รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 8 มกราคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 13, 2021 14:41 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 63 ลดลงร้อยละ -0.27 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพืนฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.19 ต่อปี หนีสาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 50.5 ของ GDP ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. 63 ขาดดุล -1,475.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 63       คิดเป็น 1.89 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย  การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวร้อยละ 100.6 ต่อปี รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน           พ.ย. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -9.4 ต่อปี  ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน                 พ.ย. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน -205,800 ล้านบาท  ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ย. 63 หดตัว ณ ระดับราคาคงที่ที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -11.4 ต่อปี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 50.1
 Economic Indicators: This Week อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 63 ลดลงร้อยละ  -0.27 ต่อปี ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ    -0.41 ต่อปี สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เนื่องจากความต้องการของตลาด ทั้งจากภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน และเมื่อหักราคาอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.19 ต่อปี โดยเฉลี่ยทั้งปี 63 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง  ร้อยละ -0.85 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.29 ต่อปีหนีสาธารณะคงค้าง ณ สินเดือน พ.ย. 63 มีจำนวนทังสิน 7,925,378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.5 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 96,220 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60  ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว  โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 86.0 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.3  ของยอดหนี้สาธารณะดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัว ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี เป็นการสูงขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 5.4 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลก รวมถึงความต้องการที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หมวดซีเมนต์ และSource หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตยังคงลดลงตามภาวะสินค้าที่ล้นตลาดจากการที่ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา ทำให้ทั้งปี 63 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -1.8 ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการก่อสร้าง          ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องในช่วงปี 64 ให้ฟื้นตัวได้อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 63 โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับรัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวราคาวัสดุก่อสร้าง ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 64
 Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. 63 ขาดดุล -1,475.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เดือนก่อนหน้าเกินดุล 1,000.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน  ขาดดุลที่ -3,379.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1,903.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทังนี ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 11 เดือนแรกของปี 63 เกินดุลรวม 17,231.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 63 มียอดคงค้าง 18.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่    ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล)  โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.4 ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่คงที่ที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 63 มียอดคงค้าง 22.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึนที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 9.9 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 63 คิดเป็น 1.89 เท่าของสินทรัพย์     สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.9 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์     สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า      ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59   การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทังสิน 363,766 ล้านบาท ขยายตัว    ร้อยละ 100.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสม           รายการที่ร้อยละ 21.1 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 336,099 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 117.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 21.0 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 300,491 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 101.8 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 24.4 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 35,608 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 525.6     ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 7.5 (2) รายจ่าย   ปีก่อน เบิกจ่ายได้ 27,667 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.7     ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 13.0 ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)   ในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 64 ได้ 156,594         ล้านบาท หดตัวร้อยละ ญ9.4 ต่อปี โดยหดตัวจาก

รายการ(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล หดตัวร้อยละ ญ19.2 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม หดตัวร้อยละ ญ7.5 จากภาวะเศรษฐกิจ

[%YoY]ที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

รวมรายได้จัดเก็บไวรัสโควิด-19 และ (2) รายได้จากหน่วยงานอื่น หดตัวลง

          [%YoY]ร้อยละ ญ14.3 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นลดลง ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด       ในเดือน พ.ย. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -205,800 ล้านบาททั้งนี้  เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลแล้วพบว่าเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -223,620 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาล     มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน -157,610 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลอยู่ที่ -66,010 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 376,155 ล้านบาท
 Economic Indicators: This Week ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่  ในเดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -6.5 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.5 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ โครงการคนละครึ่ง ช็อปดีมีคืน เราเที่ยวด้วยกัน และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เช่นเดียวกันกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -12.5 จากการนำเข้าที่มีทิศทางปรับตัว  ดีขึ้นภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน     พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -11.4 ต่อปี และหดตัวร้อยละ      -4.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล  โดยการจัดเก็บลดลงในทุกหมวดภาษี โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินจัดเก็บให้ และภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล ที่ปรับตัว     ชะลอลงตามสภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากผลการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินทรัพย์ราคาสูงอย่างที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ การส่งเสริมการขายและการจัดข้อเสนอพิเศษของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงกลางปี เป็นการดึงกำลังซื้อไปช่วงก่อนหน้าแล้วส่วนหนึ่ง ส่งผลให้เดือนนี้มีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 50.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนและยังเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 63 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 63 อย่างไรก็ดี ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัว     ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค         ในเดือนนี้
Global Economic Indicators: This Week

US ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต (ISM) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 60.7 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด ซึ่งเป็นค่าสูงที่สุดตั้งแต่ เดือน ส.ค. 61 ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 57.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 55.9 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 54.6 จุด การส่งออก เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 184.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือน ต.ค. 63 และเป็นยอดสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 การนำเข้า เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 252.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากเดือน ต.ค. 63 เป็นยอดสูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 63 และเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 63 ขาดดุลที่ -68.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลเพิ่มมากขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่ขาดดุลที่ -63.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ China ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต (Caixin) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 53 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 54 จุด เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Caixin) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ 56.3 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ 57.8 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี Japan ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 63 ลดลงอยู่ที่ระดับ 31.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 33.7 เนื่อจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 EU ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 53.8 เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น 6 เดือนติดต่อกัน ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 46.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 41.7 จุด อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการของยูโรโซนยังคงมีค่าอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50.0 จุด ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ -13.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ -17.6 จุด อัตราเงินเฟ้อ (เบืองต้น) เดือน ธ.ค. หดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงและหดตัวที่ร้อยละ -0.3 เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่ขยายตัวที่ ร้อยละ 4.2 และเป็นการหดตัวครั้งแรกหลังจากที่ขยายตัวมา 5 เดือนติดต่อกัน Vietnam ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด

. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด Hong Kong ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -9.2 เนื่องจากยอดขายสินค้าคงทนของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน เนื่องจากความไม่สงบในประเทศและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

\ Australia ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 55.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจาก เดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ 55.8 จุด อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิตอยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 57.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด เป็นค่าสูงสุดในรอบ 5 เดือน Indonesia อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าประเภท อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.6 จุด Singapore GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 63 (เบืองต้น) หดตัวที่ร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.6 รวมถึงยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.5 ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.7 India การส่งออก เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ 26.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้า เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ 42.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 63 ขาดดุล -15.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -12.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 Philippines อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด South Korea ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน พ.ย. 63 เกินดุล 8.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยดุลการค้าเกินดุล 9.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดุลบริการขาดดุล -0.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ UK ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 55.6 จุด ชี้ให้เห็นถึงการ ฟื้นตัวที่ก้าวกระโดดที่สุดในภาคการผลิตนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 60 โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้า เพื่อป้องกันการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นจากการสิ้นสุดช่วงการเปลี่ยนผ่านของ Brexit ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Final) เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 49.4 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ 47.6 จุด อย่างไรก็ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคบริการยังคงไม่ฟื้นตัวอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 Taiwan ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิตเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 59.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ 56.9 จุดโดยเป็นการเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 50 จุดเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.06 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.15

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยช่วงกลางสัปดาห์ และกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,513.78 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4 - 7 ม.ค. 64 ที่ 117,040.29 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 4 - 7 ม.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซือ หลักทรัพย์สุทธิ 724.79 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 0 ถึง 6 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 4 - 7 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,127.92 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึนจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7 ม.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 29.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.25 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินสกุลเยนอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุล หลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.06 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ