รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 8 ต.ค. 64

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 11, 2021 14:48 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary

เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.68 ต่อปี ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.19 ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 8.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.4จากระดับ 39.6ในเดือนก่อนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -16.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 64ขาดดุล -680.0ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 4.3จากช่วงเดียวกันปีก่อนขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนระดับหนี้ครัวเรือนไทยล่าสุด ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 89.3 ต่อ GDP เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.68 ต่อปี กลับมาขยายอีกครั้งหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัวยกเว้นราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไข่ไก่ที่ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมากแต่แนวโน้มราคาเริ่มลดลงตามลำดับ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.19 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 จากสินค้าในหมวดโลหะเป็นสำคัญ ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียมและทองแดง โดยเฉพาะในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 37.0 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 4.1 จากราคาต้นทุนวัตถุดิบอย่างเหล็ก ทองแดง และอลูมิเนียม มีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยด้านฤดูกาลอย่างฝนตกรวมถึงน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของ การการก่อสร้างในขณะนี้ อย่างไรก็ดี การยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณปี 65คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการก่อสร้างให้ฟืนตัวได้มากขึ้นในช่วงไตรมาส 4ต่อไป

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.4จากระดับ 39.6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564       เป็นต้นมาเนื่องจาก ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัดที่ครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 80 ของ GDPไทย ส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีการจับจ่าย  ใช้สอยและท่องเที่ยวมากขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์น้ำท่วมและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเกิน        30 บาทต่อลิตร ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบันปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -16.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 การหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ยังคงได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของ  เชื้อไวรัส COVID-19ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระวังระมัดการใช้จ่ายในช่วงนี้ ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ของเกษตรกรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
เครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 64 ขาดดุล -680.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,305.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,431.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1,895.5ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -2,536.3ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64 เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 64มียอดมียอดคงค้าง 19.6ล้านล้านบาท คิดเป็น         คงค้าง 22.9ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวการขยายตัวร้อยละ 4.3จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.7จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.4ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 4.2จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ทรงตัวที่ร้อยละ 3.7 ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้ภาคการเงินระดับหนี้ครัวเรือนไทยล่าสุด ณ สิ้นสุดไตรมาส 2 ปี 2564มีสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDPหรือคิดเป็นประมาณ 14.27 ล้านล้านบาทโดยหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ระดับร้อยละ 90.6 ต่อ GDPโดยระดับหนี้ครัวเรือนขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ ขยายตัว ณ ไตรมาสที่ 2 (ร้อยละ 10.7 YoY)ในปี 2564อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในระยะต่อไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19ที่ยังคงมีอยู่เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ดัชนีฯ PMIนอกภาคอุตสาหกรรม (ISM)เดือน ก.ย. 64อยู่ที่ระดับ 61.9 จุดปรับตัวเพิ่มขึ้นขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.7จุด สะท้อนการขยายตัวที่ดีในภาคการบริการ ท่ามกลางความท้าทายในเรื่องของปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาอุปทาน และการขนส่งที่ชะงักตัวจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (26ก.ย. -2ต.ค. 64) กลับมาปรับตัวลดลงหลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 4สัปดาห์ มาอยู่ที่ 3.26แสนรายลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.64แสนราย และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.48แสนราย สะท้อนการฟืนตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ หลังพายุเฮอริเคนไอด้าได้พัดผ่านไป และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าเริ่มบรรเทาลงดัชนีฯ PMIนอกภาคอุตสาหกรรม (Caixin)เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.4จุดกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.7จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน  ดัชนีในเดือนนี้ได้รับแรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19ทางภาคตะวันออกของมณฑลเจียงซูคลี่คลายลงดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 56.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 59.0 จุดอย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50จุด สะท้อนให้เห็นถึงภาคบริการที่ยังคงขยายตัวยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน ก.ค. 64ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1และขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 47.8จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 42.9จุดเป็นผลจากการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ คำสั่งซื้อใหม่ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาด และราคาวัตถุดิบและราคาเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 45.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 42.9อย่างไรก็ตามระดับดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50จุด สะท้อนภาคบริการที่ยังคงหดตัวธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 จากการประชุมในเดือน ต.ค. 64 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้กล่าวว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยส่งเสริมการฟืนฟูเศรษฐกิจ
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.1จุดยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายสินค้าในหมวดยานยนต์เป็นสำคัญซดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 95.5 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่โอยู่ที่ระดับ 77.3 จุด เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เริ่มคลี่คลายลงอียอัตราว่างงาน เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่าอยู่ที่ร้อยละ 4.8ของกำลังแรงงานรวมมอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนสหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 523.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ฟลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 528.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตของสินค้าเภสัชกรรมเป็นสำคัญอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ไก.พ. 56เนื่องจากราคาในกลุ่มการขนส่งและการสื่อสาร เสื้อผ้า บ้าน สุขภาพ การศึกษาและความบันเทิง ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญตอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลงลงจากเดือนก่อนลหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางเกาหลีใต้ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากเราคาอาหารสด น้ำมัน ค่าเช่าบ้านและบริการอื่น ๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญจดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 55.0จุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟืนตัวที่แข็งแกร่งของภาคบริการในสหราชอาณาจักร เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei225(ญี่ปุ่น)HSI(ฮ่องกง) และ DJIA(สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 7ต.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1633.72 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4-7ต.ค. 64 อยู่ที่ 91,568.11ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-7ต.ค. 64 ต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,435.31ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง1ถึง 6bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4-7 ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,412.89ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 7ต.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 65,573.79ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7ต.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 33.80บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.30จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ริงกิตและดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลยูโร และวอน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ