Cabinet Office ได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นปีงบประมาณ 2552 ฟื้นตัว ถึงแม้จะมีความเสี่ยงด้านอัตราการว่างงานที่ค่อนข้างสูงและภาวะเงินฝืด เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงติดต่อกันมาหลายเดือนแล้วนับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เป็นผลมาจากอุปทานส่วนเกิน และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปี 2551
Real GDP Growth ในปีงบประมาณ 2552 ติดลบร้อยละ -2.6 ในขณะที่ Nominal GDP ติดลบร้อยละ -4.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า GDP Growth ลดลงอย่างมากเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันแล้ว
ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอ่อนๆ คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีการฟื้นตัวอย่างช้าๆ การเน้นการสร้างอุปสงค์จากภาคครัวเรือนจะช่วยชดเชยการลดลงของอุปสงค์ภาคเอกชน ปัญหาอัตราการว่างงานในระดับสูงและภาวะเงินฝืดยังคงเป็นปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม คาดว่า Real GDP Growth ในปีงบประมาณ 2553 ทั้งปี จะเติบโตร้อยละ 1.4 เป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในขณะที่ Nominal GDP จะโตร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า GDP Growth ลดลงอย่างมากเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันแล้ว
ปัจจัยเสี่ยงในอนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ ปัญหาการว่างงานในระดับสูง และภาวะเงินฝืดเนื่องจากการบริโภคลดลง ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้สินค้าญี่ปุ่นสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก
ดัชนีเศรษฐกิจญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.53 (ตัวเลขล่าสุด)
2.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ม.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
Ministry of Economic Trade and Industry: METI ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือน ม.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 91.9 (ปี 2005=100) เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 11 เดือนแล้ว เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม แต่คาดว่าการเรียกรถยนต์คืนโตโยต้าส่งผลให้มีความเสี่ยงด้านการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน ม.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
2.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจำเดือน ม.ค.53 ลดลงร้อยละ 1.3 อยู่ที่ 99.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภคได้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 11 เดือนแล้ว เนื่องจากสินค้าบริโภคหลายประเภทลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงภาวะเงินฝืดในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น
2.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
อัตราการว่างงานเดือนม.ค.53 ลดลงเป็นร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในเดือน ธ.ค.52 ซึ่งอัตราต่ำกว่าร้อยละ 5 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ภาวะเศรฐกิจฟื้นตัวขึ้นส่งผลให้ภาวะการจ้างงานดีขึ้นด้วย แต่ยังใช้เวลาเพื่อฟื้นตัวในการจ้างงานอย่างแท้จริง
2.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือน ม.ค.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจำเดือน ม.ค.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มติดต่อกัน 6 เดือนแล้ว เป็นผลจากผู้บริโภคซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
2.5 การส่งออก/นำเข้า
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการเกินส่งออกเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนแล้ว โดยส่งออกไปยังเอเซียและจีนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.1 และ 79.9 ตามลำดับ การส่งออกชิ้นส่วน IC และรถยนต์เพิ่มขึ้น การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เนื่องจากรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การเรียกคืนรถยนต์ของบริษัท โตโยต้าส่งผลกระทบต่อการส่งออกญี่ปุ่นอย่างมากต่อไป ขณะที่ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน เนื่องจากการ นำเข้าน้ำมันดิบและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น แสดงถึงการกระเตื้องขึ้นของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าสินค้าขั้นกลางสำหรับใช้ในการผลิต
2.6 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ(International Reserve) กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้
เปิดเผยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือน พ.ย. 52 มีจำนวน 1,073.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสาธารณรัฐประชาชนจีน (International Reserve) กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้
2.7 ราคาที่ดิน
กรมสรรพากรญี่ปุ่น (National Tax Agency) ได้เปิดเผยผลการประเมินราคาที่ดินทั่วญี่ปุ่นใน 47 จังหวัด เมื่อเดือน ก.ค.52 ว่า ได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และการซบเซาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
3.1 นโยบายอัตราดอกเบี้ย
ช่วงที่ผ่านมา BOJ ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเหลือเพียงร้อยละ 0.10 ช่วงที่ผ่านมา BOJ ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกหลังจากที่ได้ลดลงครั้งล่าสุดในเดือน ธ.ค.51 อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดในปัจจุบันทำให้ BOJ ต้องอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบการเงินมากขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง
3.2 อัตราแลกเปลี่ยน
วิกฤตการเงินโลกทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อเงินเยนเพิ่ม เพื่อนำเงินกลับมาลงทุนในประเทศมากขึ้น สถานการณ์ Yen Carry Trade ได้ลดลง ประกอบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลง สะท้อนภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลง ส่งผลอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งตัวขึ้นมาก อยู่ที่ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 90 เยน วิกฤตการเงินโลกทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นซื้อเงินเยนเพิ่ม เพื่อนำเงินกลับมา
3.3 สถานการณ์ธนาคารพาณิชย์
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ผ่านมาทำให้ Real Sector ประสบปัญหาต่อเนื่องโดยเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และ SMEs ที่เป็น Supply Chain เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจส่งออกล้มละลายมากขึ้น ราคาหลักทรัพย์ยังคงปรับตัวลดลง บริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำ ขาดทุนอย่างหนักนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ทำให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นๆของญี่ปุ่นมีผลประกอบการขาดทุน จนต้องใช้เงินทุนของรัฐบาลเข้าไปช่วยฟื้นฟู ในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี เริ่มดีขึ้น
วิกฤตการเงินที่ผ่านมาได้เปลี่ยน Financial Landscape ในญี่ปุ่น สถาบันการเงินขนาดเล็กควบรวมกิจการกันมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด แต่ธนาคารขนาดใหญ่ ถึงแม้ขาดทุนแต่ฐานะการเงินยังแข็งแกร่งพอที่จะเข้าซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงินต่างประเทศ อาทิ 1) Sumitomo Mitsui Financial Group Inc. เข้าซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์ Nikko Cordial ในเครือ Citibank สหรัฐฯ 2) Mitsubishi UFJ Financial Group Inc.เข้าซื้อหุ้นของ Morgan Stanley ของสหรัฐฯ 3) ธนาคาร Shinsei และธนาคาร Aozora ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 7 และ 8 ตามลำดับ ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น 4) บริษัทหลักทรัพย์ Mizuho Securities ได้ประกาศรวมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ Shinkou Securities และ 5) AIG โตเกียว ได้ขายอาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่ย่านธุรกิจการเงินใจกลางกรุงโตเกียว เพื่อใช้หนี้ของสำนักงานใหญ่ ซึ่งบริษัทประกันภัยญี่ปุ่น Nippon Insurance ได้เข้าซื้อ
3.4 สัดส่วน NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์
Financial Services Agency: FSA หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของญี่ปุ่นได้เปิดเผยว่า NPLs ในระบบธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นรายใหญ่ 11 แห่ง ณ มี.ค. 52 อยู่ที่ระดับร้อยละ1.66 (เพิ่มจาก 1.52 ณ ก.ย.51) สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio: CAR) อยู่ที่ร้อยละ 12.42 (สูงกว่าร้อยละ 11.73 ณ ก.ย.51) และสูงกว่ามาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ร้อยละ 8
3.5 สถานการณ์ตลาดทุน
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ได้ทำให้ดัชนีมูลค่าหลักทรัพย์เฉลี่ยที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange: TSE) เมื่อวันที่ 10 มี.ค.52 ลดลงเหลือ 7,054.98 ต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี เปรียบเทียบกับ เมื่อเดือน มี.ค.43 ที่มีมูลค่าสูงสุดถึง 20,081 เยน ปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 10,000 เยน
ผลของราคาหลักทรัพย์ลดลงได้ทำให้เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลดลงและระมัดระวังการปล่อยกู้แก่เอกชนและมีบริษัทล้มละลายมากขึ้น ทั้งนี้ TSE ได้เปิดเผยว่าในปี 2552 มีบริษัทญี่ปุ่นถอนชื่อออกจากการซื้อขายหุ้นในตลาดฯ เป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2499 เป็นผลมาจากการล้มละลายของบริษัทต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งมีการควบรวมกิจการ (Ms&As) กันมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ทำให้จำนวนบริษัทลดลง
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange Group Inc.) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง เคยมีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ได้เลื่อนแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนจากเดิมกำหนดไว้ภายในสิ้น 2552 เป็นภายหลังปี 2553 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ญี่ปุ่น โดยเฉพาะหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond) มีขนาดเล็ก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้เอกชนนิยมระดมเงินจากธนาคารพาณิชย์แทน ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) จากการที่รัฐบาลมีหนี้สาธารณะที่อยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนที่มีอยู่ในตลาดและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจัดทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้น เพราะต้องระดมเงินทุนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในขณะที่หุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond) ปัจจุบันมีน้อยมาก เนื่องจากฐานะการเงินของภาคเอกชนอ่อนแอการขยายการลงทุนลดลง การออกหุ้นกู้ใหม่จึงมีน้อย
4.1 ภาระหนี้ในรูปของพันธบัตรรัฐบาลในประเทศสูงถึงประมาณร้อยละ 200 ของ GDP และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเป็นเศรษฐกิจที่มีคนแก่มากขึ้น (Aging Economy) ปัจจุบันประชากรร้อยละ 21 อายุมากกว่า 65 ปี ในขณะที่วัยทำงานมีแนวโน้มจะลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดลดลง แต่คนมีอายุยืนขึ้น ทำให้รัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการและประกันสังคมมากขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ทำให้ภาระหนี้ของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้พยายามปรับปรุงฐานะการคลัง โดยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงและมีเป้าหมายจัดทำงบประมาณเกินดุลใน ปี 2554 จากที่ขาดดุลงบประมาณติดต่อกันมาหลายปี รวมทั้งได้กำหนดเพดานการออกพันธบัตรรัฐบาล สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในงบประมาณปีละไม่เกิน 30 ล้านล้านเยน แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยปี 2551-2552 ได้ทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายมาก ในขณะที่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าเพดานที่กำหนดไว้เดิม และเลื่อนเป้าหมายการใช้วินัยการคลังต่างๆ ดังกล่าวออกไป
4.2 สำหรับงบประมาณรายจ่ายปี 2553 ซึ่งเพิ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและกำลังจะประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2553 นี้ อันเป็นปีเริ่มต้นงบประมาณของญี่ปุ่น มีการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้น ถึงร้อยละ 8 ของ GDP ภาวะหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าร้อยละ 200 ของ GDP เนื่องจากรัฐบาลต้องออกพันธบัตรรัฐบาลมาชดเชยรายได้ที่เก็บจากภาษีที่ลดลงเป็นจำนวนมาก 1(ออกพันธบัตรรัฐบาล 44 ล้านล้านเยน) รายได้จากการเก็บภาษีน้อยที่สุดเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (รายได้จากการเก็บภาษีเพียง 37 ล้านล้านเยน) ในขณะที่1 รัฐบาลปัจจุบันเน้นการอุดหนุนรายได้ภาคครัวเรือนแทนการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าว่าจะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
4.3 งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 มีจำนวน 92.3 ล้านล้านเยน เพิ่มจาก 88.5 ล้านล้านเยนในปีก่อนหน้า ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อประกันสังคมมีสัดส่วนมากที่สุดที่ร้อยละ 29.5 (เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 28) รองลงมาเป็นรายจ่ายเพื่อชำระหนี้ที่เป็นดอกเบี้ยและเงินต้นร้อยละ 22.4 (ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.9) จัดสรรให้รัฐบาลท้องถิ่นร้อยละ 18.9 (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 18.7)
รัฐบาลได้ประกาศชะลอการแปรรูปธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น (Development Bank of Japan (DBJ) และธนาคารเพื่อ SMEs (Shoko Chukin Bank) โดยจะขยายเวลาออกไป 3 ปีครึ่ง และได้ตัดสินใจอีกครั้งว่าจำเป็นที่จะแปรรูปสถาบันการเงินทั้งสองแห่งเป็นบริษัทเอกชนหรือไม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ภายใต้แผนปฏิรูปสถาบันการเงินของรัฐที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2551 สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี Koizumi ภายใต้นโยบาย Small Government ให้เอกชนดำเนินการแทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
ของรัฐบาล นับตั้งแต่แปรรูป Japan Post และได้มีการจัดตั้ง Japan Post Holding Company ที่มีรัฐบาลถือหุ้นทั้งหมด มีบริษัทย่อยๆ 4 บริษัทได้แก่ 1) Postal Network Co. 2) Japan Post Service Co. 3) Japan Post Bank Co. และ 4) Japan Post Insurance Co. เพื่อทยอยขายหุ้นของบริษัทย่อยดังกล่าวในปีงบประมาณ 2553 และเป็นเอกชนทั้งหมดภายในปี 2560 ซึ่งปัจจุบันการแปรรูปบริษัทย่อย 4 บริษัทดังกล่าวได้เลื่อนออกไป
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล 8 แห่ง ซึ่งรวมถึงการยุบ การควบรวม การแปรรูป เพื่อลดการสนับสนุนจากภาครัฐและปรับปรุงฐานะการคลังให้ดีขึ้น กล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 4 แห่งได้แก่ 1) JBIC (ส่วนงาน EXIM Bank) 2) บรรษัทเงินทุนเพื่อลูกค้าขนาดย่อม (National Life Finance Corporation) 3) บรรษัทเงินทุนเพื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม (Japan Finance Corporation for Small and Medium Enterprises) 4) และบรรษัทเงินทุนเพื่อการเกษตร ป่าไม้และประมง (Agriculture, Forestry, and Fisheries Finance Corporation) ได้ควบรวมกันและเป็นสถาบันการเงินของรัฐแห่งใหม่ชื่อ Japan Finance Corporation (JFC) โดยเริ่มดำเนินการแล้วนับตั้งแต่ 1 ต.ค. 51 ที่ผ่านมา และบรรษัทเงินทุนเพื่อพัฒนาเกาะ Okinawa (Okinawa Development Finance Corporation) จะต้องควบรวมกับ 4 สถาบันการเงินที่กล่าวข้างต้นภายในปีงบประมาณ 2555 และให้แปรรูป DBJ และ Shoko Chukin Bank เริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.51 จนเป็นเอกชนสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันแผนการดังกล่าวได้เลื่อนออกไปเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ภายใต้นโยบายของรัฐบาลใหม่ กำลังพิจารณาที่แยก JBIC มาเป็นอิสระจาก JFC อีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่าวัฒนธรรมองค์กรและลักษณะงานแตกต่างกัน โดยจะให้ JBIC ทำหน้าที่สนับสนุนเอกชนญี่ปุ่นในต่างประเทศมากขึ้น
รัฐบาลภายใต้การนำนายกรัฐมนตรี นาย Yukio Hatoyama จากพรรค Democratic Party of Japan: DPJ
- ตั้งเป้าหมาย Real GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 2 และ Nominal GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3 นับจากนี้ เป็นต้นไปจนถึงปี 2063 (2020)
- คาดว่า Nominal GDP จะเพิ่มจาก 473 ล้านล้านเยนในปี 2552 เป็นจำนวน 650 ล้านล้านเยนในปี 2063
- ลดอัตราการว่างงานลงเหลือร้อยละ 3-4
- ใช้นโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
1) ด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานเป้าหมายภายในปี 2063
- จะสร้างตลาดใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 50 ล้านล้านเยน และสร้างงานด้านสิ่งแวดล้อมใหม่จำนวน 1.4 ล้าน
- จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจำนวน 1.3 พันล้านเมตริกตันคาร์บอน โดยใช้เทคโนโลยี่ของญี่ปุ่นนำ
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy)
- ปรับโครงสร้างระบบบ้านที่อยู่อาศัย สำนักงานให้เป็นอาคารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
- พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี่ด้านสิ่งแวดล้อม
- ให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อสร้างสังคมที่เป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันรัฐบาลกำลังอยู่ในระหว่างการออกกฎมายฉบับใหม่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกว่าภายในปี 2563 ญี่ปุ่นจะลดเป็นจำนวนถึงร้อยละ 25 เทียบกับปีฐาน 2533 ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก โดยรวมถึง 1) ศึกษาระบบการค้าคาร์บอนเครดิตรวมถึงการจัดตั้งตลาด Carbon Exchange โดยอาจจะนำระบบ Cap and Trade เหมือนในยุโรปมาบังคับเอกชนลด 2) เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมใหม่ (New Environmental Tax ) สำหรับน้ำมันและเชื้อเพลิงจากฟอสซิล เป็นต้น ซึ่งกำลังถูกคัดค้านจากภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Japan Iron and Steel Federation และ Petroleum Association of Japan เป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก เพราะจะเพิ่มภาระต้นทุนแก่เอกชนอย่างมากเพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจมีผลทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง
2) ด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาล
เป้าหมายภายในปี 2063
- ส่งเสริมการสร้างงานภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับความต้องการของแรงงานในตลาดจำนวน 45 ล้านล้านคนในตลาดใหม่ และ 2.8 ล้านตำแหน่งงานใหม่
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- ส่งเสริมอุตสาหกรรมยาและบริการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
- ส่งเสริม R&D นวัตกรรมยารักษาโรค อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์
3) เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในเอเซีย
เป้าหมายภายในปี 2063
- สร้างเขตการค้าเสรี Asia Pacific
- เพิ่มการเคลื่อนย้ายของบุคคล สินค้าและเงินทุน
- สร้างรายได้แก่ภูมิภาคเอเซียเพิ่มขึ้น
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเอเซีย โดยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทั้งด้านการขนส่งทางรถไฟ ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน
- ส่งเสริมให้สนามบินฮาเนดะ เป็นศูนย์กลางสนามบินนานาชาติ 24 ชม.
4) การท่องเที่ยว และการฟื้นฟูท้องถิ่น
เป้าหมายภายในปี 2063
- เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 25 ล้านคน เพื่อสร้างงานใหม่จำนวน 560,000 งาน
- เพิ่มความเพียงพอด้านอาหารถึงร้อยละ 50 จากปัจจุบันร้อยละ 40 รวมทั้งส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- ผ่อนคลายกฎระเบียบด้านวีซาสำหรับประเทศในเอเซีย
- สนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5) ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
เป้าหมายภายในปี 2063
- ส่งเสริมภาครัฐและเอกชนให้ลงทุน R&D มากขึ้น มากกว่าร้อยละ 4 ของ GDP
- รับรองการสร้างงานสำหรับบุคลากรที่จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
- ส่งเสริมความสะดวกสบายการใช้ชีวิตประจำวันโดยอุปกรณ์เทคโนโลยี่สื่อสาร
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- เร่งการปฏิรูปมหาวิยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ
- ส่งเสริมนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี่
- จัดให้มีบริการ One stop ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยี่สื่อสาร
6) ด้านการจ้างงานและทรัพยากรมนุษย์
เป้าหมายภายในปี 2063
- เพิ่มแรงงานผู้หญิงในตลาดแรงงานมากขึ้น
- รักษาระดับการเป็นประเทศที่เป็นเลิศทางด้านวิชาการ
มาตรการที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
- จัดให้มีระบบการเลี้ยงเด็กเล็กในสถานที่ทำงาน
- ลดชั่วโมงการทำงานของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบาย ลดความสำคัญของหน่วยงานภาครัฐและจะเพิ่มบทบาทของนักการเมืองในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมากขึ้น ปัจจุบันมีนักการเมืองมาปฏิบัติงานในกระทรวงต่างๆ จำนวนมาก กำลังข่มขวัญ (Treats) ข้าราชการประจำอย่างมากต่างจากเดิม (ภายใต้การนำของพรรค Liberal Democratic Party: LDP พรรครัฐบาลเดิม) ที่เคยมีอำนาจมากในกำหนดนโยบายต่างๆ ของประเทศ
ถึงแม้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายมาก แต่ยังไม่มีนโยบายจะขึ้นภาษี โดยจะรักษาระดับการเก็บภาษีบริโภค (Consumption Tax) ที่ปัจจุบันเก็บที่อัตราร้อยละ 5 เป็นเวลา 4 ปีนับแต่จากนี้ (ถึงปี 2556) โดยจะเน้นลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแทน
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุดแล้ว แต่รัฐบาลใหม่0กำลังเผชิญปัญหาท้าทายทางเศรษฐกิจต่างๆ ดังนี้
1) ปัญหาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น0ยังคงเปราะบาง ประกอบกับค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นมาก มีผลให้การส่งออกของญี่ปุ่นยังมีความไม่แน่นอนสูง 0ภายใต้ข้อจำกัดทางด้านเครื่องมือทางการเงินการคลัง-อัตราดอกเบี้ยต่ำมากที่ร้อยละ 0.1 ในขณะที่หนี้สาธารณะสูงมาก เกือบ 2 เท่าของ GDP (ปี 50: GDP 423 ล้านล้านเยน ในขณะที่หนี้สาธารณะมีจำนวน 849 ล้านล้านเยน)
2) ประชากรเป็น Aging Society ทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสวัดิการมากขึ้น
3) ปัญหาเงินฝืดที่เกิดจากดัชนีผู้บริโภคลดลงติดต่อกันมา 11 เดือนแล้ว
4) ปัญหาอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ระดับสูง
5) ความไม่ชัดเจน (Consistency) ของนโยบายรัฐบาลใหม่ ที่ยังสร้างความสับสน ได้แก่
5.1 มาตรการอุดหนุและเพิ่มการสนับสนุนภาคครัวเรือนต่างๆ ที่ประกาศมามากมายทำให้เกิดความสงสัยว่ารัฐบาลจะนำเงินรายได้จากแหล่งใดมาเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากหนี้สาธารณะสูงมากกว่าร้อยละ 200 ต่อ GDP
5.2 ลดค่าทางด่วนในวันหยุดเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เกิดรถติดมากมาย นอกจากนี้ ก่อให้เกิดผลเสียต่อรายได้ของระบบขนส่งมวลชนรวมทั้ง JAL ที่กำลังประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก จนรัฐบาลต้องเข้าฟื้นฟูกิจการ
5.3 การประกาศเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของญี่ปุ่นที่สูงมากถึงร้อยละ 25 กำลังได้รับการต่อต้านจากภาคเอกชนโดยเฉพาะสมาพันธ์อุตสาหกรรมญี่ปุ่น เพราะกำลังเป็นภาระต้นทุนของเอกชนและภาคครัวเรือน ในระยะต่อไปรัฐบาลอาจไม่ได้รับความร่วมมือจากเอกชน
5.4 เช่นเดียวกับการประกาศสนับสนุนให้นักการเมืองมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนระบบราชการ ประกาศตัดทอนรายจ่ายของข้าราชการลดลงเป็นจำนวนมากซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันและไม่ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ
5.5 เรื่องอื่นๆ เช่น เปลี่ยนนโยบายการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ ล้วนเป็นประเด็นร้อนที่กำลังเป็นที่จับตามองจากทุกฝ่าย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายใหม่ที่เน้นการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในเอเซีย น่าจะเป็นผลดีกับประเทศไทย รวมทั้งภูมิภาคเอเซีย
--------------------------------------------------------- References
1. http://www.cao.go.jp/index-e.html Cabinet Office
2. http://www.mof.go.jp/english/index.htm กระทรวงการคลังญี่ปุ่น
4. รายงาน Monthly Report of Recent Economic and Financial Development, Bank of Japan
โดย สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังประจำ กรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th