รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 17 ก.พ. 66

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 20, 2023 15:06 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4 ปี 2565 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี

? ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ม.ค. 66 ปรับตัว

เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 93.9 จากระดับ 92.6 ในเดือนก่อนหน้า

? ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ม.ค. 66 หดตัวที่

ร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจต่างประเทศ

? GDP สิงคโปร์ไตรมาส 4 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกัน

ปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี จากภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4ปี 2565หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.5ทาให้ทั้งปี 2565เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6ต่อปี

ในส่วนของภาคการผลิต การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -4.9เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.0ในไตรมาส ก่อนหน้าตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ -5.8 และการผลิตภาคเกษตร ในหมวดเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ -2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและปริมาณน้าที่เอื้ออานวย ผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสาคัญ อย่างไรก็ดี สาหรับสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 30.6 ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 53.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามฐานการขยายตัวที่สูงขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 0.239ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6

Thailand

s Real GDP (

ที่มา : สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

โดยองค์ประกอบสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 ปรับตัวดีขึ้นมาจาก (1) การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (2) การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.5 ปัจจัยสาคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และ (3) การลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาสร้อยละ 1.5ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ -6.8ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.3

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ม.ค. 66ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 93.9จากระดับ 92.6ในเดือนก่อนหน้า

ดัชนี TISITISIเดือน ม.ค. 6666ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงในเดือนก่อนหน้า โดยมีองค์ประกอบของดัชนี 4 ใน 5 ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ ยอดคาสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ตามการขยายตัวของการบริโภคและการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบกับมาตรการช้อปดีมีคืนที่ช่วยส่งเสริมการใช้จ่ายได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศที่อ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสาคัญทั้งสหรัฐและยุโรป การแข็งค่าของค่าเงินบาท และราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนนี้ และสาหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 101.1 เพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน จากแนวโน้มการขยายตัวของอุปสงค์และการท่องเที่ยวในประเทศ และการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีนหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญในมุมมองของผู้ประกอบการ

ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ม.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวขึ้นหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

Cement Sales

-5.6

0.5

-15.0

-10.0

-5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

20.0

Jul-19

Oct-19

Jan-20

Apr-20

Jul-20

Oct-20

Jan-21

Apr-21

Jul-21

Oct-21

Jan-22

Apr-22

Jul-22

Oct-22

Jan-23

%YoY %MoM_Sa

ในเดือน ม.ค. 66 ยอดจาหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาต้นทุนของวัตถุดิบที่

สูงเมื่อเทียบกับปีก่อนจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูง แต่ขณะเดียวกันปริมาณจาหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นจาก

เดือนก่อนหน้า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (5 -11 ก.พ. 66) อยู่ที่ 1.94 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 1.95 แสนราย ต่ากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 5.0 แสนราย สวนทางกับจานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving

average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1.895แสนราย

อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.5ต่อปี เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7ติดต่อกัน แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ร้อยละ 6.2ต่อปี

ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี เป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.1โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4ติดต่อกัน และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63

สหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น

มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่านาเข้า เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ม.ค. 66 ขาดดุล -3,496.6 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 66 หดตัวร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5ของกาลังแรงงานรวม

มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -7.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ม.ค. 66 เกินดุลที่ระดับ 3.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 3.96พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อินโดนีเซีย

สิงคโปร์

GDP

GDPไตรมาสที่ 4 ปี 65 (Final) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.3 และหากเทียบรายไตรมาสพบว่า GDPGDPไตรมาสที่ 4 ปี 65 ขยายตัวร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ GDPGDPสิงคโปร์ ทั้งปี 65ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.6ชะลอลงจากปี 64ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.9

อินเดีย

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 6.52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.72จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่าส่งออก เดือน ม.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -6.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่านาเข้า เดือน ม.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลการค้า เดือน ม.ค. 66 ขาดดุลที่ระดับ -17.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -23.76พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.1ของกาลังแรงงานรวม

เกาหลีใต้

อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5ของกาลังแรงงานรวม

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkeiNikkei(ญี่ปุ่น) STISTI(สิงคโปร์) และ Hang Seng ( ฮ่องกง)เป็นต้น เมื่อวันที่ 1616ก.พ. 666ดัชนีปิดที่ระดับ 1,658.291,658.29จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่13 1616ก.พ. 6666อยู่ที่ 75,362.3475,362.34ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 1616ก.พ. 6666นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,404.85 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน ถึง 2020ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 6 12 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 44ปี และ 5050ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.21.2และ 1.71.7เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 1616ก.พ. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ

13,446.1813,446.18ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1616ก.พ. 6666กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่งชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ

31,830.3131,830.31ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1616ก.พ. 666เงินบาทปิดที่ 34.2334.23บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 2.072.07จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต เปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อ่อนค่าลงร้อยละ 1.061.06จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ