รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 3-14 พฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 25, 2010 12:12 —กระทรวงการคลัง

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในสัปดาห์นี้

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน มี.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index) ประจาเดือน มี.ค.53 ลดลงร้อยละ 1.2 สร้างความกังวลว่าภาวะเงินฝืดจะยืดเยื้อนานกว่าที่คาด

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน มี.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 5.0

2. รายได้จากการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 63.7

3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด งบประมาณปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26

4. กระทรวงการคลังญี่ปุ่นมีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2554 ในปริมาณเท่ากับในงบประมาณปี 2553

5. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จานวน 10 แห่งของญี่ปุ่นมีผลประกอบการดีขึ้น

-----------------------------------

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงสัปดาห์นี้

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือน มี.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือน มี.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 94.0 (ปี 2548=100) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน โดยมีสินค้าสาคัญที่เพิ่มขึ้นคือเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1และยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 นอกจากนี้การส่งออกยานยนต์ไปยังกลุ่มประเทศเอเซียและสหรัฐฯ ดีขึ้น ทั้งนี้การเรียกคืนรถยนต์ของบริษัทโตโยต้าไม่ได้ผลกระทบต่อผลการผลิตภาคอุตสาหกรรมนัก

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ไม่รวมอาหารสด) (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือน มี.ค.53 ลดลงร้อยละ 1.2 อยู่ที่ 99.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งดัชนีราคาผู้บริโภคได้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 13 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาสินค้าบริโภคทุกประเภทลดลงอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีความกังวลว่าภาวะเงินฝืด (deflation) อาจจะนานกว่าที่คาดการณ์ไว้

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

อัตราการว่างงานเดือน มี.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากอัตราเดือนที่แล้ว ร้อยละ 4.9 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าร้อยละ 5 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2545

2. รายได้จากการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 63.7

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดรายได้จากการเก็บภาษีทั้งหมดของปีงบประมาณ 2552 ได้ลดลงร้อยละ 17.2 เหลือจานวน 28.9681 ล้านล้านเยน โดยมีรายได้จากการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 13.4 เหลือจานวน 10.9910 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นจานวนต่ากว่า 13 ล้านล้านเยน เป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี นับตั้งแต่ปี 2525 เนื่องจากผลกาไรของบริษัทลดลงทาให้รายได้จากการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงร้อยละ 63.7 เหลือจานวน 2.4018 ล้านล้านเยน ส่วนรายได้จากการเก็บภาษีผู้บริโภคก็ลดลงร้อยละ 5 เป็นจานวน 6.9673 ล้านล้านเยน คณะกรรมการศึกษาการจัดเก็บภาษีแสดงความกังวลว่าโครงสร้างการจัดเก็บภาษีส่งผลให้รายได้จากการเก็บภาษีลดลงอย่างมาก แต่ไม่สามารถปรับปรุงได้

รายได้จากการเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2552

จำนวน ร้อยละ ยอดรวม (งบประมาณทั่วไป) 28.9681 ล้านล้านเยน -17.2 รายได้จากการเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 10.9910 ล้านล้านเยน -13.4 รายได้จากการเก็บภาษีรายได้นิติบุคคล 2.4018 ล้านล้านเยน -63.7 รายได้จากการเก็บภาษีผู้บริโภค 6.9673 ล้านล้านเยน -5.0 ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น 3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด งบประมาณปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีงบประมาณ 2552 มีจานวน 15.65 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี การเกินดุลการค้ามีจานวน 6.61 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 5.7 เท่าของปีก่อนหน้าและการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2529 โดยยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 18 มีจานวน 55.5 ล้านล้านเยน การส่งออกยานยนต์ไปยังประเทศในเอเซียลดลง ผลมาจากค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นถึง 92.85 ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉลี่ยในปีงบประมาณ 2552 จากปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันการนาเข้าก็ลดลงร้อยละ 26.5 มีจานวน 48.9 ล้านล้านเยน เนื่องจากการนาเข้าสินค้าน้ามัน น้ามันดิบและอาหารลดลงอย่างมาก ส่วนการเกินดุลการค้าและบริการมีจานวน 4.78 ล้านล้านเยน ปรับตัวจากการขาดดุลปีก่อนหน้า ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลงร้อยละ 17.9 เหลือจานวน 11.96 ล้านล้านเยน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยโดยรวมของภูมิภาคอื่นๆ ต่า ทาให้รายรับจากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลง และผลกาไรของบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศก็ลดลงด้วย รายละเอียดปรากฎตามตารางที่แนบ 4. กระทรวงการคลังญี่ปุ่นมีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2554 ในปริมาณเท่ากับการออกพันธบัตรในงบประมาณปี 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น (Mr. Naoto Kan) ได้กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ว่ากระทรวงการคลังจะใช้ความพยายามเต็มที่ในการที่จะออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2554ไม่เกินจานวนที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2553 (44.3 ล้านล้านเยน) โดยเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2553 ญี่ปุ่นมียอดพันธบัตรของรัฐบาลกลางและส่วนท้องถิ่นเป็นจานวน 825 ล้านล้านเยนหรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เห็นว่าถึงแม้กระทรวงการคลังสามารถที่จะทาการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลในจานวนเท่าเดิมก็ยังเป็นยอดที่สูงเป็นประวัติการณ์ 2 ปีติดต่อกันอยู่ดี นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการที่กระทรวงการคลังจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากว่าถ้ารัฐบาลยังคงยอดการใช้จ่ายในระดับเดิมเมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2553 นั้น กระทรวงการคลังจาเป็นจะต้องออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2554 เป็นจานวนถึง 50 ล้านล้านเยน ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจาเป็นที่จะต้องตัดงบการใช้จ่ายลงอย่างมาก ซึ่งจะขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลเองที่จะเพิ่มงบประมาณรายจ่าย เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีบุตร การให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวเกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการหาเสียงของพรรค DPJ เมื่อปีที่แล้วก่อนได้เป็นรัฐบาล 5. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จานวน 10 แห่งของญี่ปุ่นมีผลประกอบการดีขึ้น เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ได้มีการเปิดเผยผลประกอบการ ณ เดือนมีนาคม 2553 ของบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่จานวน 10 แห่งของญี่ปุ่นว่าได้มีการปรับตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้นทุกบริษัท จากเดิมที่มีผลประกอบการติดลบเป็นจานวน 5 บริษัท ซึ่งครั้งนี้มียอดรวมผลประกอบการทุกบริษัทจานวนเท่ากับ 964 พันล้านเยน ปรับตัวดีขึ้นเป็นจานวนมากกว่า 1 ล้านล้านเยนเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า บรรดาผู้บริหารของบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้กล่าวว่าการฟื้นตัวครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดยานยนต์ในประเทศกาลังพัฒนา เช่น อินเดีย และประเทศจีนที่เป็นตลาดยานยนต์อันดับ 1 ของโลกในปี 2552 โดยจีนมียอดการจาหน่ายรถยนต์ในปี 2552 เท่ากับ 7 แสน 6 หมื่นคัน เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 38.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สาหรับตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นรัฐบาลได้มีการใช้นโยบายสนับสนุนผู้ซื้อรถประหยัดพลังงาน (ECO Car) ส่งผลให้ยอดการจาหน่ายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้นการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ทาให้อุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวในครั้งนี้ ส่วนที่มาของผลกาไรครั้งนี้เนื่องจากราคาเหล็กกล้าที่เป็นวัตถุดิบนั้นได้ปรับตัวลดลงส่งผลให้ต้นทุนลดตามลงมา และบริษัททุกแห่งได้ใช้นโยบายการลดค่าใช้จ่ายเช่น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา และส่งเสริมการขายลงอย่างมากเพื่อตอบรับกับสภาพยอดขายที่ต่าลงและปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวที่ส่งผลให้รายได้จากต่างประเทศนั้นลดลง ซึ่งประเด็นสาคัญจากนี้ที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จะต้องคานึงถึงนั้นคือการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะยกเลิกนโยบายสนับสนุนผู้ซื้อรถประหยัดพลังงานในเดือนกันยายน 2553 และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กนั้นกาลังเรียกร้องขอขึ้นราคาเหล็กกล้า รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดจากวิกฤตเงินยูโรที่กาลังก่อตัวในปัจจุบันว่าจะส่งผลให้ตลาดยานยนต์นั้นกลับมาซบเซาเช่นเดิมหรือไม่ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2552 (Balance of Payments) หน่วย: พันล้านเยน รายการ ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2551 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 15,654.5 12,336.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (26.9) (-49.7) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 4,778.4 -887.8 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 6,608.8 1,159.1 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (470.2) (-90.1) การส่งออก (Exports) 55,536.8 67,711.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-18.0) (-16.3) การนำเข้า (Imports) 48,928.0 66,552.7 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-26.5) (-3.9) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -1,830.3 -2,046.9 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 11,955.3 14,553.1 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -1,079.2 -1,329.0 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -12,338.6 -17,305.3 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -11,850.8 -16,811.4 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -5,259.2 -10,108.7 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) -13,659.6 -25,997.8 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 802.3 1,958.0 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) 6,265.8 17,337.1 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -487.8 -49.4 3. ยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -2,399.2 -2,475.8 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น หมายเหตุ: เนื่องจากวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2553 เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้นสำนักงานฯ จึงได้สรุปรายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 3 - 14 พฤษภาคม 2553 สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ