รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 21, 2014 11:03 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2557

Summary:

1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตรียมปรับจีดีพีใหม่หลังประกาศกฎอัยการศึก

2. ส.อ.ท. ชี้กฎอัยการศึกช่วยการเมืองคลี่คลาย

3. ค้าปลีกอินโดฯ คึกรับเลือกตั้ง ยอดขายทะลุเป้าก.พ. 57 ถึงเม.ย. 57

1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตรียมปรับจีดีพีใหม่หลังประกาศกฎอัยการศึก
  • ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ศูนย์ฯ) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน มิ.ย. 57 ทางศูนย์ฯ จะมีการทบทวนตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ขณะนี้ต้องยอมรับว่ายังไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นใน อย่างไรก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกเป็นปัจจัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติมโดยในเบื้องต้นศูนย์ฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/57 นั้น ศูนย์ฯ ประเมินว่าน่าจะโตอยู่ในกรอบที่เป็นบวกได้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไตรมาส 1/57 หดตัวร้อยละ 0.6 จากปีก่อน เนื่องจากการหดตัวลงของอุปสงค์ในประเทศและ อุปสงค์ต่างประเทศ โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนหดตัวร้อยละ 3.0 จากปีก่อน ซึ่งการบริโภคสินค้าประเภทคงทนลดลงอย่างต่อเนื่อง และการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนหดตัวลงร้อยละ 19.3 และ 7.3 จากปีก่อนตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิขยายตัวร้อยละ 28.8 จากปีก่อน สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 57 มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ต่าเนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/57 และข้อจำกัดในการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และความลำช้าในการฟื้นตัวSET ของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวต่ำกวำที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ สศค.คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.6 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 - 3.1 ต่อปี)(คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 57)
2. ส.อ.ท. ชี้กฎอัยการศึกช่วยการเมืองคลี่คลาย
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 เดือน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งกังวลว่าอาจจะเกิดความรุนแรง ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ดังนั้น ในการประกาศกฎอัยการศึกถือเป็นมาตรการที่ฝ่ายความมั่นคงนำมาใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบแน่นอนกับบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพราะจะส่งผลให้บริษัททัวร์ต่างชาติระมัดระวังและไม่กล้าเดินทางเข้าประเทศไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งตลาดภายในประเทศอาจชะลอการลงทุนออกไป สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 57 อยู่ที่ระดับ 84.7 ซึ่งปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 57 ที่หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 10.4 ส่งผลให้ ไตรมาสแรกของปี 57 ผลผลิตภาคอุสาหกรรมหดตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากข้อมูลล่าสุดเดือน เม.ย. 57 พบว่าปริมาณนักท่องเที่ยวหดตัวร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
3. ค้าปลีกอินโดฯ คึกรับเลือกตั้ง ยอดขายทะลุเป้าก.พ. 57 ถึงเม.ย. 57
  • หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่าดัชนียอดขายปลีกในเดือน มี.ค. 57 ได้ขยับขึ้นเป็นร้อยละ 25.1 เพิ่มจากร้อยละ 18.8 ในเดือน ก.พ. 57 และมีแนวโน้มเพิ่มเป็นร้อยละ 27.8 ในเดือน เม.ย. 57 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นการสำรวจของแบงก์ชาติอินโดนีเซีย โดยแบงก์ชาติอินโดนีเซีย ระบุว่า ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคของประชาชนขยายตัวอย่างมากซึ่งมีผลสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากเป็นเศรษฐกิจที่ขยายตัวโดยพึ่งพาการบริโภคของประชาชนในสัดส่วนที่สูง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซีย (GDP) ในไตรมาสที่ 1 ปี 57 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว (qoq_SA) จากการส่งออกที่หดตัวและการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค.57 ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหดตัวร้อยละ -2.5 จากการส่งไปออกไปออสเตรเลียและสหรัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้น ทั้งนี้ การเลือกตั้งที่มีขึ้นจะส่งผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศเนื่องจากการบริโภคถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจ อินโดนีเซียในปี 57 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน มี.ค. 57)

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ