รายงานดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 20, 2007 09:53 —กระทรวงการคลัง

          นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2549 ในระดับต่ำอย่างน่าเป็นห่วง พิจารณา วิเคราะห์ ทบทวน และดำเนินการแก้ไขและพัฒนาต่อไป  ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ 
1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานว่า ตามที่ พม. ได้เสนอกรอบแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ให้คณะรัฐมนตรี (30 สิงหาคม 2548) ทราบ นั้น ในปีงบประมาณ 2550 พม. โดยสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สมพ.) ได้ทำการศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2549 ภายใต้กรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ 10 มิติ 56 ตัวชี้วัด เพื่อรายงานดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมของประเทศและรายจังหวัด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ของแต่ละจังหวัดในภาพรวมและรายมิติ อันจะทำให้จังหวัดทราบจุดอ่อนจุดแข็งของจังหวัด สามารถจัดลำดับความสำคัญมิติที่จะต้องแก้ไขหรือพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการพัฒนาคนและสังคมทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ
2. พม. ได้จัดทำดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (Composite Human Security Index CHSI) เพื่อเป็น เครื่องมือประเมินสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทยในภาพรวมและรายจังหวัด โดยเริ่มดำเนินการมา ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสาระสำคัญของผลการสำรวจดัชนีฯ ดังกล่าว ในปี 2549 สรุปได้ดังนี้
2.1 ดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมของประเทศ เท่ากับ 0.6924 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมสูงสุด 0.7290 รองลงไปคือภาคเหนือ 0.6804 และตอนพิเศษ (กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) ค่าดัชนีต่ำสุด 0.6118
2.2 ดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม 0.9757 รองลงไปคือ จังหวัดสิงห์บุรี 0.9346 จังหวัดมหาสารคาม 0.9307 จังหวัดขอนแก่น 0.9056 และจังหวัดเพชรบุรี 0.9025 ส่วนจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในภาพรวมต่ำสุด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 0.1371 จังหวัดศรีสะเกษ 0.3748 จังหวัดระนอง 0.4265 จังหวัดยะลา 0.4810 และจังหวัดนครสวรรค์ 0.5002
2.3 ดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในรายมิติ พบว่ามิติที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงสุด ได้แก่ มิติสังคม-วัฒนธรรม 0.7038 รองลงไปคือ มิติสิทธิและความเป็นธรรม 0.7028 มิติการมีงานทำและรายได้ 0.7018 มิติที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ต่ำสุด ได้แก่ มิติการเมืองและธรรมาภิบาล 0.6895 รองลงไปคือ มิติความมั่นคงส่วนบุคคล 0.6945 และมิติที่อยู่อาศัย 0.6959 นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในระดับที่ต่ำอย่างน่าเป็นห่วงมีดังนี้
- มิติที่อยู่อาศัย : กรุงเทพมหานคร 0.2671 จังหวัดระยอง 0.3418 จังหวัดสมุทรปราการ 0.3951 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 0.4379 จังหวัดกระบี่ 0.4918 และจังหวัดนนทบุรี 0.4960
- มิติสุขภาพอนามัย : จังหวัดชัยภูมิ 0.1887 จังหวัดนครพนม 0.4484 และจังหวัดสมุทรสาคร 0.4827
- มิติการศึกษา : จังหวัดสตูล 0.2524 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 0.4001 จังหวัดตาก 0.4311 และจังหวัดปัตตานี 0.4928
- มิติความมั่นคงส่วนบุคคล : จังหวัดภูเก็ต 0.2284 จังหวัดปทุมธานี 0.2466 จังหวัดชลบุรี 0.3297 จังหวัดระยอง 0.3712 และจังหวัดสมุทรสาคร 0.3981
- มิติสิทธิและความเป็นธรรม : จังหวัดนนทบุรี 0.2503 และกรุงเทพมหานคร 0.3347
- มิติการเมืองและธรรมาภิบาล : จังหวัดปัตตานี 0.2322 จังหวัดตาก 0.3594 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 0.3987 จังหวัดยะลา 0.4255 จังหวัดสุรินทร์ 0.4278 จังหวัดเชียงราย 0.4284 จังหวัดสมุทรปราการ 0.4329 จังหวัดกำแพงเพชร 0.4666 จังหวัดนครสวรรค์ 0.4768 จังหวัดศรีสะเกษ 0.4835 และจังหวัดนราธิวาส 0.4941

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ