เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤษภาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 29, 2015 15:23 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2558 พบว่า ในด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายรัฐบาลเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่บ้าง ขณะที่การส่งออกมีการหดตัวต่อเนื่อง สำหรับด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าผลผลิตภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวและควรต้องติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคม 2558 ส่งสัญญาณแผ่วลง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ณ ราคาคงที่ในเดือนพฤษภาคม 2558 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.6 ต่อปี ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ณ ราคาคงที่ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -19.4 ต่อปี ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในภาพรวมในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยหดตัวร้อยละ -5.4 ต่อปี ตามการหดตัวของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และเขตภูมิภาค แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 16.3 ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนพฤษภาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -21.1 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 65.0 และถือเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว และยางพาราที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อโดยรวมทั่วประเทศยังคงชะลอตัว นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนพฤษภาคม 2558 พบว่า กลับมาหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน               2557                 2557                                    2558
                                               Q1      Q2      Q3      Q4      Q1      2M/Q2      เม.ย.      พ.ค.      YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)           0.4    -0.2     0.3     2.3    -0.9     1.0       0.02       2.5      -2.5       0.6
   %qoq_SA / %mom_SA                         -0.7    -1.7     1.5     0.1     0.6          -      -2.8      -2.8         -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)       1.5    -3.8     0.4     0.2     8.1    10.0       -0.2       1.0      -1.4       6.3
   %qoq_SA / %mom_SA                         -3.0     3.2     0.4     6.9    -0.5          -      -0.9      -6.9         -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)        -41.4   -55.3   -37.7   -38.3   -27.9   -12.5      -23.0     -24.7     -21.1     -16.7
   %qoq_SA / %mom_SA                        -23.5     0.0    -6.2     0.1    -6.4          -      -1.5      -9.1         -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)    -14.3   -20.8   -18.2    -8.1    -7.8    10.9      -11.4     -18.4      -5.4       2.0
   %qoq_SA / %mom_SA                         -8.7    -1.7     6.2    -3.2     9.7          -     -31.3      16.3         -
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)            -8.5    -3.0    -4.5    -7.7   -14.5   -11.2      -14.3     -17.6     -10.7     -12.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                   65.0    59.9    61.2    69.3    69.6    68.4       65.5      66.0      65.0      67.2

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤษภาคม 2558 ส่งสัญญาณชะลอตัว โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อเดือน ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี ตามการลดลงของดันชีราคาในหมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา เป็นสำคัญ เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบลดลง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลง สำหรับภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ -11.3 ต่อปี ในขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพฤษภาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -19.7 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2.1 ต่อเดือน สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวที่ร้อยละ -5.3 ต่อปี และเมื่อหักสินค้าพิเศษเครื่องบินเรือและรถไฟ พบว่า หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -7.7 ต่อปี

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                   2557                 2557                                  2558
                                                  Q1      Q2      Q3      Q4      Q1     2M/Q2     เม.ย.      พ.ค.     YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)     -2.2    -5.6    -5.9    -2.1     3.9     7.2      -1.7     10.0     -11.3      3.6
   %qoq_SA / %mom_SA                            -8.1    -3.7     9.8     6.4    -4.6         -      4.2     -14.8        -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)               -3.2    -2.4    -3.0    -2.9    -4.8    -2.5      -1.8     -3.3      -0.5     -2.2
   %qoq_SA / %mom_SA                            -2.1     0.5    -2.1    -1.2     0.6         -     -2.1       2.8        -
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                         0.7     1.1     1.4     1.2    -0.8    -3.7      -4.3     -4.3      -4.3     -3.9
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)        -26.8   -36.6   -30.6   -20.4   -15.8   -11.3     -23.6    -27.3     -19.7    -16.0
   %qoq_SA / %mom_SA                           -13.8    -2.8     0.3    -0.9    -7.0         -    -10.9       2.1        -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                 -7.6   -14.1   -12.6     0.0    -2.9     0.9       0.0      5.5      -5.3      0.5
   %qoq_SA / %mom_SA                            -5.1     0.6     6.7    -5.2    -0.2         -      8.6      -7.7        -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน
เรือและรถไฟ (%yoy)                       -4.8   -11.4    -4.4    -4.0     1.3     0.1      -5.7     -3.7      -7.7     -2.3
   %qoq_SA / %mom_SA                            -0.1     1.4     0.0    -0.2    -0.9         -      2.1      -5.1        -

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนพฤษภาคม 2558 พบว่า การใช้จ่ายรัฐบาลเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยการเบิกจ่ายงบประมาณ รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้จำนวน 176.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 164.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 139.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 24.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 ต่อปี สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 224.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -19.3 ต่อปี โดยมีรายการที่สำคัญ คือ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -3.8 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าลดลงร้อยละ -20.5 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 10.1 ต่อปี และ (2) การจัดเก็บภาษีฐานรายได้ลดลงร้อยละ -18.5 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ -23.6 ต่อปี ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณในเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวน -10.6 พันล้านบาท

เครื่องชี้ภาคการคลัง            FY2557                  FY2557                                           FY2558
(พันล้านบาท)                            Q1/       Q2/      Q3/      Q4/     Q1/      Q2/     2MQ3/
                                     FY57      FY57     FY57     FY57     FY58     FY58     FY58     เม.ย.     พ.ค.       YTD
รายได้สุทธิของรัฐบาล          2,074.7   503.5     437.2    608.5    525.5    507.4    469.9    393.4    168.6     224.8   1,370.8
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
(%y-o-y)                     -4.0    -1.0      -6.9     -5.2     -3.0      0.8      7.5     -5.2     23.6     -19.3       1.1
รายจ่ายรัฐบาลรวม            2,460.0   831.1     553.0    514.7    561.2    844.1    617.6    368.2    191.5     176.8   1,830.0
(%y-o-y)                      2.4     5.7      -5.6      6.8      2.2      1.6     11.7      5.2     -2.2      14.6       5.5
ดุลเงินงบประมาณ              -384.3  -334.7    -115.9    105.6    -39.4   -347.3   -138.9    -55.3    -44.6     -10.6    -541.5

4. การส่งออกสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2558 มีมูลค่า 18.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าในเดือนพฤษภาคมมาจากภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่ยังคงชะลอตัวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อในตลาดโลก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่หดตัวในเดือนพฤษภาคม 2558 มาจากการส่งออกสินค้าในหมวดเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะอุตสาหกรรมเกษตร และแร่และเชื้อเพลิง ที่หดตัวร้อยละ -1.9 -5.1 -1.0 -11.7 และ -20.6 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ หมวดเกษตรกรรม ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี สำหรับตลาดส่งออกที่หดตัวลดลงในเดือนพฤษภาคม 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป แอฟริกา และ อาเซียน-9 หดตัวร้อยละ -4.1 -13.7 -26.9 และ –12.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และอินโดจีน-4 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 3.3 และ 2.5 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 16.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -20.0 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่มีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคม 2558 เกินดุล 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก
(สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57)       2557                     2557                                    2558
                                             Q1       Q2        Q3       Q4      Q1     2M/Q2      เม.ย.      พ.ค.     YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)              -0.4      -1.4      0.0      -1.8      1.6    -4.7      -3.5      -1.7      -5.0     -4.2
   %qoq_SA / %mom_SA                       -1.0     -0.8      -0.4      3.8    -6.2         -       2.7      -3.9        -
1.จีน (11.9%>>>11.0%)             -7.9      -4.5     -4.2      -6.3    -15.3   -14.4       2.3       1.1       3.3     -8.2
2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%)           4.1       0.6      4.9       3.4      7.2     5.6       4.1       8.4       0.4      5.0
3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%)              -1.9       0.7     -6.4      -1.0     -0.6    -9.2      -3.6      -3.0      -4.1     -7.1
4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%)         4.7       4.8     10.9       2.0      1.7    -3.9      -9.1      -3.5     -13.7     -6.0
5.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%)          -1.9      -0.1     -1.4      -5.0     -1.0   -14.6     -18.6     -24.6     -12.7    -16.3
6.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%)            -4.4      -1.8      1.7     -13.5     -1.8   -11.5      -1.3       4.0      -6.0     -8.0
PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%)       0.2      -5.4     -0.1       1.1      5.2    -2.4      -6.7      -6.1      -7.2     -4.2
PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%)      -3.9     -11.0     -4.1      -4.2      4.3    -9.4     -11.9     -11.6     -12.2    -10.5
PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%)         9.0       7.0      8.8      13.6      6.8    10.6       3.0       3.5       2.5      7.4

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถขยายตัวในระดับสูง เป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย โดยในเดือนพฤษภาคม 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในไทย 2.31 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 38.2 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อเดือน โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีมาจากนักท่องเที่ยวระยะใกล้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และมาเลเซีย เป็นหลัก สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศ ในขณะที่ ภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ -7.3 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อเดือน ตามการหดตัวของผลผลิตข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเปลือกที่หดตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากสถานการณ์ภัยแล้งและปริมาณน้ำในเขื่อนที่อยู่ในระดับต่ำจนทำให้ต้องขอความร่วมมือให้ชาวนาชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปเพิ่มเติมจากการงดส่งน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปรัง อย่างไรก็ดี พืชผลที่ใช้น้ำน้อย และทนทานต่อความแห้งแล้ง เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในเดือนพฤษภาคม 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกันที่ร้อยละ -5.1 ต่อปี ตามราคายางพารา จากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่วนราคาในหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงยังคงหดที่ตัวร้อยละ -8.2 และ -15.9 ตามลำดับ สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสากรรมในเดือนพฤษภาคม 2558 จะมีการประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ระดับ 85.4 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะภาคเกษตร ประกอบกับภาวะการแข่งขันและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงความกังวลต่อการที่สหภาพยุโรป (EU) ได้ให้ใบเหลืองประเทศไทยกรณีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน             2557                  2557                                        2558
                                            Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       2M/Q2      เม.ย.     พ.ค.      YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)       0.6     1.1      6.5      2.7     -4.4     -5.0        -9.6     -12.1     -7.3      -6.7
   %qoq_SA / %mom_SA                       3.3     -6.7      0.3     -1.0      1.2           -       0.0      0.7         -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)        -4.6    -7.0     -4.8     -3.9     -2.3     -3.4        -5.3      -5.3        -
   %qoq_SA / %mom_SA                      -3.6     -1.9     -3.7      2.7     -1.2           -      -1.1        -         -
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)  87.4    85.8     85.8     88.2     90.0     89.6        85.8      86.2     85.4      87.9
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)            -6.7    -9.0    -15.9    -10.1      7.0     23.1        27.5      18.3     38.2      24.7
   %qoq_SA / %mom_SA                     -10.3     -2.7      7.8     13.4      4.3           -       1.9      6.5         -
*ข้อมูลเบื้องต้น

          6. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2558 หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปี และถือเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยเป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงาน (ข้อมูลเบื้องต้น) ในเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 3.54 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.5 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ 158.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.9 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ           2557                    2557                                       2558
                                           Q1       Q2        Q3       Q4       Q1       2M/Q2      เม.ย.      พ.ค.      YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                1.9      2.0      2.2       2.0      1.1     -0.5        -1.2       -1.0     -1.3      -0.8
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)               1.6      1.2      1.7       1.8      1.7      1.5         1.0        1.0      0.9       1.3
อัตราการว่างงาน (yoy%)             0.8      0.9      1.0       0.8      0.6      0.9         0.9        0.9      0.9*      0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                   42.8     42.9     43.4      43.5     42.8     43.3        43.5       43.5      n.a.     43.5
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)          14.2      8.2     -0.4      -0.5      9.8      8.2         1.1        1.1      n.a.      9.4
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)        157.1    167.5    168.2     161.6    157.1    156.3       158.5      161.1    158.5     158.5
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)      23.1     23.6     23.7      24.7     23.1     19.7        19.1       18.5     19.1      19.1
ทุนสำรองทางการ/                   2.7      2.8      2.7       2.7      2.7      2.9         2.9        2.9        -       2.9
หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)
*ข้อมูลเบื้องต้น

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ