รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคม 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 19, 2019 15:35 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ของยูโรโซน ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ของมาเลเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ตามความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ที่ยังคงชะลอตัว แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อเดือน เมื่อปรับผลทางฤดูกาล ทำให้ 7 เดือนแรกของปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศหดตัวร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากยอดค้าปลีกในหลายหมวดที่ขยายตัวเร่งขึ้น เช่น ยานยนต์ ระดับอาหารและเครื่องดื่ม และร้านขายสินค้าทั่วไป เป็นต้น ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากผลผลิตในหมวดสินค้าไม่คงทนที่หดตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ

China: worsening economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 โดยยอดขายสินค้าที่ชะลอตัวลงได้แก่ สินค้าหมวดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ โทรคมนาคม และวัสดุก่อสร้าง .

Japan: worsening economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.1 จากการหดตัวของผลผลิตทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าหมวดชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิส์ที่หดตัวร้อยละ -13.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

Indonesia: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 จากสินค้าโรงงานที่หดตัว ขณะที่มูลค่าการนำหดตัวร้อยละ -15.2 จากสินค้าน้ำมัน ทำให้ขาดดุลการค้า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

South Korea: worsening economic trend

มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 62 หดตัวถึงร้อยละ -11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -0.7 ขณะที่มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ -2.7 จากที่หดตัวร้อยละ -10.9 ในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

Malaysia: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากการมูลค่าการส่งออกสุทธิที่เร่งตัวขึ้นยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย 62 ขยายตัวร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยจากยอดรถยนต์ที่หดตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยูที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากระดับราคาสินค้าประเภทเสื้อผ้า และสันทนาการที่ลดลงมาก

Singapore: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 นับเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ซึ่งทั้งสองไตรมาสต่ำกว่าที่คาดไปมาก ส่งผลให้ตลาดปรับลดคาดการณ์ จีดีพีทั้งปี 62 สิงคโปร์ลงเหลือร้อยละ 0-1 มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 62 หดตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากธุรกรรมเบ็ดเตล็ดที่ลดลง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Australia: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนคนที่หางานเต็มเวลาและ Part Time เพิ่มขึ้น

India: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าเกือบทุกหมวดที่ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ราคาสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและพลังงานหดตัวลง

UK: worsening economic trend

อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากการค้าปลีกแทบทุกประเภทที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.0

Eurozone: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 62 หดตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการผลิตหมวดอาวุธทหารที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

Philippines: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย 62 หดตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากหมวดสินค้าเครื่องจักรที่หดตัวอย่างเห็นได้ชัด

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ในสัปดาห์นีปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในต่างประเทศ เช่น FTSE100 (สหราชอาณาจักร) KOSPI (เกาหลีใต้) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้นทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 15 ส.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,604.03 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 13-15 ส.ค. 62 ถึง 78,799 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามการรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2 ปี 62 ของไทยในวันที่ 19 ส.ค. 62 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13-15 ส.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -19,307 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (อัตราฯ) ระยะสันปรับเพิ่มขึน 0-2 bps ขณะอัตราฯ ระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง 1-11 bps โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 50 ปี มีนักลงทุนสนใจ 1.66 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13-15 ส.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -8,880 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 15 ส.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.30 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.06

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ