รายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของสหราชอาณาจักรและยุโรป กรกฏาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 27, 2009 15:34 —กระทรวงการคลัง

กระทรวงการคลังเสนอแนวทางปฏิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

นาย Alistair Darling รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอผลการศึกษาถึงแนวทางการปฏิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2009 หลังจากที่ก่อนหน้านี้เขาได้มอบหมายให้ Lord Adair Turner ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการขององค์กรกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Financial Services Authority: FSA) ดำเนินการศึกษาทบทวนบทเรียนสำหรับ FSA จากวิกฤตการเงินครัง้ล่าสุด รวมทัง้จัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปที่จำเป็นต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศซึ่ง Lord Turner ได้สรุปผลการศึกษาเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดำเนินการเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่รับเงินฝากจากประชาชนเพื่อให้มัน่ ใจว่าในอนาคตทั้งสถาบันการเงินและตลาดการเงินจะมีความทนทานต่อแรงกระทบจากภายนอกที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบการเงินของประเทศได้ดีขึ้น หลังจากที่ได้มีการสรุปบทเรียนจากวิกฤตครัง้ที่ผ่านมา รวมถึงสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน

สำหรับสาระสำคัญของแนวทางการปฏิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Reforming Banking Regulation) ที่กระทรวงการคลังเสนอต่อรัฐสภา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) มาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และ 2) มาตรการที่จะดำเนินการเพิ่มเติม

1) มาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

นับจากวิกฤตธนาคาร Northern Rock เมื่อฤดูร้อนปี 1997 และต่อมากลายเป็นวิกฤตความเชื่อมัน่ ของระบบการเงิน รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการในการรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูความเชื่อมัน่ ในระบบการเงินโดยลำดับ ได้แก่

1.1) การแก้ไขกฎหมายการธนาคาร Banking (Special Provisions) Act 2008 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 เพื่อให้อำนาจชัว่คราวเป็นเวลา 1 ปีแก่รัฐบาลในการแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ประสบปญั หาฐานะทางการเงินได้ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น ธนาคาร Northern Rock, Bradford & Bingley เป็นต้น

1.2) การแก้ไขกฎหมายการธนาคาร Banking Act 2009 เพื่อให้อำนาจเป็นการถาวรแก่รัฐบาลในการแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ประสบปญั หาฐานะที่มีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน การคุ้มครองผู้เงินฝาก หรือการคุ้มครองผลประโยชน์จากเงินภาษีของประชาชน รวมถึงให้อำนาจแก่ Bank of England ในการมีบทบาทนำในการแก้ไขปญั หาสถาบันการเงินหาก FSA ส่งสัญญาณว่าสถาบันการเงินนั้นๆมีปญั หา นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังได้ เปิดทางให้รัฐบาลออกกฎหมายลูกเพื่อให้อำนาจรัฐบาลในการแทรกแซงการดำเนินการของสถาบันการเงินประเภทวาณิชธนกิจ (investment banks) ได้ด้วย

1.3) การดำเนินการเพื่อปฏิรูป FSA ตามผลการศึกษาของ Lord Turner ที่ได้ศึกษาเสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนมีนาคม 2009 และขณะนี้อยู่ในแผนดำเนินการของ FSA แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้สถาบันการเงินดำเนินธุรกิจด้วยการเร่งขยายตัวแบบเสี่ยงๆ เช่นในอดีตขณะเดียวกัน ก็ต้องมีเงินกองทุนและสภาพคล่องที่เพียงพอ ได้แก่

o การทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับของประเทศอื่นๆ ในการเพิ่มความเข้มงวดของเกณฑ์ความเพียงพอด้านเงินกองทุนและสภาพคล่อง (strengthen capital and liquidity requirements) เพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอ เช่น การเพิ่มทัง้ปริมาณและคุณภาพของเงินกองทุน เพิ่มเงินกองทุนให้สูงขึ้นสำหรับธุรกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง จัดให้มีระบบที่จะจำกัดการขยายตัวของสินทรัพย์ (backstop leverage ratio) ไม่ให้มีมากเกินไป และเพิ่มความสำคัญต่อการกำกับดูแลด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินควบคู่ไปกับการดูแลด้านเงินกองทุน

o ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มประสิทธิผลและความเข้มข้นของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ติดตามดูแลการดำเนินธุรกิจและความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพด้วยการจัดให้มีระบบที่เรียกว่า FSA’s Supervisory Enhancement Programme (SEP) ได้แก่ การเพิ่มทรัพยากรให้กับ FSA เน้นการเพิ่มทรัพยากรให้กับการกำกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนและมีผลกระทบในวงกว้าง ให้ความสำคัญกับรูปแบบและกลยุทธ์ทางธุรกิจของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับ ปรับแนวทางจากเดิมที่การประเมินจะต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาต (approved person) มาเป็นการเน้นที่ทักษะทางด้านเทคนิคและความซื่อสัตย์ (focus on technical skills and probity) และการเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน (specialist skills) เพื่อให้ทีมตรวจสอบสามารถดึงบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะด้านจากส่วนกลางเข้ามาในทีมได้

o การดำเนินการเพื่อลดแรงจูงใจในการดำเนินธุรกิจแบบเสี่ยงมากเกินไปของสถาบันการเงิน เช่น การควบคุมระบบการจ่ายผลตอบแทนและโบนัสของธนาคารให้สะท้อนถึงความสำเร็จในระยะยาวเป็นหลักแทนที่ระบบปจั จุบันที่เน้นความสำเร็จระยะสัน้ ๆ ซึ่ง FSA อยู่ระหว่างจัดทำคู่มือเกี่ยวกับระบบการจ่ายผลตอบแทน (Code of practices) และจะนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (regulatory guidelines)

1.4) การปฏิรูปด้านธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน (Reform of corporate governance) เช่น การเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำหน้าที่และความรู้ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการธนาคาร การให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันเพิ่มความใส่ใจต่อการติดตามการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ รวมตลอดไปถึงการที่ FSA ได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่จะลดแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ดำเนินธุรกิจแบบเสี่ยงมากเกินไป

1.5) การเพิ่มความเข้มแข็งในการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ กำกับดูแลระบบการเงิน (Strengthening the UK authorities) ดังนี้

o Bank of England : ภายใต้ Banking Act 2009 บัญญติไว้ชัดเจนให้มีหน้าที่ในการปกป้องเสถียรภาพของระบบการเงิน รวมถึงให้มีการปรับปรุงธรรมาภิบาลภายในด้วยการเพิ่มความคล่องตัวและความทันสมัยให้กับคณะกรรมการของธนาคาร (Court of the Bank of England) โดยมีคณะกรรมการที่เรียกว่า Financial Stability Committee ให้การสนับสนุนงานด้านการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินด้วย

o FSA : ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้ส่วนงานภายในมีความสอดคล้องกับกิจกรรมหลักในส่วนที่เกี่ยวกับการค้นหาและจัดการกับความเสี่ยง รวมถึงการทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและลงโทษสถาบันการเงินด้วย นอกจากนี้ ยังปรับให้สอดคล้องกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของ FSA ในส่วนที่เกี่ยวกับความเกี่ยวพันกับงานด้านการกำกับระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดในระดับมหภาค (macro-prudential analysis) และการให้การศีกษาด้านการเงินแก่ผู้บริโภค

1.6) การปฏิรูปด้านการกำกับดูแลระหว่างประเทศ (Reform of international regulation) ซึ่งรัฐบาลในฐานะประธานการประชุม G20 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ดำเนินการ

o เสนอให้มีการยกระดับ Financial Stability Forum (FSF) ขึ้นเป็น Financial Stability Board (FSB) เพื่อให้มีพันธกิจที่ชัดเจนมากขึ้นในด้านของความร่วมมือในการยกระดับมาตรการสากลในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมทัง้การติดตามและกำกับดูแลสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีธุรกรรมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญต่อการเกิดความเสี่ยงของระบบ

o เพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินของประเทศอื่นในการกำกับติดตามกำกับดูแลสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดน (crossborder cooperation) โดยการจัดตัง้เป็น supervisory colleges ขึ้น

o สนับสนุนแนวทางในการพัฒนาระบบการควบคุมความเสี่ยงทัง้ระบบในวงกว้างของกลุ่ม EU ตามผลการศึกษาที่เรียกว่า de Larosiere รวมถึงให้การสนับสนุนความตกลงในการจัดตั้ง European System of Financial Supervisors (ESFS) และ European Systemic Risk Board (ESRB)

o สนับสนุนข้อเสนอของ EU ที่กำหนดให้กระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารทางการเงิน (securitisation) สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์ (originator) จะต้องคงความเสี่ยงไว้ในงบดุลของเจ้าของสินทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

o การดำเนินการเพื่อลงโทษบรรดาประเทศที่เป็น Offshore banking centres ที่ส่งเสริมให้เกิดการหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกำกับควบคุมจนกระทบต่อความสามารถในการจัดเก็บภาษีและละเมิดมาตรฐานสากล

2) มาตรการที่จะดำเนินการเพิ่มเติม

รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิรูปการกำกับดูแลระบบการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการป้องกันปญั หาวิกฤตที่จะเกิดในอนาคต รวมถึงแนวทางในการดำเนินการกับปญั หาที่เกิดขึ้นด้วย โดยรัฐบาลจะดำเนินการเพิ่มเติมในด้านต่างๆ ดังนี้

2.1) การกำกับดูแลสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างมีประสิทธิผล (more effective regulation) โดยการเพิ่มเติมอำนาจและหน้าที่ให้กับ FSA ดังนี้

o ออกกฎหมายเพื่อให้มีอำนาจในการออกกฎระเบียบในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินในวงกว้าง ซึ่งจะทำให้ FSA มีอำนาจที่ชัดเจนในการสัง่การเกี่ยวกับสถาบันการเงินได้อย่างเต็มที่

o ให้อำนาจกับ FSA ในการแทรกแซงสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งได้ตามแต่กรณี (case-by-case basis)

o เพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ (market misconduct) รวมทัง้มีอำนาจในการสั่งพักหรือลงโทษสถาบันการเงินหรือบุคลากรของสถาบันการเงินที่ทำผิด

o ให้อำนาจ FSA ในการพิจารณาและรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงินที่ไม่ได้อยู่ในกำกับ (unregulated institution) เช่น นิติบุคลลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารทางการเงิน (structured investment vehicles) เป็นต้น หากเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้คุกคามต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน และควรเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับ

2.2) การให้ความสำคัญกับการติดตามและจัดการกับความเสี่ยงต่อระบบ (better monitoring and management of systemic risk) โดยเชื่อว่าโครงสร้างระบบการกำกับสถาบันการเงินในปัจจุบันที่ FSA กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินทัง้หมด ขณะที่ Bank of England รับผิดชอบด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน ยังเป็นโครงสร้างที่มีความเหมาะสม แต่จำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มอำนาจให้กับทัง้ Bank of England และ FSA เพิ่มการประสานความร่วมมือระหว่างกัน (better coordination) ขณะเดียวกัน ก็ต้องยกระดับธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของหน่วยงานทัง้สองให้มากขึ้น

o ในการทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน Bank of England จะต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ในการนำไปสู่การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ซึ่งงานรับผิดชอบส่วนหนึ่งก็คือการวิเคราะห์และเตือนภัยความเสี่ยงที่จะมีต่อเสถียรภาพระบบการเงินผ่านการจัดทำรายงานว่าด้วยเสถียรภาพของระบบการเงิน (Financial Stability Report) ซึ่งออกปีละ 2 ครัง้ อันเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษาความเป็นอิสระทางด้านความเห็นเพื่อให้สาธารณะได้รับรู้ถึงความเสี่ยงที่สถาบันการเงินและตลาดการเงินกำลังเผชิญอยู่

o รัฐบาลจะปรับปรุงระบบความร่วมมือในการกำกับดูแลระบบการเงินในปัจจุบันที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการ่วม 3 ฝ่าย (tri-partite system) ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง Bank of England และ FSA (Standing Committee) ที่จัดตัง้ขึ้นตามบันทึกความตกลง (MOU) เมื่อปี 1997 เป็นมีความตัง้ใจที่จะเสนอกฎหมายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้เพื่อจัดตัง้เป็น Council for Financial Stability (CFS) ขึ้นมาแทนที่ โดยมีผู้แทนจาก 3 องค์กรเช่นเดิมแต่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ดำเนินการโดยมีกฎหมายรองรับ และจะมีการประชุมหารือเป็นประจำเพื่อประเมินความเสี่ยงของระบบการเงินร่วมกัน รวมทัง้จะมีการพิจารณาประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพของระบบการเงิน เช่น ประเด็นเรื่องผลตอบแทนของสถาบันการเงิน เป็นต้น

2.3) การแทรกแซงสถาบันการเงินที่ประสบปญั หา (dealing with failure) ซึ่งจะการดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบ Banking Act 2009 จึงได้ให้อำนาจรัฐบาลในการแทรกแซงการดำเนินการของบริษัทแม่ในกลุ่มสถาบันการเงิน (bank holding companies) และสามารถยึดกิจการเข้าเป็นของรัฐได้ทันทีถ้าจำเป็น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาออกกฎหมายลูกเพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับสถาบันการเงินประเภทวาณิชธนกิจ (investment banks) คาดว่ากฎหมายจะออกได้ภายใต้ต้นปี 2010 อย่างไรก็ดี ยังมีสิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการต่อไปอีกอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่

o การเพิ่มวินัยต่อตลาด (stronger market discipline) โดย FSA จะจัดทำ Code of Practice ในด้านธรรมาภิบาลและผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินใช้เป็นกรอบดำเนินการไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง และผู้ถือหุ้นเพื่อให้ชัดเจนว่าใครจะต้องรับผิดชอบวินัยต่อตลาดอย่างไร

o การกำกับดูแลที่ดีขึ้น (better regulation) โดยรัฐบาลมีความเชื่อว่าสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินสูง (systematically significant firms) ควรจะถูกกำกับดูแลอย่างเข้มงวดมากกว่า ซึ่งอาจจะต้องให้มีการดำรงเงินกองทุนและสภาพคล่องในระดับที่สะท้อนถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบโดยรวม แต่ทัง้นี้ การดำเนินการในลักษณะนี้จำเป็นต้องเป็นไปในทางเดียวกันในระดับสากล

o การจัดการกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา (managing failure) โดยรัฐบาลเห็นว่าแต่ละสถาบันการเงินควรจัดทำแผนและรายละเอียดแนวทางปฏิบัติหากประสบปัญหา โดยเฉพาะ FSA ควรทำงานร่วมกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่เพื่อจัดให้มีแผนดังกล่าว ขณะเดียวกัน Bankof England ในฐานะที่มีบทบาทนำในการแก้ปัญหาก็ควรเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการประเมินแผนที่สถาบันการเงินเสนอ

o การมีโครงสร้างพื้นฐานของตลาดการเงินที่ดีขึ้น (better market infrastructure) โดยรัฐบาลเชื่อว่าการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับตลาดผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สำคัญๆ เช่น securitisation หรืออนุพันธ์ทางการเงินบางประเภท (specific derivatives) จะช่วยลดความเสี่ยงระบบลง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดเพื่อให้มีมาตรฐานร่วมของผลิตภัณฑ์(standardised) สภาพคล่องในการซื้อขาย และความโปร่งใสในการกำหนดราคาซื้อขาย รวมถึงควรจะ ปิดธุรกรรมตามสัญญาผ่านองค์กรที่เป็นตัวกลาง (central counterparties) จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลอยากเห็นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของระบบลงจากตลาดตราสารเหล่านี้

2.4) การปกป้องผลประโยชน์ของผู้เสียภาษี (protecting the taxpayer) โดยรัฐบาลเห็นว่าการคุ้มครองเงินฝากภายใต้การดำเนินการของ Financial Services Compensation Scheme (FSCS) ควรจะมาจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเงินเนื่องจากเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากความเชื่อมัน่ ของผู้บริโภควรจะมาจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเงินเนื่องจากเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากความเชื่อมัน่ ของผู้บริโภคจากมาตรการคุ้มครองเงินฝากของรัฐ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้เสียภาษี ดังนั้น ในระยะยาวจึงควรปรับปรุงระบบการส่งเงินสมทบเข้า FSCS โดยสถาบันการเงินมาเป็นการส่งเงินสมทบก่อนที่จะมีปญั หาสถาบันการเงินล้ม (pre-funding) ซึ่งรัฐบาลจะไม่เริ่มดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวก่อนปี 2012 และอัตราการนำส่งในระยะแรกจะไม่สูงเกินไปจนกระทบต่อเสถียรภาพของระบบและความพยายามในการฟื้นฟูความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินที่กำลังดำเนินอยู่

o การเพิ่มวินัยต่อตลาด (stronger market discipline) โดย FSA จะจัดทำ Code of Practice ในด้านธรรมาภิบาลและผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินใช้เป็นกรอบดำเนินการไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง และผู้ถือหุ้น

ความเห็น

แนวทางการปฏิรูปการกำกับดูแลระบบการเงินที่กระทรวงการคลังเสนอในเชิงของรูปแบบโครงสร้างยังคงระบบ Tri-partite system ไว้ตามเดิม เพียงแต่มีการเพิ่มอำนาจและแยกหน้าที่ระหว่าง Bank of England และ FSA ให้มีความชัดเจนขึ้นตามกฎหมาย โดย Bank of England มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงินและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวม (financial stability)รวมถึงมีบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ FSA พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการต่อไปได้และจะเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ขณะที่ FSA ยังคงมีหน้าที่ในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเป็นการทัว่ไป แต่ได้รับอำนาจเพิ่มเติมในการเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินได้ทันทีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบลง นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบาทให้กับFSA ในการติดตามวิเคราะห์ผลกระทบในระดับมหภาค (macro-prudential analysis) ควบคู่ไปกับการกำกับและตรวจสอบด้วย ซึ่งกรณีการแบ่งอำนาจนี้เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการถกเถียงระหว่างนายMervyn King ผู้ว่าการธนาคารกลาง และ Lord Adair Turner ประธานกรรมการ FSA เนื่องจากก่อนหน้านี้นาย King ออกมาพูดทำนองว่าในการทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระบบการเงินธนาคารกลางควรจะมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินด้วยซึ่งก็หมายถึงการโอนอำนาจหน้าที่ของ FSAเข้ามาอยู่ในธนาคารกลางเช่นในอดีต ขณะที่นาย Turner โต้กลับว่าที่ผ่านมาธนาคารกลางมีอำนาจอยู่ในมือแต่กลับไม่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น กลับเป็น FSA ที่ถูกตำหนิจากวิกฤตที่ผ่านมาซึ่งนาย Alistair Darling รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันว่าระบบปัจจุบันดีอยู่แล้ว และธนาคารกลางควรทำหน้าที่เตือนภัยถึงความเสี่ยงจากวิกฤตตามอำนาจหน้าที่ที่มีให้สาธารณะได้รับทราบผ่านรายงาน Financial Stability Report ทั้งนี้ ในผลการศึกษาได้อ้างถึงรูปแบบการแยกอำนาจโดยให้ธนาคารกลางทำหน้าที่ด้านนโยบายการเงินและเสถียรภาพในภาพรวม ขณะเดียวกันก็จัดองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งหมดเป็นการเฉพาะ เช่น ในคานาดา เยอรมัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือการปรับปรุงระบบคุ้มครองเงินฝากด้วยการเสนอให้สถาบันการเงินต้องสมทบเงินให้กับ FSCS ก่อนที่จะเกิดกรณีสถาบันการเงินล้ม (pre-funding basis)แล้วค่อยเรียกเก็บเงินสมทบเช่นปจั จุบันที่ส่งผลให้ FSCS ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะรองรับปญั หาวิกฤตจนรัฐบาลต้องเข้ามารับผิดชอบค้ำประกันให้กับ FSCS ในการกู้ยืมเงินเพื่อชดเชยคืนให้กับผู้ฝากเงินจนกลายเป็นภาระของรัฐบาล โดยแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากวิกฤตธนาคาร Northern Rock ที่มองว่าระบบการจัดการปญั หากรณีที่มีสถาบันการเงินล้มลงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในสภาวะปจั จุบันไม่ว่าจะเป็นระบบคุ้มครองเงินฝากและกระบวนการของทางการในการแทรกแซงการดำเนินงานและโอนกิจการสถาบันการเงินเพื่อรักษาความเชื่อมัน่ ของประชาชนไว้ จึงได้นำรูปแบบในการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินจากสหรัฐฯ เข้ามาประยุกต์ใช้และนำมาซึ่งการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอำนาจการแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินเมื่อมีความจำเป็น ขณะที่กรณีกลไกการคุ้มครองเงินฝากก็จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ผู้ประกอบการสถาบันการเงินทัง้หมดต้องเข้ามารับผิดชอบร่วมกันโดยเฉพาะการเรียกเก็บเงินสมทบล่วงหน้า ซึ่งประเด็นนี้บรรดาผู้ประกอบการเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจากมองว่าจะกระทบต่อต้นทุนของธนาคารและจะทำให้ลูกค้าต้องเสียดอกเบี้ยสูงขึ้นสำหรับประเด็นการเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และตลาด

การเงินทัง้ Securitisation และ Derivatives นั้น ก็สอดคล้องกับแนวทางที่การประชุม G20 ได้เห็นชอบไว้ ซึ่งในอนาคตสถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะถูกกำกับอย่างเข้มงวดมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเร่งขยายธุรกรรมลง (over-leveraged) ซึ่งก็รวมถึงสถาบันการเงินประเภทวาณิชธนกิจด้วย

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ