รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 8 - 11 กุมภาพันธ์ 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2021 13:32 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 63 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
GDP มาเลเซีย ไตรมาส 4/63 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วง เดียวกันปีก่อน
 Economic Indicators: This Week ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 63 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์     สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.9 ล้านล้านบาท คงที่จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์     สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า      ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
Global Economic Indicators: This Week
          US อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 64 คงที่จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นผลจากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มอาหาร และรถยนต์และรถบรรทุกมือสองเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิงและพลังงานลดลง จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (Initial Jobless Claims) ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. 64 - 6 ก.พ. 64 มีจำนวน 7.79 แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 และเป็นจำนวนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 63 โดยสัปดาห์ก่อนหน้ามีจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกทั้งสิ้น 8.12 แสนราย China อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าฐานสูงในปีก่อน และการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปรลงถึงเดือน      เม.ย. 64 Malaysia GDP ไตรมาส 4/63 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวเพียงร้อยละ -2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นในรอบ 3 เดือน อัตราการว่างงาน เดือน      ธ.ค. 63 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.8 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19  Indonesia ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 84.9

.ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 96.5 ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -19.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวร้อยละ -16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวติดต่อกันถึง 13 เดือนและหดตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 ท่ามกลางผลกระทบที่ยืดเยื้อจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนต้องอยู่บ้านเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้ยอดขายลดลงมากขึ้น

\ South Korea อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6 นับเป็นตัวเลขว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องTaiwan มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 36.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยได้แรงหนุนจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก การนำเข้า เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 29.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 64 เกินดุลอยู่ที่ 6.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่เดือน ธ.ค. 63 เกินดุลเพียง 5.76 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ      ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) STI (สิงคโปร์) JCI (อินโดนีเซีย) และ  PSEi (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง         ต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 64 ปิดที่ระดับ 1,516.94 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 8 - 10 ก.พ. 64 ที่ 87,353.69 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 10 ก.พ. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 7,459.29 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 8 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.61 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 8 - 10 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก ตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,257.62 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 10 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 532.29 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10 ก.พ. 64 เงินบาทปิดที่ 29.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 0.35 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน  ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.05 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ