รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 - 19 มีนาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 23, 2021 15:15 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ก.พ. 64 คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.พ. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85.1 จากระดับ 83.5 ในเดือนก่อน

           Economic Indicators: This Week ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลโดยปริมาณ        การจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากปัจจัยบวกด้านสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการระบาดครั้งก่อนหน้า uขณะที่มาตรการดูแลและเยียวยาของรัฐบาล ที่ช่วยกระตุ้น
          Source:3ภาคการบริโภคอย่างต่อเนื่อง และการเริ่มทยอยฉีดวัคซีนป้องกันโควิดภายในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของทั้งประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการเร่งเบิกจ่ายงบโครงการก่อสร้างของภาครัฐ โดยเฉพาะ        การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จะช่วยสนับสนุนciความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ภาพรวมให้ขยายตัวดีขึ้น oPอย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจไทยยังคงมีทิศทาง           การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยciกดดัน ได้แก่ ความเสี่ยงของการระบาดระลอกใหม่ ภาค   mการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงสถานการณ์การผลิตและกระจายวัคซีนทั่วโลกที่ยังมีความล่าช้า ทำให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลง และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจcไทยรวมถึงการก่อสร้างภาคเอกชนจนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลายลง
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน    ก.พ. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 85.1 จากระดับ 83.5 ในเดือนก่อน โดยดัชนีฯ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ของภาครัฐ อาทิ การอนุญาตให้สถานศึกษาเปิดเรียนตามปกติ การขยายเวลานั่งรับประทานในร้านอาหารถึง 23.00 น.รวมทั้งอนุญาตให้กิจการบางประเภทเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ ผ่านโครงการต่างๆ อาทิโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ รวมทั้งการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมทั้งความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น
Global Economic Indicators: This Week
          US ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่ขยายตัวที่      ร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือน ม.ค. 64 ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในบางพื้นที่ของประเทศและนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นครั้งที่ 18 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ          โควิด-19 China ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค.-ก.พ. 64 ปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 35.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ แร่ที่ไม่ใช่โลหะ เหล็ก และอุปกรณ์ทั่วไป เป็นหลัก สอดคล้องกับยอดค้าปลีก เดือน ม.ค.-ก.พ. 64 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 33.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ถึงสถานการณ์การบริโภคที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค.-ก.พ. 64 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในรอบ    9 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวมJapan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 หดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกันกับ มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 ที่หดตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของยอดขายเครื่องจักร เครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลทำให้ดุลการค้าเดือน ก.พ. 64 เกินดุลลดลงเหลือ 217.4 พันล้านเยน         จาก 1,106.6 พันล้านเยนในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. 64 ปรับตัวลงลดร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

.เนื่องจากกาแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภค EU อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือน ม.ค. 64 ซึ่งเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เช่นกัน โดยได้แรงหนุนจากราคาภาคบริการ ราคาสินค้าอุตหกรรมที่ไม่ใช่ด้านพลังงาน และราคาสินค้าประเภทอาหารที่เพิ่มขึ้น \ Hong Kong อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 Australia อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 เนื่องจากเศรษฐกิจออสเตรเลียเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น Indonesia มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ หดตัว ร้อยละ -6.6 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Singapore อัตราการว่างงาน ไตรมาส 4 ปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ ร้อยละ 1.1 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.2 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 4.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์India มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีมูลค่าส่งออก 27.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เดือนติดต่อกัน โดยได้แรงหนุนการส่งออกสินค้าธัญพืช น้ำมันเพื่อการบริโภค แร่เหล็ก ข้าว เป็นหลัก มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีมูลค่านำเข้า 40.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 64 ขาดดุลอยู่ที่ -12.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 South Korea อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.4 นับเป็นตัวเลขว่างงานที่ต่ำสุดนับตั้งแต่ ต.ค. 63 เป็นต้นมา โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 1.127 ล้านคน ผู้มีงานทำ 27.017 ล้านคน

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ      ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) TWSE (ไต้หวัน) PSEi  STI (สิงคโปร์)     (ฟิลิปินส์) JCI (อินโดนีเซีย) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ และทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นนับจากกลางสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 64 ปิดที่ระดับ

1,568.82 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่
15 - 18 มี.ค. 64 ที่ 83,574.26 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 มี.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ 8,284.25 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -6 bps และพันธบัตรอายุ 10 ปีขึ้นไปปรับตัวในช่วง -8 ถึง 16 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 16 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.73 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 15 - 18 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,837.18 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 18 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,969.04 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 18 มี.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 30.76 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.47 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน และยูโร ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.46 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ