รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 27-31 ตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 3, 2008 12:47 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนก.ย.51 ขาดดุล -0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากดุลบริการขาดขาดดุล -0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการหดตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กังวลเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองโดยหดตัวลงที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี ขณะที่ดุลการค้าเกินดุลที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 51 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการหดตัวลงของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมที่หดตัวร้อยละ -21.4 ต่อปี เนื่องจากมีการปิดซ่อมโรงกลั่นเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับที่หดตัวลงร้อยละ -21.4 ต่อปี โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้เนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น และการหดตัวลงของอุตสาหกรรมเครื่องหนังที่หดตัวลงร้อยละ -21.5 ต่อปี อันเนื่องมาจากโรงงานรับจ้างผลิตกระเป๋าเดินทางรายใหฐ่ในไทยหยุดการดำเนินงานลง เนื่องจากบริษัทแม่ในสหรัฐฯ ตัดสินใจว่าจะผลิตเอง และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หดตัวลงร้อยละ -2.5 ต่อปีเนื่องจากตลาดภายในประเทศชะลอตัว

ยอดขายปูนซีเมนต์เดือน ก.ย. 51 หดตัวที่ร้อยละ-17.3 ต่อปี หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.1 ต่อปี และหดตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -16.0 ต่อปี เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคการก่อสร้าง ทั้งของภาคเอกชนและโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์ภายในประเทศอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตเพิ่มการส่งออกปูนซีเมนต์เพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์ภายในประเทศน่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปีหน้าเนื่องจากแผนการลงทุนก่อสร้างของภาครัฐที่จะเริ่มในปี 52 นี้

Economic Indicators: Next Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 51 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี เนื่องจาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็วจาก โดยราคาดูไบลดลงจาก 96.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในเดือนก.ย. มาเหลือเพียง 68.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในเดือน ต.ค. ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือน ต.ค. 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 18.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี เนื่องจากผลของมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน ทำให้ระดับราคาสินค้าเริ่มปรับตัวลดลงพร้อมกันนั้นได้ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะเผชิญปัจจัยเสี่ยงความไม่เชื่อมั่นจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ต.ค. 51 คาดว่าขยายตัวที่ร้อยละ 17.0 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปีในเดือนก่อนหน้าส่วนหนึ่งเนื่องจากสภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัวขึ้น เนื่องจาก ธ.พาณิชย์เริ่มเข้มงวดในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อลูกค้าในกลุ่มที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม ผลจากมาตรการลดหย่อนภาษีธุรกิจเฉพาะและมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการเร่งทำการโอนส่งผลให้อัตราภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวได้ดี

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือน ต.ค. 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 20.0 ต่อปีใกล้เคียงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ต่อปี สาเหตุที่คาดว่าปริมาณจำหน่ายรถยนตน์ งขยายตัวต่อเนื่อง สว่ นหนึ่งเป็นผลจากปจั จัยฐานที่ต่ำช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับช่วงต้นเดือน ก.ย. ค่ายรถยนต์บางค่ายเปิดตัวรถยนต์ขนาดเล็กที่สามารถใช้กับน้ำมันพลังงานทางเลือกให้สอดคล้องกับกำลังซื้อผู้บริโภคได้มากขึ้น และราคาน้ำมันที่มีทิศทางปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้ สศค. คาดว่า น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่สนับสนุนให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ยังคงขยายตัวได้

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ เดือน ต.ค. 51 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -27.0 ต่อปี หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -22.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานสูงช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่องก็ตาม อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงที่เหลือของปียังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ทำให้ผู้ประกอบการอาจตัดสินใจชะลอการซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ออกไป

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ต.ค. คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 68.9 ปรับตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 69.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคจาก 1) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเมือง และการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 7 ต.ค. 2) ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการส่งออกและภาคอุตสาหกรรมของไทย จนอาจลดกำลังการผลิตและ/หรือการจ้างงาน ที่นำไปสู่ปัญหาการว่างงานได้ และ 3) ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนกระทบต่อรายได้เกษตรกรในอนาคตให้ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อเนื่องมีส่วนช่วยบรรเทาเงินเฟ้อและค่าครองชีพลดลง

Foreign Exchange Review

ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นในเกือบทุกสกุล ยกเว้นค่าเงินเยนและรูเปียห์อินโดนิเซียที่อ่อนค่าลง

ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 50 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 1.00 ตามที่ตลาดคาดเพื่อผลทางจิตวิทยาต่อนักลงทุน รวมทั้งให้วงเงินกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (Swap lines) กับธนาคารกลาง 5 แห่ง (บราซิล เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเม็กซิโก) วงเงินแห่งละ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่เคยให้กับธนาคารกลางนิวซิแลนด์จำนวน 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนอกจากนั้นตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐที่หดตัวร้อยละ -0.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน (Q-o-Q Annualized) หรือขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี นั้นดีเกินกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะหดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทำให้ตลาดเริ่มคลายวิตกกังวลและเริ่มถอนการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐและหันไปลงทุนในตลาดอื่น ๆ มากขึ้น ค่าเงินสกุลอื่น ๆ เมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะค่าเงินวอนที่ปรับตัวดีขึ้นมากหลังจากที่ Fed ให้เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐกับธนาคารกลางเกาหลีใต้

ขณะเดียวกัน ทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ตกต่ำต่อเนื่องทำให้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับลดดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0.5 ในช่วงก่อนหน้าทำให้นักลงทุนที่เคยวิตกกังวลในเศรษฐกิจโลกเริ่มหันมากู้เยนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลอื่นอีกครั้ง (Yen Carry Trade) ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ด้านค่าเงินรูเปียห์อินโดนิเซียอ่อนค่าลงมากในรอบ 7 ปี เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าวิกฤตการณ์การเงินโลกจะกระทบเศรษฐกิจอินโดนิเซียรุนแรง จึงเทขายหุ้นและพันธบัตรอย่างหนัก ทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายพยุงตลาดและเข้าแทรกแซงค่าเงิน

ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าหลักส่วนใหญ่อ่อนค่าลงยกเว้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและรูเปียห์อินโดนิเซียที่บาทแข็งค่าขึ้น

สาเหตุที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักอ่อนค่าลงเนื่องจากค่าเงินสกุลหลักทั้งในยุโรปและเอเชียแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากที่ Fed ลดดอกเบี้ยและอัดฉีดเงินสกุลดอลลาร์ไปทั่วโลกผ่าน Swap Agreement อย่างไรก็ตามการที่นักลงทุนต่างชาติยังคงถอนการลงทุนจากตลาดทุนไทยต่อเนื่องจึงทำให้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยแต่อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินวอนเกาหลี อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินเยนและรูเปียห์อินโดนิเซียอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลดังกล่าว

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 11 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 31 ต.ค. 51 แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49 ร้อยละ 4.13 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 4.94

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวอนเกาหลี (ร้อยละ 45.5) รูเปียห์อินโดนิเซีย (ร้อยละ 27.0) ปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ 23.0) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 9.7) ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 8.7) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 8.4) ยูโร (ร้อยละ 6.9) ริงกิตมาเลเซีย(ร้อยละ 5.1) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 3.3) และดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 1.1) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ เงินเยน (ร้อยละ 8.3) และหยวน (ร้อยละ 6.8)

Foreign Exchange and Reserves

ณ วันที่ 24 ต.ค.51 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve) ลดลงสุทธิ -1.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 111.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการลดลงของ Gross Reserve จำนวน -0.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการลดลงของ Forward Obligation จำนวน -1.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศรวมลดลงคาดว่ามาจากการที่แคนาคาแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าบริหารค่าเงินบาทเพื่อให้มีเสถียรภาพในสภาวะที่นักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจากประเทศโดยเฉพาะจาก การเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจสถานการณ์การเงินจากวิกฤตการณ์การเงินโลก อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าลงของค่าเงินบาทในสัปดาห์ดังกล่าวนี้ สะท้อนว่า การเข้าแทรกแซงของทางการมีน้อยกว่าความต้องการขายเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 17 ต.ค.51) ร้อยละ 1.25 จาก 34.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเป็น 34.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 24 ต.ค. 51

Major Trading Partners’ Economies: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ เดือน ต.ค. 51 ตกลงสู่จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์ที่ 38.0 ปรับลดลงอย่างรุนแรงจากเดือนก่อนหน้าที่ 59.8 ชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐที่ค่อนข้างชัดเจน สาเหตุหนึ่งคือการปลดคนงานออกจำนวนมากของบริษัทชั้นนำทั้งในภาคการเงินและภาคการผลิต อีกทั้งตลาดเงินและตลาดทุนของสหรัฐที่ยังคงผันผวน โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงทำให้ผู้บริโภคลดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างมาก

ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ (New Home Sales) ในเดือน ก.ย. 51 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี จากที่เคยหดตัวถึงร้อยละ -12.6 ในเดือนก่อนหน้า ผลจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และผลทางฤดูกาลของช่วงการย้ายบ้านและซื้อบ้านใหม่ โดยสัญญาซื้อขายบ้านที่ส่งผลถึงยอดขายบ้านใหม่นี้ส่วนใหญ่มีการตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนหน้าวิกฤตการเงินจะทวีความรุนแรง อย่างไรก็ตามแนวโน้มการซื้อขายบ้านยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยสมาคมผู้ก่อสร้างบ้านได้รวมตัวกันเพื่อขอความช่วยเหลือจากรัฐเพื่อป้องกันการล้มละลาย

สหรัฐประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 51 (Advanced Estimate) หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ -0.3 (qoq) ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 7 ปีในขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 50 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี ผลจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนในที่อยู่อาศัย และการผลิตเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ลดลง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ของGDP หดตัวลงถึงร้อยละ -3.1 (qoq) อันเป็นการหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 17 ปี อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐยังได้รับอานิสงส์จากการเร่งเบิกจ่ายของรัฐบาลกลาง โดยเฉพาะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 3 ทำให้เศรษฐกิจยังไม่หดตัวลงมากนักดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนในเดือน ต.ค. 51 อยู่ที่ 80.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 87.5 และถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่อาจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤติทางการเงินของกลุ่มประเทศยูโรโซน

ตัวเลขการใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นเดือนก.ย. 51 หดตัวลงต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ -2.3 ในขณะที่ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 51 ของญี่ปุ่น ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ14 เดือน โดยหดตัวที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี จากที่เคยขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 ต่อปีในเดือน ส.ค. 51 สะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 มีการชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี ซึ่งจะทำให้ GDP ญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ยิ่งชะลอตัวมากขึ้นในภาวะที่การส่งออกชะลอลงมาก

GDP เกาหลีใต้ไตรมาสที่ 3 ปี 51 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ4.8 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 เป็นผลจากการชะลอตัวลงของการบริโภคโดยรวมที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ถึงแม้ภาครัฐจะมีการเร่งใช้จ่ายเพื่อชดเชยการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงในขณะที่การลงทุนรวมมีการขยายตัวเร่งขึ้นเนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรขยายตัวสูงขึ้น ภาคการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนถึงเกือบครึ่งของ GDP มีการขยายตัวชะลอลง โดย ขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ

ดุลการค้าฮ่องกงเดือน ก.ย. 51 ขาดดุลที่ -16.0 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ -2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก -12.9 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงในเดือนส.ค. 51 โดยมีการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นกว่าการส่งออก โดยการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ในขณะที่การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 ต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นผลจากการส่งออกไปยังสหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ขยายตัวเร่งขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยการส่งออกไปยังจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 1 ของฮ่องกงที่ปรับตัวลดลงร้อยละ -1.2 ต่อปี รวมถึงการส่งออกไปยังเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่ลดลงคิดเป็นร้อยละ -15.4 และร้อยละ -0.3 ตามลำดับ

การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนี้ในวันที่ 27 ต.ค. 51 ธนาคารกลางเกาหลีลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.75 จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี และในวันที่ 29 ต.ค. 51 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ 1 ปี ลงร้อยละ 0.27 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.60 และ ร้อยละ 6.66 ต่อปี ธนาคารกลางนอร์เวย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ และธนาคารกลางสหรัฐ มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 ต่อปี จากร้อยละ 1.5 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 51 ธนาคารกลางไต้หวันปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 3.25 มาเป็นร้อยละ 3.00 ต่อปี และทางการฮ่องกงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่สามในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ1.5 ต่อปี และล่าสุดในวันที่ 31 ต.ค. 51 ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.5 ต่อปี เหลือร้อยละ 0.3 ต่อปี

Major Trading Partners’ Economies: Next Week

ดุลการค้ามาเลเซียเดือน ก.ย.51 คาดว่าจะเกินดุลที่ระดับ 11 พันล้านริงกิตชะลอตัวลงจาก 12.6 พันล้านริงกิตในเดือนส.ค. 51 สาเหตุจากการส่งออกในเดือนก.ย.ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ผลจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 11.7 หดตัวตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะยังคงขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ