ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 19, 2008 15:15 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ ( ตุลาคม 2551 )

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนสิงหาคมกระเตื้องขึ้นที่ระดับ 112.8 จุด

ดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนสิงหาคมของกลุ่ม EU15 กระเตื้องขึ้นสู่ระดับ 112.8 จุด เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.1 จากเดือนที่แลล้ว แต่ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่ดัชนีเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่ลดลงมากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังจากที่ดัชนีลงไปต่ำสุดที่ระดับ 111.6 จุดในเดือนที่แล้ว โดยในเดือนนี้ดัชนีการผลิตสินค้าบริโภคชนิดคงทน สินค้าบริโภคชนิดไม่คงทน และสินค้าขั้นกลางยังคงชะลอตัวลงอีกร้อยละ 6.2 2.9 และ 0.2 ขณะที่การผลิตสินค้าทุน และสินค้าหมวดพลังงาน ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.8 เท่ากัน

ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU15 ในเดือนกันยายนยังคงลดลงต่อเนื่องต่อไปโดยลดลงต่ำกว่าระดับ 90 จุดเป็นเดือนที่สี่ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของพื้นที่ยูโรที่ยังคงย่ำแย่เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตการเงินที่มีต่อภาคเศรษฐกิจของยุโรป โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Ecoonomic Sentiment Indexx: ESI) ประจำเดือนกันยายนลดลงสู่ระดับ 87.5 จุด ลดลง 1.0 จุด และนับเป็นเดือนที่แปดติดต่อกันที่ดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 จุด หลังจากที่ดัชนีขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 111.6 จุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนกันยายนสิงหาคมเริ่มชะลอลงเป็นเดือนที่สองเหลือร้อยละ 3.6

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 15 ประเทศ) ประจำเดือนกันยายนชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วเหลือร้อยละ 3.6 หลังจากชะลอลงเหลือร้อยละ 3.8 ในเดือนสิงหาคม แม้จะชะลอลงแต่ก็ยังถือเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 เป็นเดือนที่สิบสามติดต่อกัน โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาจากหมวดที่อยู่อาศัย (6.2%) หมวดคมนาคม (5.8%) และหมวดดอาหาร (5.7%) ขณะที่หมวดที่มีระดับราคาเพิ่มขึ้นต่ำเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดสื่อสาร (-0.2%) และเครื่องนุ่งห่ม (-0.15%) โดยในเดือนนี้ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ Slovenia Belgium Cyprus Malta และ Luxembourg ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5.6 5.5 5.0 4.9 และ 4.8 ตามลำดับขณะที่ประเทศ Netherlands German Ireland และPortugal มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดร้อยละ 2.8 3.0 3.2 และ 3.2 ตามลำดับ

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยูโร 27 ประเทศ (EU 27) ก็ชะลอลงเหลือร้อยละ 4.2 ลดลงจากร้อยละ 4.3 เมื่อเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่ม ยูโร ได้แก่ Latvia Bulgaria และ Lithuania ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 14.7 11.4 และ 11.3 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนกันยายนทรงตัวที่ระดับร้อยละ 7.5 เป็นเดือนที่สอง

ในเดือนกันยายยน Euro area 15 ประเทศมียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 11.691 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 52,000 คนจากเดือนที่แล้ว) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.5 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ถือเป็นเดือนที่สองที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดร้อยละ7.2 เมื่อเดือนมีนาคม ก่อนที่จะทยอยเพิ่มขึ้นโดยลำดับอย่างต่อเน่นื่อง ซึ่งการที่จำนวนและอัตราการผู้ว่างงานเริ่มปรับสูงขึ้นโดยลำดับสะท้อนถึงผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกที่กำลังส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและการจ้างงานของยุโรป กล่าวคือเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วปรากฎว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 507,000 คน ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศ ณ เดือนกันยายน มีจำนวนทั้งสิ้น 16.710 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 7.0 เพิ่มจากที่เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.9 ในช่วงสี่เดือนก่อนหน้า

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ย : ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.75

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติลดอัตราดอกเบี้ย Refiinancing Opperations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขออง ECB ลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.75 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนนโยบายอย่างกระทันหันหลังจากที่เพิ่งประชุมไปเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม (หกวันก่อนหน้า) และมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.25 การเรียกประชุมผ่าน teleconference เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกันระหว่างธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว

เพื่อที่จะบรรเทาปัญหาวิกฤตระบบการเงินโลกทั้งนี้ ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกในหลายประเทศเริ่มลดลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง ประกอบกับวิกฤตการเงินที่กำลังรุนแรงขึ้นได้ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งมีส่วนในการช่วยลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลง ซึ่งภายใต้ภาวะการขณะนี้การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจึงเป็นสิ่งจำเป็น ECB จึงตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงดังกล่าว โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายนน

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดืออนกันยายน สภาพคล่องในระบบเศรษษฐกิจของ Euro Area ยังคงมีอัตราการเพิ่มมที่ชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 อยู่ที่ระดับ 9.188 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้น 59.0 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว และคิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 8.5 จากปีที่แล้ว(ชะลอลงจากเดือนสิงหาคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI)ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 10.820 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.088 ล้านล้านยูโร โดยคิดเป็นอัตราการเพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 8.5 (ลดลงจากเดือนสิงหาคมที่ขยายตัวร้อยละ 8.8)

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Money market interest rates) ในเดือนตุลาคมโดยรวมแล้วลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามีเพียงอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 3 เดือนที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 9 และ 17 basis points ขณะที่อัตราดอกเบี้ยประเภทข้ามคืนลดลงถึง 45 basis pooints อย่างไรก็ดี โดยรวมแล้วโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 เดือนถึง 1 ปียังอยู่ในระดับที่สูงกว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา

อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรอ่อนค่าลงกับทุกสกุลต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนตุลาคมอ่อนค่าลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยปัจจัยหลักยังคงมาจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหภาพพยุโรปและอังกฤษที่ยังเปราะบางและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยประกอบกับวิกฤตการเงินที่แพร่กระจายไปทั่วโลกทำให้นักลงทุนทยอยถอนการลงทุนในตลาดต่าง ๆ และหันมาลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ แทนในฐานะที่เป็นแหล่งหลบภัยของการลงทุน (safe haven) จึงส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนประกอบกับแนวโโน้มอัตราดออกเบี้ยของยุโรปที่ยังมีโอกาสที่จะลดลงได้มากกว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างต่ำในขณะนี้ โดยเงินดอลลาร์ สรอ. มีระดับปิดตลาดวันแรกของเดืออนที่ระดับ 1.4081 $/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็อ่อนค่าลงโดยลำดับเกือบตลอดทั้งเดือนโดยลงมามีอัตราปิดตลาดที่ต่ำที่สุดของเดือนที่ระดับ 1.2460 $/ยูโร ก่อนที่เงินยูโรจะเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในช่วงสุดท้ายของเดือนเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 1.0 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2008 โดยเงินยูโรปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.2757 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยของเดือนก่อนหน้าอีกร้อยละ 7.3 หลังจากที่อ่อนค่าลงร้อยละ 5.0 และ 4.0 ในสิงหาคมและกันยายน ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันปีที่แล้วเงินยูโรอ่อนค่าลงอยู่ร้อยละ 6.4

เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในเดือนนี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนแต่เป็นไปในทิศทางที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับปอนด์เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 0.7919 ปอนด์/ยูโร แล้วอ่อนตัวลงแตะระดับ 0.7728 ปอนด์/ยูโร ก่อนที่เงินยูโรจะกลับแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7980 ปอนด์/ยูโร หลังจากนั้นค่าเงินก็เคลื่อนไหวผันผวนสลับขึ้นลงตลอดเดือนผันแปรไปตามผลการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ทยอยออกมา โดยเงินยูโรลงมาอ่อนสุดของเดือนที่ระดับ 0.77165 ปอนด์/ยูโร และมีระดับสูงสุดของเดือนที่รระดับ 0.8063 ปอนด์/ยูโร ในช่วงท้ายของเดือน ก่อนที่จะอ่อนตัวลงปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.7869 ปอนด์/ยูโร อย่างไรก็ดี แม้จะเคลื่อนไหวผันผวนแต่โดยรวมแล้วเงินยูโรอ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 1.6 แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนเดียวกันเมื่อปีที่แล้วเงินยูโรยังแข็งค่าอยู่ร้อยละ 13.0

แต่เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเงินยูโรในเดือนนี้ยิ่งอ่อนค่าลงแรงมากกว่าเดือนที่แล้ว โดยเงินยูโรมีระดับปิดดวันแรกของงเดือนที่ระดับบ 149.55 เยน/ยูโร จากนั้นก็อ่ออนค่าต่อเนื่องจนถึช่วงสัปปดาห์สุดท้ายของเดือนโดยมีระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 115.75 เยน/ยูโร นับเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ก่อนที่เงินยูโรจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 124.97 เยน/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 12.8 และหากเปรียบเทียบกับปีที่แล้วเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนร้อยละ 19.1

เดือนนี้นับเป็นเดือนที่สามที่เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทและอ่อนค่าลงค่อนนข้างแรง โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 47.854 ฿/ยูโร จากนั้นก็ยังอ่อนค่าลงต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งเดือนโดยมีระดับปิดต่ำสุดของเดือนที่ระดับ 43.33 ฿/ยูโร ก่อนที่จะขึ้นมาปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 44.726 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนนี้อ่อนค่าลงอีกถึงงร้อยละ 6.9 นับเป็นเดือนที่สามที่ยูโรอ่อนค่ากับเงินบาท และในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทร้อยละ 6.4

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชชำระเงิน

เดือนสิงหาคม: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 8.4 พันล้านยูโร

ณ สิ้นเดือนสิงหาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินนสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลจำนวน 8.4 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล 7.9 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกกาล) โดย Euro area มีการขาดดุลการค้า (goods trade) 4.1 พันล้านยูโร แต่เกินดุลบริการ (services) 4.2 พันล้านยูโร ขณะที่ดุลรายได้ (incoome) และดุลเงินโอน (current transfer) ขาดดุล 1.6 และ 7.0 พันล้านยูโร ตามลลำดับ นับเป็นนเดือนที่สามมติดต่อกันที่ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

หากพิจารณาฐฐานะดุลบัญชชีเดินสะพัดสะสมในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม พบว่า Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเป็นจำนวนถึง 24.4 พันล้านยูโร ต่างจากเดือนสิงหาคมของปีที่แล้วที่มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมเกินดุลเป็นจำนวนถึง 31.6 พันล้านยูโร การที่ฐานนะดุลบัญชีเดินสะพัดสะสมกลับมาขาดดุลในปีนี้เป็นผลมาจากการเกินดุลการค้าที่ลดลงค่อนข้างมาก ขณะที่ดุลรายได้และดุลเงินโอนก็มีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่การเกินดุลบริการสะสมมากกลับอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว

ทางด้านดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนสิงหาคม พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลออกสุทธิสูงถึง 21.1 พันล้านยูโร (เทียบกับเดือนที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนไหลออกเพียง 5.7 พันล้านยูโร) แยกเป็น 1) เงินลงทุนทางตรง (direct investment) มียอดไหลออกสุทธิ 11.6 พันล้านยูโร 2) เงินลงทุนในหลักทรัพย์(portfolio inveestment) มียอดไหลออกสสุทธิ 13.9 พันันล้านยูโร 3) อนุพพันธ์ทางการแงิน มีฐานะไหหลออกสุทธิ 5.8 พันล้านยูโร และ 4) เงินลงงทุนประเภทอื่น (other investment) มีฐานะไหลเข้าสุทธิเพียง 1.8 พันล้านยูโร

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสม (accumulated financial account) ไหลออกสุทธิ 47.6 พันล้านยูโร (เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่มีฐานะเงินทุนสะสมไหลเข้าสุทธิสูงถึง 197.5 พันล้านยูโร) สาเหตุที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายสะสมกลับมาขาดดุลในปีนี้ เป็นผลมาจากมีการขาดดุลเงินลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้น ขณะที่การเกินดุลเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) สะสมลดลงค่อนข้างมาก แม้ว่าดุลการกู้ยืมจะเกินดุลเพิ่มขึ้นมากจากการที่สถาบันการเงินมีฐานะเป็นผู้กู้ยืมเงินสุทธิสูงถึง 152.0 พันล้านยูโรก็ตาม

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • รัฐบาลเยอรมันประกาศปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ปี 2009 ลงจากร้อยละ 1.2 เหลือเพียงร้อยละ 0.2 เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกที่มีต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจยังจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายงบประมาณสมดุลภายในปี 2011 เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลเยอรมันได้ประกาศมาตรการเพิ่มทุนและค้ำประกันเงินกู้ให้กับระบบธนาคารเป็นวงเงิน 500 พันล้านยูโร (16 ตุลาคม 2008)
  • ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy กล่าวว่ารัฐบาลจะตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (strategic investment fund) ขึ้นโดยมี Caisse des Depots et Consignations ซึ่งเป็น sovereign wealth fund (SWFs) ของรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้บริหารกองทุนดังกล่าว โดยกองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนซื้อหุ้นในกิจการของฝรั่งเศสที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศโดยที่เขาไม่ได้ให้รายละเอียดถึงประเภทกิจการที่ชัดเจน ก่อนหน้านี้เขาได้เสนอแนะให้ประเทศสมาชิก EU จัดตั้ง SWFs ของตนเองขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ ของยุโรปไม่ให้ตกอยู่ในมือของนักล่า (predators) ภายใต้สถานการณ์ที่ราคาหุ้นลดลงแรงในขณะนี้ แต่กลับได้รับการตอบรับที่เย็นชาจากประเทศสมาชิกโดยเฉพาะเยอรมันที่ไม่เห็นความจำเป็นของมาตรการกีดกันการลงทุนจากภายนอกหากไม่ขัดต่อความมั่นคงและสงบสุขภายใน (24 ตุลาคม 2008)
  • Iceland ขอกู้จาก IMF จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะได้รับเงินกู้สมทบจากกลุ่มประเทศนอร์ดิกอีก 4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รวมเป็นวงเงินกู้ทั้งสิ้น 6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่ Iceland ประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและฟองสบู่ในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์แตก ทำให้เงินทุนไหลออกจนทุนสำรองระหว่างประเทศมีไม่เพียงพอต่อการค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นการสิ้นสุดเศรษฐกิจที่ขยายตัวมาตลอด 17 ปีและถือเป็นประเทศตะวันตกประเทศแรกที่ต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF (25 ตุลาคม 2008)
  • ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนตุลาคมของ Euro area คาดว่าจะลดลงเหลือร้อยละ 3.2 ลดลงจากเดือนกันยายนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 หลังจากที่เงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.0 เมื่อเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนับจากการรวมตัวเป็น Euro area เมื่อปี 1999 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย (inflation target) ที่ร้อยละ 2.0 อยู่มากพอสมควร (31 ตุลาคม 2008)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ