระดับรายได้ที่แท้จริงของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่ลดลงโดยเปรียบเทียบ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 56 ธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ช่วงร้อยละ 0-0.10 ต่อปี นับเป็นอัตราต่ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานเกือบ 3 ปี ติดต่อกัน เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศของญี่ปุ่นทั้งนี้ BOJ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นต่อเนื่อง นับไปเป็นสัญญาณที่ดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงต่อไป
Taiwan: improving economic trend
  • การค้าระหว่างประเทศฟื้นตัวชัดเจนเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน จากมูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 ผลจากปัจจัยฐานต่ำ อีกทั้งการส่งออกไปประเทศคู่ค้าในเอเชียขยายตัวแทบทุกตลาด โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 56 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวที่ร้อยละ -8.0 จากการนำเข้าสินค้าทุนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเร็วกว่าและมีมูลค่ามากกว่าการนำเข้าทำให้ ดุลการค้าเดือน มิ.ย. 56 เกินดุลที่มูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Indonesia: worsening economic trend
  • เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 56 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.0 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี ซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 2 เพื่อป้องกันแรงกดดันจากเงินเฟ้อ และรักษาเสถียรภาพภายในระบบการเงินจากเงินทุนไหลออกที่มีเป็นจำนวนมากในระยะนี้
Malaysia: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่หดตัวกว่าร้อยละ -12.0 ส่วนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 56 ก็หดตัวเช่นเดียวกันที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่หดตัวร้อยละ -16.3 ทั้งนี้ มูลการส่งออกที่หดตัวในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ค. 56 เกินดุลมูลค่า 2.4 พันล้านริงกิต ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 56 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 4.8 ตามลำดับ
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 56 หดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.1 ทั้งนี้ เป็นผลจากการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวร้อยละ -9.3 เป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 เนื่องจากราคาบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
Singapore: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 56 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากฟื้นตัวของภาคการผลิตที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งที่ร้อยละ 1.1 จากเดิมที่เคยหดตัวที่ร้อยละ -6.9 ในไตรมาสก่อน
Australia: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 56 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 5.73 ของกำลังแรงงานรวมทั้งหมด ถือว่าเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 52 โดยการจ้างงานรวมลดลง 4,889 ตำแหน่ง ขณะที่การว่างงานลดลง 1,343 ตำแหน่ง จากเดือนก่อน
South Korea: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 56 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อน โดยตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับกำลังแรงงานรวมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานรวมอยู่ที่ 25.48 ล้านตำแหน่งในเดือน มิ.ย. 56 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนกว่า 360,000 ตำแหน่ง เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 56 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อในระดับต่ำ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงมากในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นเกิน 1,400 จุด ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยดัชนีฯ ณ วันที่ 11 ก.ค. 56 ปิดที่ 1,447.04 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันระหว่างสัปดาห์อยู่ที่ 47,064 ล้านบาท ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ที่ออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้าบ่งชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนวิตกว่าอาจมีการยุติมาตรการ QE ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม แถลงข่าวผลการประชุม FOMC ในช่วงปลายสัปดาห์ ที่บ่งชี้การใช้นโยบายการทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อให้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ลดลงถึงเป้าหมายที่ร้อยละ 6.5 ทำให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 11 ก.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -521.5 ล้านบาท ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในตราสารระยะสั้นและพันธบัตรระยะยาว ประมาณ 1-5 bps และปรับขึ้นในตราสารระยะปานกลาง ในทิศทางเดียวกับ US Treasury หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับมาตรการ QE ของสหรัฐฯ โดยระหว่างวันที่ 8 - 11 ก.ค. 56 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,822.8 ล้านบาท (ไม่รวมพันธบัตร ธปท.)
  • ค่าเงินบาทคงที่ โดย ณ วันที่ 11 ก.ค. 56 ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 31.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คงที่ จากสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงร้อยละ -0.57 จากสัปดาห์ก่อนหน้า
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 11 ก.ค. 56 ปิดที่ 1,284.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,235.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ