ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2567

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 1, 2024 13:09 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่ 22/2567 วันที่ 28 มีนาคม 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค1
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจำเดือนมีนาคม 2567
"ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2567
สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและภัยแล้ง"
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2567 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจ ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า ?ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน มีนาคม 2567 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางส่วน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและภัยแล้ง" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 83.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาคบริการ จากมาตรการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะช่วยให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผ่านช่วงมรสุมไปแล้ว และความเชื่อมั่นในภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)2 พบว่ายังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ระดับ 85.9 ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 75.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ จากการบริโภคภาคเอกชนและการบริการการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ และภาคเกษตรกรรมที่จะเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกในระยะถัดไป รวมถึงประเมินว่าราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดยังอยู่ในเกณฑ์ดีและอุปสงค์สินค้าเกษตรมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 74.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่า ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะสนับสนุนให้การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และภาคบริการที่ได้รับปัจจัยบวกจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 73.8 สะท้อน
1 หมายเหตุ
. ขอขอบคุณกรมบัญชีกลาง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (RSI)
. การอ่านค่าดัชนี RSI (ช่วง 0-100)
ดัชนี > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ชะลอกว่าปัจจุบัน?
ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ ?ทรงตัว?
2 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
- 2 -
ความเชื่อมั่นในภาคบริการ ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอันเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการยกเลิกการตรวจลงตราเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน หรือ Visa-Free ซึ่งจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวจีน อินเดีย และรัสเซียเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายช่วง และภาคการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 72.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ ที่คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา และมีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัว สะท้อนจากข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม จำนวนทุน จดทะเบียนของอุตสาหกรรม และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ประกอบการบางส่วนยังมี ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้ง แต่คาดว่าฤดูฝนจะมาเร็วและสถานการณ์ภัยแล้งอาจไม่รุนแรงเหมือนที่ เคยประเมินไว้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการที่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐทั้งมาตรการลดภาระค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นการใจ้จ่าย และภาคการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยและความต้องการสินค้าไทยจากต่างประเทศที่มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อนอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคปศุสัตว์ได้ และสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 68.9 สะท้อนความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากความเชื่อมั่นในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม จากมุมมองเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม และการดำเนินมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ จากรัฐบาล โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดี
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมีนาคม 2567
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
68.9
83.6
75.2
73.8
71.3
72.5
74.8
85.9
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร
57.0
80.8
75.6
71.9
68.2
65.4
65.8
82.6
2) ภาคอุตสาหกรรม
72.3
83.6
70.4
68.6
71.7
74.7
83.3
86.0
3) ภาคบริการ
76.0
88.5
82.0
82.4
74.0
78.7
79.0
90.3
4) ภาคการจ้างงาน
68.1
80.9
73.3
70.2
70.7
71.0
69.9
84.5
5) ภาคการลงทุน
71.0
84.0
74.9
76.1
72.0
72.7
75.9
86.3
กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254


          ที่มา: กระทรวงการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ