รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 1, 2019 14:02 —กระทรวงการคลัง

"เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือนธันวาคม 2561 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 2561 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้"

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง พร้อมด้วย นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ว่า "เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือนธันวาคม 2561 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 2561 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้" โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 13 เดือน โดยเป็นการขยายตัวจากในเขตภูมิภาคที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะที่ในเขต กทม. หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี และทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี อย่างไรก็ดี ภาพรวมในไตรมาสที่ 4 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ระดับ 66.3 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากภาคการส่งออกที่หดตัว อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยบวกได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐทั้งช็อปช่วยชาติ เที่ยวเพื่อชาติ และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม 61 ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนในหมวดก่อสร้างทำให้ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวได้ดีโดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 16.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 24.9 ต่อปี สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้างปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี นับเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปีอย่างไรก็ดี ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ภาษีธุรกรรมอสังหาฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 นอกจากนี้ สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อยู่ที่ระดับ 107.2 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดกระเบื้องสูงขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี

อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -1.72 ต่อปี อย่างไรก็ดี การส่งออกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ อาเซียน ยังคงขยายตัว สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนธันวาคม 2561 กลับมาเกินดุลจำนวน 1,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 การส่งออกมีมูลค่า 62.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนในเดือนธันวาคม 61 ได้รับแรงสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและสถานการณ์การท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดย ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี จากหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 2.0 ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ต่อปี นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ธันวาคม 2561 มีจำนวน 3.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ประกอบกับนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์ และอินเดียยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 204.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.2 เป็นการปรับลดลงโดยมีสาเหตุมาจากการเร่งผลิตสินค้าในเดือนพฤศจิกายนเพื่อชดเชยก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.3

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาพลังงาน และการชะลอตัวของราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ์อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราเงินเฟ์อทั่วไปและอัตราเงินเฟ์อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 และ 0.7 ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในเดือนธันวาคม 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือน หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน และ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.8 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 205.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

"เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือน ธันวาคม 2561 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 2561 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้"

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนในเดือนธันวาคมและไตรมาสที่ 4 ปี ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 13 เดือน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อเดือน โดยเป็นการหดตัวในเขต กทม. ร้อยละ -3.5 ต่อปี และเขตภูมิภาคขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนธันวาคม2561 หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ -6.4 ต่อเดือน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี ขณะที่ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 66.3 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากภาคการส่งออกที่หดตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรทรงตัวในระดับต่ำ จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยลดลง และผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและกระจุกตัวอย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยบวกได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐทั้งช็อปช่วยชาติ เที่ยวเพื่อชาติ และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม 61 ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ยังคงขยายตัวได้ดี โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ที่ระดับร้อยละ 16.5 ต่อปี แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (mo-m SA) พบว่า หดตัวลงที่ร้อยละ 4.13 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 24.9 ต่อปี สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี และในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายรถกระบะขยายตัวร้อยละ 19.9 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนธันวาคม 2561 หดตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี เป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า หดตัวร้อยละ 6.2 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนธันวาคม 2561 ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ภาษีธุรกรรมอสังหาฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 นอกจากนี้ สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 107.2 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดกระเบื้องสูงขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนธันวาคม 2561 เบิกจ่ายได้จำนวน 269.2 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 245.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายประจำ 214.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 31.5 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 23.7 พันล้านบาททำให้ในปีงบประมาณ 2562 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน893.0 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 817.7 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 75.2 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 70.8 พันล้านบาท

4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -1.72 ต่อปี อย่างไรก็ดี การส่งออกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ อาเซียน ยังคงขยายตัว สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนธันวาคม 2561 กลับมาเกินดุลจำนวน 1,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 การส่งออกมีมูลค่า 62.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนในเดือนธันวาคม 61 ได้รับแรงสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและสถานการณ์การท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี จากหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 2.0 ต่อปีตามลำดับ อย่างไรก็ดีหมวดปศุสัตว์ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -4.9 ต่อปี ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร หดตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ต่อปี นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในเดือน ธันวาคม 2561 มีจำนวน 3.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ประกอบกับนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์ และอินเดียยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 204.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.2 เป็นการปรับลดลงโดยมีสาเหตุมาจากการเร่งผลิตสินค้าในเดือนพฤศจิกายนเพื่อชดเชยก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.3

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาพลังงาน และการชะลอตัวของราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 และ 0.7 ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในเดือนธันวาคม 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือน หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.8 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 205.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

ฉบับที่ 4 /2562

วันที่ 28 มกราคม 2562

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ