รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 13, 2019 16:18 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน ก.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 63.4 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 62.2
  • อัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 62 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 62 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของอินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวที่ ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ก.ค. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 63.4 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 62.2 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 60 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต สถานการณ์ภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวช้า และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้มีงานทำเดือน ก.ค. มีจำนวน 37.6 พันคน หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ -2.6 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยจากแบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม พบว่า ผู้มีงานทำภาคเกษตร หดตัวที่ร้อยละ -5.1 ภาคอุตสาหกรรม หดตัวที่ร้อยละ -1.4 เป็นการหดตัวจากภาคการผลิต และภาคบริการมีการหดตัวร้อยละ -1.4 จากภาคขายส่งขายปลีกที่หดตัว แต่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.4 แสนคน เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังหักผลทางฤดูกาลแล้ว ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 62 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เดือน มิ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดคำสั่งซื้อสินค้าในหมวดเครื่องมือด้านการขนส่งที่หดตัวถึงร้อยละ 11.7 เป็นสำคัญ ด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศ เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับเดือนก่อนหน้า จากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวเพิ่มขึ้นและยอดขายรถบรรทุกที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ระดับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดย่อยด้านกิจกรรมธุรกิจและสินค้าคงคลังที่ลดลงเป็นสำคัญ

China: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ค. 62 (Caixin) ปรับตัวลดลงที่ระดับ 51.6 จุด จากระดับ 52.0 จุด ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 50.9 จุด มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มอาเซียนและไต้หวันขยายตัวได้ดี มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Japan: improving economic trend

GDP ไตรมาส 2 ปี 62 (เบื้องต้น) เร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนรวมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 0.7 ไตรมาสก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ค. 62 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 51.8 จุด จากระดับ 51.9 จุด จากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมปรับตัวลงเล็กน้อยที่ระดับ 50.6 จุด

Indonesia: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 124.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 126.4 โดยมีแค่ดัชนัความเชื่อมั่นต่อรายได้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.8 โดยยอดขายสินค้าทุกหมวดขยายตัวเร่งขึ้น

Taiwan: improving economic trend

มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังจีนหดตัว มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.9

Malaysia: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จ

กช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากการผลิตไฟฟ้า และสินค้าจากโรงงานที่หดตัวลง อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

Singapore: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากยอดขายยานยนต์ที่ลดลง

Hong Kong: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ปรับตัวลดลงที่ระดับ 43.8 จุด จากปัญหาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ และการเมืองภายในประเทศ

Australia: worsening economic trend

มูลค่าส่งออก เดือน มิ.ย. 62 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 17.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวเร่งขึ้นและเชื้อเพลิงชะลอตัวลง ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายชะลอลง ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ค. 62 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.9 จุด จากที่อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ในเดือนก่อนหน้า จากยอดสั่งสินค้าใหม่และยอดขายปรับตัวลดลง และเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 62 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.25

India: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน ก.ค. 62 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.8 จุด จากหมวดธุรกิจใหม่ขยายตัวเร่งขึ้น ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 5.75 ต่อปี

Philippines: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีกว่า อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.7 มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าส่งออกยางหดตัวลงเป็นอย่างมากขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่านำเข้าสินค้าหมวดธัญพืชลดลง ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ -2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 62 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 4.25

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในสัปดาห์นีโดยรวมปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในต่างประเทศ เช่น FTSE100 (สหราชอาณาจักร) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้นทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 8 ส.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,665.12 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 5-8 ส.ค. 62 ถึง 66,506 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 62 (ประมาณการครั้งที่ 2) ของกลุ่มยูโรโซน ในวันที่ 14 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-8 ส.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -8,738 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับลดลง 22-39 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5-8 ส.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,762 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 ส.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.32 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินเยนและยูโร ขณะที่เงินริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.53

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ