รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 11 ส.ค. 66

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 16, 2023 13:48 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. 66 สูงขึ้นที่ร้อยละ 0.4ต่อปี และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.9ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ค. 66 หดตัวที่ร้อยละ -0.5ต่อปีปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ค.66 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.0ต่อปีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 66 คิดเป็นร้อยละ 61.2ของ GDP

ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มิ.ย. 66เกินดุลที่ 1,448.81ล้านดอลลาร์สหรัฐระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 66คิดเป็น 1.88เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงตามกฎหมาย

เศรษฐกิจต่างประเทศGDPอินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 2ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ5.17จากช่วงเดียวกันปีก่อนGDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4จากช่วงเดียวกันปีก่อนGDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5จากช่วงเดียวกันปีก่อนเครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. 66สูงขึ้นที่ร้อยละ 0.4ต่อปีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.4 (YoY) ต่ำกว่าที่ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. ที่ร้อยละ 0.5 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. 66 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.2 โดยมีปัจจัยหลัก จากราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ 1.4จากราคาไข่ไก่ ผักสด และผลไม้สด เป็นสำคัญ ส่งผลให้หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ในขณะที่ราคา น้ำมันเชื้อเพลิงลดลงในอัตราที่ชะลอตัว ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.4และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ร้อยละ -0.01 (MoM)จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ เนื้อสุกร กุ้งขาว และผักสด เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และน้ำพืช เนื่องจากต้นทุน วัตถุดิบลดลง ทั้งนี้ เมื่อดูองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลง (ContributionYoY) ของหมวดสินค้าหลักที่ส่งกระทบต่อเงินเฟ้อ 3อันดับแรก ได้แก่ 1) หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ทำให้เงินเฟ้อลดลงถึงร้อยละ -0.72) หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา 3) หมวดอาหารสำเร็จรูป และ 4) หมวดอาหารสด ที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.4 0.3 0.3 ตามลำดับ และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.9 (YoY)เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.04 (MoM)

Inflation Rate

Indicators 2022 2023 Headline Inflation Core Inflation

(%yoy)ทั้งปีQ1 Q2 Jun July YTD 9.0

7.77.6 8.0

อัตราเงินเฟ้อ6.4 7.0 6.0 5.9 6.1 3.9 1.1 0.2 0.4 2.2 5.5 6.0 5.0 ทั่วไป5.0

3.8 4.0 3.03.13.13.23.23.23.0 2.82.7 2.5 3.0 2.5 2.2 1.5 1.3 0.9 1.7 1.91.71.71.51.3 2.0 0.9 0.50.20.4 1.0 0.0 . ..ย. 6 5. 6 55. 6 5. 6 . 6 5. 6 55. 6 . 6 66. 6 . 6 6เม6. 6 . 6 6. 6 .ย.ค.ค.ย.ค.ย.ค.ค.พี.ค.คิ.ย.คมกสกตพธมกมพมกดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ค.66 หดตัวที่ร้อยละ -0.5เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.ค. 66 หดตัวเมื่อเทียบปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นการหดตัวลงเป็นเดือนที่ 4โดยเป็นผลมาจากดัชนีราคาหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปรับตัวลดลงร้อยละ -4.1ตามราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลง จากปริมาณเหล็กที่อยู่ในตลาดที่สูง ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ สูงขึ้นได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดวัสดุฉาบ และหมวดสุขภัณฑ์ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6ร้อยละ 4.4และร้อยละ 1.6ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐและการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ค. 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.0เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแนวโน้มการฟืนตัว โดยภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปปรับตัวลดลงจากหมวดอาหารเป็นสำคัญ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน อย่างไรก็ดี ปัญหาด้านการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและการหดตัวของภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการบริโภคของภาคประชาชน

Indicators 2023 2022 (%yoy)Q1 Q2 Jun July YTD ปริมาณ

12.0 13.5 6.6 3.2 13.0 10.4 รถจักรยานยนต์%MoM_sa,

-4.6 -0.8 -6.8 6.6 -%QoQ_sa

ที่มา :กรมการขนส่งทางบกหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 66 มีจำนวนทั้งสิ้น 10.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 61.2ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 35,745.32ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 88.86ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.42ของยอดหนี้สาธารณะเครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มิ.ย. 66เกินดุลที่ 1,448.81ล้านดอลลาร์สหรัฐหลังขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่ -2,766.07ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเดือน มิ.ย. 66ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่-568.8ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่2,017.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 66เกินดุลรวม 1,570.4ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มิ.ย. 66มียอดคงค้าง 20.39ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.1จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจหดตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ -0.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มิ.ย. 66มียอดคงค้าง 24.56ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -0.5จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเครื่องชี้ภาคการเงิน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย.66คิดเป็น 1.88เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงตามกฎหมายโดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน มิ.ย. 66อยู่ที่ 5.34ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน มิ.ย. 66หดตัวที่ร้อยละ -8.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.1โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 63 มูลค่าการนำเข้าสินค้า เดือน มิ.ย. 66หดตัวที่ร้อยละ -9.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -7.5โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3เดือนาดุลการค้า เดือน มิ.ย. 66 ขาดดุลที่ -90.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนรหน้าที่ -96.6พันล้านดอลลาร์สหรัฐฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0 แต่ต่ำกว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 3.3 โดยเป็นการกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากลดลงสต่อเนื่องติดต่อกัน 12เดือน ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 64 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (30ก.ค. -5ส.ค. 66) อยู่ที่ 2.48 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.27 แสนราย และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.30 แสนราย สอดคล้องกับ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (fourweek moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.31แสนรายการส่งออก เดือน ก.ค. 66 หดตัวร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือน มิ.ย. 66 ที่หดตัวร้อยละ -23.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -20.1อันเนื่องจากการหดตัวของการส่งออกไปยังจีนและฮ่องกง กลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น และอเมริกาการนำเข้า เดือน ก.ค. 66 หดตัวร้อยละ -20.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือน มิ.ย. 66 ที่หดตัวร้อยละ -29.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ นว9 ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ -25อันเนื่องจากการหดตัวของการนำเข้าไสินค้าจากจีนและฮ่องกง กลุ่มประเทศอาเซียน ญี่ปุ่น อเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันออกกลางดุลการค้า เดือน ก.ค. 66 เกินดุลที่ 8.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. 66 ที่ 5.95พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 5.64พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 1.88 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.75จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าคาดการณ์ตลาดที่ร้อยละ 1.90 ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.00เล็กน้อยเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน ก.ค. 66 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ร้อยละ -14.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -12.4 หดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -12.5 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 3ปี นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63ที่จีนมีการปิดประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวมูลค่าการนำเข้าสินค้า เดือน ก.ค. 66หดตัวที่ร้อยละ -12.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.8มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -5.0 เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5ติดต่อกัน ส่งผลให้เป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6เดือน จจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ยังอ่อนแอดุลการค้า เดือน ก.ค. 66 เกินดุลที่ 80.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 70.6พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการเกินดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2ติดต่อกันอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ทีร้อยละ -0.4 ต่อปี และเป็นการกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบประมาณ 2ปีครึ่ง นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 64ที่จีนเกิดภาวะเงินฝืดในช่วงสั้น ๆ (ช่วงสิ้นปี 63 จนถึงต้นปี 64)ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 66 หดตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากขยายตัวร้อยละ 4.8ในเดือนก่อนหน้า และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ร้อยละ 1.0 ยยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 66 ขยายตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนาหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน มอัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5ของกำลังแรงงานรวมGDPไตรมาสที่ 2 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.17 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.03 หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 3.86เมื่อเทียบกับไตรมาสยก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจอินโดนีเซียในเไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ได้แรงหนุนจากการบริโภคในช่วงการเฉลิมฉลองวัน Eidel-Fitri โเป็นสำคัญอยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 66 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนมา จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.5 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

GDPไตรมาสที่ 2 ปี 66 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.1เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้ามูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 66 หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน สมูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 66 หดตัวร้อยละ -15.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน ถือเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นฟเดือนที่ 5 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.4ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง และต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 65 อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3ของกำลังแรงงานรวมอัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาลแล้ว) เดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6และเป็นระดับสูงสุดนับจาก ม.ค. 66 เยอดสั่งซื้อเครื่องจักร เดือน ก.ค. 66 หดตัวร้อยละ -19.8 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวที่ปญลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวร้อยละ -22.2ต่อปี

ธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 6.5ต่อปีอGDPไตรมาส 2 ปี 66 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 0.3เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากการขยายตัวของภาคบริการ เป็นสำคัญ สเครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei225(ญี่ปุ่น) TWSE(ไต้หวัน)และ HangSeng(ฮ่องกง) เป็นต้น เมื่อวันที่ 10ส.ค. 66ดัชนีปิดที่ระดับ 1,533.41จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 7-10ส.ค. 66อยู่ที่48,854.07ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 7-10ส.ค. 66 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 233.94 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1เดือน ถึง 1ปี และ 19-20ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2-5bpsขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3ถึง 17ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง -1ถึง -3bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่7-10ส.ค. 66กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -15,025.0ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่10ส.ค.66กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -99,005.31ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่10ส.ค. 66 เงินบาทปิดที่ 35.11บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.59 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ริงกิตเปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโร ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ร้อยละ -1.31

ที่มา: กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ