ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป มิถุนายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 24, 2009 17:16 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ (มิถุนายน 2552)

Q1 เศรษฐกิจขยายตัวติดลบลึกถึงร้อยละ 4.8 โดยเยอรมันติดลบถึงร้อยละ 6.9

การประมาณการเบื้องต้น (First estimates) ของผลผลิตมวลรวมมภายในของสหภาพยุโรป 16 ประเทศ (Euro area GDP) ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2009 พบว่า GDP ติดลบร้อยละ 2.5 จากไตรมาสที่ 4 นับเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกันันที่ GDP ขยยายตัวติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนนหน้า (compare to previous quarter) และเมื่อเททียบกับไตรมมาสเดียวกันขของปีก่อนหน้น้า (compare to same quarter of previous year) GDP ขยายตัวติดลบร้อยละ 4.8 ถือเป็ป็นไตรมาสที่สองติดต่อกันที่ขยายตัวตติดลบหลังจากไตรมาสที่แล้วขยยายตัวติดลบร้อยละ 1.7 โดยหากพิจารณาเศรษฐกิจทางด้านรายจ่าย (Expenditure side) แล้วพบว่าเกิดจากการหดตัวในทุกเกือบทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการบริโภคเอกชน (household consumption) การลงทุน (investments) การส่งออก (exports) และการนำเข้า ยกเว้นการใช้จ่ายภาครัฐ (government consumption) ดังนี้

  • การบริโภคภาคเอกชน (Household consumption) หดตัวลงร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า และหดตัวร้อยละ 1.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยยละ 56.6 ขออง GDP)
  • การใช้จ่ายภาครัฐ (Government consumption) ไม่มีการขยายตัวจากไตตรมาสก่อนหน้า แต่ขยายตัววร้อยละ 1.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของ GDP)
  • การลงทุน (Gross fixed capital formation) หดตัวลงร้อยละ 4.2 จากไตรรมาสที่แล้ว และหดตัวลงถึงรร้อยละ 10.4 จจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 21.9 ของ GDP)
  • การส่งออกก (Exports) ขยายตัวติดลบร้อยละ 8.1 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 15.5 จากไตรมาสเดียวกันนของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 42.6 ขของ GDP) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวติดลบร้อยละ 7.2 จากไตรมาสก่อนหน้า และติดลบร้อยละ 11.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 42.2 ของ GDP)

หากพิจารณาการขยายตัวของเศรษฐกิจทางด้านอุปทานหรือการผลิต (Gross value added) แล้ว พบว่ามีการหดตัวลงเกือบทุกภาคการผลิตไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้าการขนส่ง และภาคการเงิน ยกเว้นบริการสาธารณะ ที่มีการขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ดังนี้

  • ภาคการเกษตร ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของ GDP)
  • ภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และพลังงาน ขยายตัวติดลบร้อยละ 8.8 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวติดลบร้อยละ 15.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 17.8 ของ GDP)
  • ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวติดลบร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวติดลบร้อยละ 5.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว(มีสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของ GDP)
  • ภาคการค้า การบริการ ขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวติดลบร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่ขยายตัวติดลบ ขยายตัวติดลบร้อยละ 5.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของ GDP)
  • ภาคบริการทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าสินทรัพย์ เริ่มขยายตัวติดลบร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้านับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันที่มีการหดตัว และขยายตัวติดลบร้อยละ 1.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของ GDP)
  • ภาคการบริการสาธารณะ การศึกษา สุขภาพ และบริการอื่น ในไตรมาสนี้ไม่มีการขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (มีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ของ GDP)

สำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่างงก็ประสบปัญญหาเศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัวลงถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นนประเทศเยอรมันที่เศรษฐกิจติดลบจากไตรมาสก่อนหน้าถึงร้อยละ 3.8 อิตาลีติดลบร้อยละ 2.4 สเปนติดลบร้อยละ 1.9 และฝรั่งเศศสติดลบร้อยละ 1.2 โดยทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี เศรษฐกิจขยายตัวติดลบติดต่อกัน 4 ไตรมมาส ขณะที่สเปนติดลบ 3 ไตรมาสติดต่อกัน

ทั้งนี้เมื่อเดือนแมษายนที่ผ่าน IMF และ EC ประมาณการว่าในปี 2009 เศรษฐกิจของ Euro area 16 ประเทศ จะขยายตัววติดลบร้อยละ 4.2 และ 4.0 ตามลำดับ ขณะที่ OECD เพิ่งปรับประมาณการล่าสุดในเดือนมิถุนายนว่าเศรษฐกิจของ Euro area จะติดลบถึงร้อยละ 4.8 โดยยเศรษฐกิจขอองประเทศเยอรมัน อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส จะติดลบร้อยละ 6.1, 5.5, 4.2 แลละ 3.0 ตามลำดับ

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม : เดือนเมษายนลดลงร้อยละ 1.9 ขณะที่ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม

ดัชนีชี้วัดผลผลลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index: IPI) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้วประจำเดือนเมษายนของกลุ่ม EU16 ยังลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าโดยลงมาอยู่ที่ระดับ 88.7 หรืออลดลงร้อยละ 1.3 จากเดือนที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 22.6 จากเดืออนเดียวกันขอองปีที่แล้ว ทำสถิติดัชนีที่ ต่ำทที่สุดนับจากเดดือนตุลาคม 1999 โดยในนเดือนนี้ดัชนีการผลิตลดลลงจากเดือนก่อนหน้าในทุกหมวดสินค้าไม่ว่าจะเป็นสินคค้าทุน สินค้าขขั้นกลาง และสินค้าหมวดพพลังงาน ที่หดตัวลงร้อยลละ 2.7 1.7 และ 1.1 ตามมลำดับ ขณะทที่สินค้าบริโภคชนิดคงทนและสินค้าบริโภคชนิดไม่คงหดตัวร้อยยละ 0.8 และ 0.7 ตามลำดับ โดยอัตราการหดตัวของดัชนีในเดือนนี้เท่ากับเดือนที่แล้วที่ดัชนีหดตัวลงร้อยละ 1.3 เช่นกัน

ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางด้านอุปสงค์ของกลุ่ม EU16 ในเดือนมิถุนายนนฟื้นตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน โดยดัชนีผลสำรวจความเชื่ออมั่นทางธุรกิจ(Economiic Sentiment Index: ESI) ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 73.3 เพิ่มขึ้น 3.1 จุดจากเดือนที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ดัชนีความเชื่อมั่นลงไปต่ำสุดที่ระดับ 64.6 จุด เมื่อเดือนมีนาคม โดยความเชื่อมั่นในภาค services และ consumer มีการปรับตัวดีขึ้น ภาค industry ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ภาค construction ยังคงแย่ต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อ : เดือนพฤษภาคมลดลงเหลือร้อยละ 0.0

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 16 ประเทศ) ประจำเดือนพฤษภาคมชะลอลงเหลือร้อยละ 0.0 เทียบกับร้อยละ 0.6 ในเดือนที่แล้ว ทำสถิติอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับจากปี 1999 โดยหมวดราคาสินค้าที่ส่งงผลต่อการเพิ่มของเงินเฟ้อแมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมาจากหมวดดเครื่องดื่มแออลกอฮอล์และยาสูบ (+3.3%) และหมวดโรงแรมแลละภัตตาคารร (+2.2%) ขณะที่หมวดรายจ่ายที่ส่งผลตต่อการชะลอตัวของเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดคมนาคมขนส่ง (-4.8%) หมวดสื่อสารโทรคมนาคม (-1.0%) และหมวดรายจ่ายเพื่ออที่อยู่อาศัย (-0.1%) สำหรับประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุด 5 อันดับแรกในเดือนนี้ ได้แก่ Malta Finland Netherlands Slovakia และ Italy ที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยยละ 3.4, 1.5, 1.5, 1.1 และ 0.8 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด ได้แก่ Ireland Portugal Luxembourg และ Spain ที่อัตราเงินนเฟ้อติดลบต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วร้อยละ -1.7,-1.2, -0.9 -0.9 และ -0.3 ตามมลำดับ

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศยยูโร 27 ประเททศ (EU 27) ก็ชะลอตัวลงเช่นกันเหลือร้อยละ 0.7 จากรร้อยละ 1.3 ในนเดือนที่แล้ว โดยประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในกลุ่ม EU27 ยังคงเป็นประเทศ Romania Lithuania และ Latvia ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 5.9, 4.9 และ 4.4 ตามลำดับ

อัตราการว่างงาน : เดือนพฤษภาคมพุ่งทำสถิติสูงสุดนับจากเดือนพฤษภาคม 1999

ในเดือนพฤษภาคม Euro area 16 ประเทศ มียอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วรวมกันทั้งสิ้น 15.013 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 273,000 คนจากเดือนที่แล้ว) และเมื่อเทียบกับบเดือนเดียวกันของปีที่แล้วจำนวนผู้ว่างงงานเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านคน ส่งผลให้อัตราการว่างงานนในเดือนนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.5 เทียบกับร้อยละ 9.3 ในเดือนที่แล้วนับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 1999 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของ Euro area เพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่เคยลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัตัการณ์ที่ระดับร้อยละ 7.2 เมื่อเดือนมีนาคม 2008 การที่ทั้งจำนวนผู้ว่างงานและอัตราการผู้ว่างงานปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยังครอบคลุมเศรษฐกิจของยุโรปโดยประเทศสมาชิก Euro area ที่มีอัตราการว่างงานสูงสุด ได้แก่ Spain, Latvia และ Estonia ที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 18.7, 16.3 และ 15.6 ตามลำดับ

ขณะที่ยอดผู้ว่างงานของ EU 27 ประเทศก็เพิ่มขึ้นเป็น 21.462 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.8 เมื่อเดือนที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

ECB คงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.0 ขณะที่ปริมาณเงินและสินเชื่อชะลอตัวลงต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 1.0 โดย ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินนใจลดอัตราดอกกเบี้ยในครั้งนี้ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสม รวมถึงมาตรการเพิ่มสภาพคล่องที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดเนื่องจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกกิจของยุโรปเองและเศรษฐกิจโลก และจากผลการสำรวจชี้ว่าเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีจะชะลอตัวลงในอัตราที่ชะลอลงจากก่อนหน้านี้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเป็นบวกได้นับจากกลางปี 2010 เป็นต้นไป ซึ่งได้คำนึงถึงอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตตอันใกล้ไว้ด้วยแล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อคคาดว่าจะอยู่ภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายร้อยละ 2.0 ในระยะปานกลาง ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าอัตราการเพิ่มของปริมาณเงินและสินเชื่อยังคงชะลอตัวลงต่อเนือง โดยการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2552

ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของ Euro Area ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องจนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยยอดคงค้างของปริมาณเงินตามความหมายกว้าง หรือ M3 อยู่ที่ระดับ 9.41 ล้านล้านยูโร ลดลง 49 พันล้านยูโรจากเดือนที่แล้ว ส่งผลให้ยอดคงค้างปริมาณเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีที่แล้ว (เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9) ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อที่สถาบันการเงิน (MFI) ให้กู้กับภาคเอกชน (loan to private sector) มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ระดับ 10.806 ล้านล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหนน้า 14 พันล้านยูโร โดยยอดคงค้างสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 1.8 (เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 2.4) สะท้อนถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

สำหรับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Monney market interest rates) ในเดือนมิถุนายนยังคงลดลงเล็กน้อยสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีลดลงระหว่าง 3 - 8 basis points ยกเว้นอัตราดอกเบี้ยอายุ 1 เดือนที่เพิ่มขึ้น 3 basis points ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 5 ปีและ 10 ปีเริ่มปรับเพิ่มขึ้น 15 และ 18 basis points ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน แต่เมื่อแปรียบเทียบกับโครงสร้างอัตราผลตอบแทนในเดือนเดียวกันปีที่แล้วพบว่าอัตราผผลตอบแทนใในเดือนนี้อยู่ใในระดับต่ำกว่าปีที่แล้วระหว่าง 330 - 375 basis points ตามการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB นับจากช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วเป็นต้นมา ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว จึงทำให้เส้นโครงสร้างอัตราผลตอบแทนมีลักษณะชันกว่าเมื่อปีที่แล้ว

อัตราแลกเปลี่ยน : ยูโรแข็งค่ากับทุกสกุล แต่อ่อนค่ากับปอนด์เป็นเดือนที่สาม

ค่าเงินยูโรเมื่อแทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมิถุนายนแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วเป็นเดือนที่สี่ โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับ 1.422 $/ยูโร และแข็งค่าสูงสุดของเดือนที่ระดับบ 1.4238 $/ยูโร ในวันถัดมาหลังจากนั้นเงินยูโรก็เริ่มอ่อนค่าลงโดยตลอดลงมาเคลื่อนไหวใกล้เคียงระดับ 1.400 $/ยูโร โดยมีระดับต่ำสุดของเดือนที่ 1.384 $/ยูโร และปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 1.4134 $/ยูโร ส่งผลให้โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยของเดือนที่แล้วร้อยละ 2.7 แต่ก็ยังอ่อนค่ากับเงินดอลลาร์ สรอ.อยู่ร้อยละ 9.9 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยเงินยูโรยังคงได้รับผลดีจากการที่ตลาดคลายความวิตกกังวลถึงความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจโลกจะแย่ลงไปอีกจึงลดความสำคัญของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนลงและหันไปให้ความสำคัญกับการลงทุนในเงินสกุลอื่นแทน

เงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ในเดือนนี้อ่อนค่าลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยเงินยูโรปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ระดับบ 0.868 ปอนด์/ยูโร เป็นการอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว ก่อนที่จะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงสั้นๆ ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดของเดือนนที่ระดับ 0.8792 ปอนด์/ยูโร จากนั้นเงินยูโรก็กลับอ่อนค่าลงโดยตลอดจนลงมาเคลื่อนไหวสลับขึ้นลงในกรอบระหว่าง 0.84-0.86 ปอนด์/ยูโร ในช่วงท้ายของเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 0.8521 ปอนด์/ยูโร โดยค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้อ่อนค่าลงจากเดือนที่แล้วร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ดี เงินยูโรยังแข็งค่าอยู่ร้อยละ 8.2 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อเทียบกับเงินเยนแล้ว ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้ยังคงแข็งค่าขึ้นเป็นเดือนที่สี่หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 7 เดือนก่อนหน้านั้น โดยเงินยูโรมีระดับปิดวันแรกของเดือนที่ระดับ 134.89 เยน/ยูโร จากนั้นก็ปรับตัวขึ้นและเคลื่อนไหวอย่างมั่นคงใกล้เคียงระดับ 135 เยน/ยูโร ตลอดทั้งเดือนและปิดตลาดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับ 135.51 เยน/ยูโร โดยเหตุผลหลักยังคงมาจากการที่เงินเยนเริ่มลดความสำคัญลงในฐานะ safe haven currency ส่งผลให้เงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.7 แต่ก็ยังคงอ่อนค่าอยู่ร้อยละ 18.6 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทเป็นเดือนที่สี่เช่นกัน โดยเงินยูโรมีระดับปิดตลาดวันแรกของเดือนที่ 48.49 ฿/ยูโร และขึ้นไปปิดตลาดสูงสุดของเดือนที่ระดับ 48.58 ฿/ยูโร จากนั้นก็เริ่มอ่อนค่าลงโดยลำดับจนมาปิดต่ำสุดในช่วงกลางเดือนที่ระดับ 47.302 ฿/ยูโร ก่อนที่จะกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงท้ายของเดือนจนขึ้นมาปิดวันสุดท้ายของเดือนที่ระดับที่ระดับ 48.14 ฿/ยูโร ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของเงินยูโรในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.3 แต่ยังอ่อนค่าร้อยละ7.4 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชชำระเงิน

เดือนเมษายน: Euro Area ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเล็กน้อยต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิเล็กน้อย

ณ สิ้นเดือนเมษายน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินนสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุลจำนวน 5.9 พันล้านยูโร (หรือเท่ากับขาดดุล9.2 พันล้านยูโร กรณีเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับตามฤดูกาล) โดยในเดือนนี้ Euro area มีการกินดุลการค้า (goods trade) และดุลบริการ (services) จำนวน 2.6 และ 2.9 พันล้านยูโร ตามลำดับ แต่ขาดดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) จำนวน 2.7 และ 8.8 พันล้านยูโร ตามลำดับ จึงทำให้ฐานะโดยรวมขาดดุลดังกล่าว และนับเป็นเดือนที่สิบสี่ติดต่อกันที่ Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล

ทั้งนี้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาดุลบัญชีเดินสะพัดของ Euro area มีฐานะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรวม 105.7 พันล้านยูโร หรือเท่ากับร้อยละ 1.1 ของ Euro GDP ขณะที่รอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพียง 13.4 พันล้านนยูโร หรือเท่ากับขาดดุลเพิ่มขึ้นถึง 6.9 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ Euro area กลับสถานะจากที่เคยเกินดุลการค้า 37.5 พันล้านยูโร มาเป็นมีสถานะขาดดุลการค้า 11.8 พันล้านยูโร รวมทั้งดุลรายได้ก็มีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากที่เคยขาดดุล 9.7 พันล้านยูโร เพิ่มเป็น 32.5 พันล้านยูโร

ทางด้านดุลบัญญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (financial account) ที่ยังไม่ปปรับตามฤดูกาล (non-seasonal adjusted) ประจำเดือนเมษายน พบว่า Euro area มีฐานะบัญชีเงินทุนไหลเข้าสุทธิลดลงเหลือเพียง 2.8 พันล้านยูโร (เทียบกับที่เกินดุลถถึง 57.8 พันล้านยูโรในเดือนก่อนหน้า) เนื่องจากแม้เงินลงทุน ทางตรง (direct investment) จะมียอดไหลออกสุทธิลดลง แต่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (portfolio investment) กลับสถานะจากที่มีฐานะไหลเข้าสุทธิ 85.9 พันล้านยูโรในเดือนที่แล้ว มาเป็นมีฐานะไหลออกสุทธิ 6 พันล้านยูโรในเดือนนี้

สำหรับยอดสะสมในรอบ 12 เดือน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (accumulated financial account) ไหลเข้าสุทธิถึง 360.8 พันล้านยูโร (เทียบกับรอบ 12 เดือนก่อนหน้าที่มีฐานะเงินทุนไหลเข้าสุทธิเพียง 67.5 พันล้านยูโร) เนื่องจากแม้เงินนลงทุนทางตรงสุทธิ (net direct investments) จะไหลออกมาขึ้นก็ตามแต่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (net portfolio investments) ในช่วงดังกล่าววมียอดไหลเขข้าสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 2.7 เท่า

ประเด็นข่าวสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบสถาบันการเงินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดให้สถาบันการเงินประมูลเงินกู้ยืมฉุกเฉินที่มีอายุ 12 เดือนเป็นครั้งแรก ปรากฎว่ามีสถาบันการเงิน 1,121 แห่งประมูลเงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นวงเงินสูงถึง 442 พันล้านยูโร ซึ่งการที่สถาบันการเงินต่างเร่งกู้ยืมเงินจาก ECB เนื่องจากเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.0 ในขณะนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดและในอนาคตอาจไม่สามารถกู้ยืมได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเช่นนี้ โดยนโยบายดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชนิดข้ามคืนและอัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับตัวลดลงทันที ครั้งนี้นับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องภายในวันเดียวที่สูงที่สุดนับจากครั้งสุดท้ายที่ ECB ดำเนินการเมื่อเดือนธันวาคม 2007 เป็นวงเงิน 348.6 พันล้านยูโร (24 มิถุนายน 2009)
  • OECD รายงานผลกการประเมินภาวะเศรษฐกิจ (Economic Outlook) ฉบับล่าสุดเดือนมิถุนายนว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ OECD ถึงจุดต่ำสุดแล้วหลังจากที่เศรษฐกิจหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 60 ปี กระนั้นก็ดี OECD ประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยังคงอ่อนแอและเปราะบาง (weak and fragile) รวมทั้งความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจจะกินเวลายาวนาน โดยการทบทวนภาวะเศรษฐกิจล่าสุดถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ OECD ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ขนาดใหญ่และสหรัฐฯ มีการปรับตัวดีขึ้นจากผลของการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้จะขยายตัวติดลบร้อยละ 2.8 ขณะที่เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (Euro area) ปรับตัวแย่ลงโดยจะติดลบร้อยละ 4.8 รวมทั้งญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงไม่มากนักคาดว่าจะติดลบร้อยละ 6.8 (24 มิถุนายน 2009)
  • ประมาณการเบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อ (flash estimated inflation) ประจำเดือนมิถุนายนของ Euro area คาดว่าจะติดลบร้อยละ 0.1 จากระดับร้อยละ 0.0 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่อัตราเงินเฟ้อติดลบนับจากที่เริ่มมีการจัดทำสถิตินับจากปี 1991 ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ก่อนหน้าว่าเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะติดลบในเดือนนี้และในเดือนถัดๆไป สะท้อนการหดตัวของอุปสงค์ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประเมินว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะมีโอกาสติดลบเป็นบางเดือนแต่จะกลับขึ้นเป็นบวกในช่วงท้ายของปีนี้ก็ตาม (29 พฤษภาคม 2009)

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ