รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 23 ก.ย. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 26, 2022 13:29 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 65หดตัวที่ร้อยละ -3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 23.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ         7,677.2 ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 65ขยายตัวร้อยละ 14.5ต่อปีภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 ต่อปีภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค. 65ขยายตัวที่ ร้อยละ 29.2ต่อปีเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนส.ค. 65หดตัวที่ร้อยละ -3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการปรับลดลงตัวร้อยละ -2.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ส.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 23.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. 65พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในหมวดพืชผลสำคัญหดตัวที่ร้อยละ -4.9 ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์หดตัวที่ร้อยละ -0.1 และหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -1.1  โดยผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ขณะที่ปาล์มน้ำมัน และกลุ่มผลไม้สดปรับตัวลดลงหากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน           ส.ค. 65 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัวที่ร้อยละ 19.3 32.2 และ 12.3 ตามลำดับ โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด หมวดปศุสัตว์ และประมง ขณะปาล์มน้ำมันราคาลดลง

รายได้เกษตรที่แท้จริง (หักผลของเงินเฟ้อ ชุดชนบท) ในเดือน ส.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากข้าวเปลือก หมวดปศุสัตว์ มันสำปะหลัง ข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นสำคัญเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค. 65 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่มีการยกเลิกระบบลงทะเบียนเข้าประเทศ หรือ ThailandPassในเดือน ก.ค. 65 ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ มีแนวโน้มทรงตัวเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเดือน ก.ค. 65 มีช่วงของวันหยุดยาวที่มากกว่า

ในเดือน ส.ค. 65นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย จำนวน 1.17 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม ลาว และเกาหลีใต้ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวสูงที่ร้อยละ 7,677.2ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19สายพันธุ์เดลต้า อย่างไรก็ดี เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าหดตัวที่ร้อยละ -67.7โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศทั้งของต่างประเทศและประเทศไทย โดยที่ ศบค. ได้มีมติจากการที่รัฐบาลได้มีการยกเลิกระบบลงทะเบียนเข้าประเทศ (Thailand Pass)ตั้งแต่วันที่ 1ก.ค. 65เป็นต้นมา

การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยใน ส.ค. 65มีจำนวน 16.7ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 1,770.5เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวที่ร้อยละ -13.0จากการที่เดือน ส.ค. 65มีช่วงวันหยุดยาวที่น้อยกว่าเดือน ก.ค. 65 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 65ได้ 214,021 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปี ทำให้ 11 เดือนแรกจัดเก็บได้สุทธิ 2,256,249 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ6.8ต่อปี

โดยรายได้ในเดือน ส.ค.65 ขยายตัวจาก ภาษิเงินได้นิติบุคคล ที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ต่อปี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ขยายตัวร้อยละ 18.0 ต่อปีและภาษิรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 67.5 ต่อปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ             10.1ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาก          การใช้จ่ายภายในประเทศ ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -8.9ต่อปี จากปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้า แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงแต่ต้นทุนของสินค้ายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟืนตัวมากขึ้นจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศได้อย่างสะดวกมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอลงไม่มากนัก ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 34.6ต่อปี ตามการฟืนตัวของเศรษฐกิจ และทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.2ต่อปี        และขยายตัวร้อยละ 10.9เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล การจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค.65 ขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยมาจากการฟืนตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้นและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกรรมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและสภาวะเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบเกือบปีครึ่ง โดยมียอดสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6 ล้านหลัง หลังจากดัชนีหดตัวในเดือน ก.ค. 65 ที่ร้อยละ -10.9 โดยเป็นผลจากยอดสร้างบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากราคาวัสดุและอัตราการจำนองที่เพิ่มสูงขึ้นยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ส.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -10.0 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.6 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบประมาณ 2 ปี โดยมียอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ลดลงมาอยู่ที่ 1.5ล้านหลัง ซึ่งเป็นผลจากยอดใบอนุญาตก่อสร้างทาวน์โฮมส์และคอนโดมิเนียมที่ปรับตัวลดลงยอดขายบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.7 และเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7โดยมียอดขายบ้านมือสองลดลงมาอยู่ที่ 4.8ล้านหลัง ซึ่งเป็นผลจากอัตรา          การจำนองที่เพิ่มสูงขึ้นราคากลางบ้านมือสอง เดือน ส.ค. 65 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -3.5 คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC)ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bspจากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 2.25-2.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.00-3.25 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นขนาดใหญ่ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 51และคาดว่า คณะกรรมการจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป เนื่องจากยังมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่รายสัปดาห์ (11-17 ก.ย. 65) อยู่ที่ 2.13 แสนราย เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.08 แสนราย ซึ่งยังสะท้อนถึงสภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานสหรัฐฯ ขณะที่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (fourweek movingaverage)ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.17แสนรายอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงสุดนับจาก ก.ย. 57 จากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและวัตถุดิบ ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง เป็นสำคัญธนาคารกลางญี่ปุ่น รอบประชุมเดือน ก.ย. 65 คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ -0.1 และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทบพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10ปี ไว้ที่ร้อยละ 0

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ ธนาคารกลางไต้หวันมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.125 สู่ระดับร้อยละ         1.25 ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 3ในปีนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.67 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.68ของกำลังแรงงานรวม
          ธนาคารกลางฮ่องกงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75สู่ร้อยละ 3.5ต่อปีอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่กอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนฮหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม นับเป็นอัตราการว่างงานต่ำสุดตั้งแต่เดือน          ม.ค. 65เนื่องจากตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการฟืนฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.8จุดดัชนีฯ PMIภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 50.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.2จุดธนาคารกลางอังกฤษมีมติขึ้นดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ไปอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ในการประชุมรอบเดือน ก.ย.65 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7 ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverserepurchaserate)ระยะเวลา 7วันในอัตราร้อยละ 0.50สู่ระดับร้อยละ 4.25 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2561 เพื่อสกัดเงินเฟ้อและสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินรูเปียห์

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

สธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.50 สู่ระดับร้อยละ 4.25 ในการประชุมวันที่ 22 ก.ย. 65 โดยเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 5 ในปี 65 เพื่อบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อ ท่ามกลางปัญหาค่าเงินเปโซทรุดตัว และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราฟดอกเบี้ยมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 48.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 38.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ส.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 67.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากยเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 41.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดุลการค้า เดือน ส.ค. 65 เกินดุลที่ 16.9 พันล้านริงกิตมาเลเซีย เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนมก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 15.6พันล้านริงกิตมาเลเซียอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16เดือนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนสหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.0จากช่วงเดียวกันปีก่อนเครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei(ญี่ปุ่น)HIS(ฮ่องกง) JCI(อินโดนีเซีย) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 22ก.ย. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,645.29จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 19-22ก.ย. 65 อยู่ที่ 65,701.36ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19-22 ก.ย. 65นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,173.5 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1เดือน ถึง 20ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 -19bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19-22ก.ย. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,678.11ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 22ก.ย. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -6,944.71ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 22ก.ย. 65เงินบาทปิดที่ 37.36บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.14 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต เปโซ ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ เงินสกุลวอน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ-0.38จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ