สรุปการบรรยาย U.S. Trade Policy Developments

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 24, 2010 11:33 —กระทรวงการคลัง

1. ภาพรวมนโยบายทางการค้าสหรัฐ

ในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาไม่ได้เน้นความสาคัญของนโยบายทางการค้ากับต่างประเทศมากนัก โดยรัฐสภาสหรัฐฯ ค่อนข้างเน้นการผลักดันกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภายในประเทศเป็นหลัก เช่น แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การปฎิรูประบบการเงิน และ Healthcare เป็นต้น โดยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความล่าช้าของการพิจารณาจัดทาสนธิสัญญาทางการค้าต่างๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) สหรัฐฯ-โคลอมเบีย ปานามา เกาหลีใต้ และความตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP-FTA) รวมถึงท่าทีที่ไม่ชัดเจนของสหรัฐฯ ต่อการเจรจารอบโดฮาในการประชุมองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)

ทั้งนี้ ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการจัดทาสนธิสัญญาทางการค้าต่างๆ มีดังนี้

1.1 ความตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP) FTA

ในการประชุมรอบที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน 2553 นั้น หัวข้อต่างๆ ที่ถูกหยิบยกเข้าสู่การพิจารณา ได้แก่ มาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคนิค การเปิดตลาด โครงสร้างทางกฎหมายและสถาบันพื้นฐาน การค้าบริการข้ามพรมแดน การแข่งขัน การลงทุน สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มีการกล่าวถึงประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างความตกลง TPP FTA กับความตกลง FTA ระหว่างประเทศสมาชิกที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้

อีกทั้ง ในการประชุม Intersessional Meeting ที่จัดขึ้นกรุงลิมา ประเทศเปรู ในเดือนสิงหาคม 2553 มาเลเซียได้รับการตอบรับจากกลุ่มประเทศสมาชิกในความตกลง TPP FTA ให้สามารถเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีในความตกลง TPP โดยการประชุมครั้งล่าสุดดังกล่าว ได้มุ่งเน้นการหารือในเรื่องการจัดทาร่างตารางข้อผูกพันการเปิดตลาดเป็นหลัก โดยสหรัฐฯ ยังคงผลักดันที่จะให้มีการเจรจาการเปิดตลาดแบบสองฝ่าย (bilateral market access) ในขณะที่ออสเตรเลียต้องการตารางข้อผูกพันการเปิดตลาดเดียวสาหรับประเทศคู่ภาคีทั้งหมด (single market access) อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา

1.2 ความตกลงการค้าเสรี (FTAs) ของสหรัฐฯ กับ ปานามา โคลอมเบีย และเกาหลีใต้

ความตกลงการค้าเสรีของสหรัฐฯ ทั้ง 3 ฉบับ ยังคงมีประเด็นที่ต้องได้รับการปรับแก้ไข เช่น ปัญหาเรื่องมาตรฐานแรงงานและความโปร่งใสด้านมาตรการภาษีของปานามา เหตุการณ์ความรุนแรงต่อสหภาพแรงงานและการคุ้มครองสิทธิแรงงานในโคลอมเบีย รวมถึงปัญหาการเปิดตลาดรถยนต์และตลาดเนื้อวัวในเกาหลีใต้ โดยจากทั้ง 3 ฉบับ ความตกลงกับเกาหลีใต้ได้รับความสนใจสูงสุดจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีโอบามาออกมาแถลงถึงความประสงค์ที่จะทางานร่วมกับเกาหลีใต้อย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งแก้ไขประเด็นอุปสรรคให้สาเร็จก่อนที่ประธานาธิบดีโอบามาจะมีกาหนดการเยือน เกาหลีใต้ เพื่อประชุม G-20 ในเดือนพฤศจิกายน 2553

1.3 การเจราจารอบโดฮาภายใต้ WTO

สหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนเพื่อให้การเจรจารอบโดฮามีความคืบหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นการโต้แย้งในเรื่องการปรับลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรยังคงเป็นประเด็นสาคัญที่สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศสมาชิกไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ซึ่งส่งผลให้การเจรจาในด้านอื่นๆ เช่น การค้าบริการ ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

2. แผนการส่งเสริมการส่งออกตามโครงการ National Export Initiative (NEI)

โครงการ NEI มีจุดประสงค์หลักเพื่อขยายปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ ให้เป็น 2 เท่าภายปี 2558 โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้นาเสนอโครงการต่างๆ ภายใต้ NEI ได้แก่ การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางให้ขยายการส่งออกไปยังต่างประเทศ การส่งเสริมการบริการลูกค้าสาหรับธุรกิจที่มีการส่งออกอยู่แล้ว การลงทุนในประเทศที่เป็นตลาดธุรกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย และ บราซิล การให้สินเชื่อสาหรับธุรกิจขนาดเล็กผ่านธนาคารเพื่อการนาเข้าและการส่งออก (Export-Import Bank) การสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง เช่น สินค้าด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน การบริการด้านสุขภาพ และ เทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้จัดตั้ง Export Promotion Cabinet และ Export Council จากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และสหภาพแรงงาน เพื่อสนับสนุนแผนการส่งเสริมการส่งออกดังกล่าว

3. นโยบายทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ

นโยบายทางการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงปี 2553 และถูกคาดการณ์ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักปี 2554 โดยประเด็นทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ยังคงเป็นเรื่องเดิม เช่น การเก็บอากรตอบโต้การทุ่มและการอุดหนุนตลาด (Antidumping and Countervailing Duty: AD/CVD) โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแบบทั่วไป (Generalized System of Preference: GSP) มาตรา 301 พิเศษหรือการจัดทาบัญชีรายชื่อประเทศคู่ค้าที่ไม่ให้การคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ และปัญหาเรื่องแรงงานเด็กที่ถูกเพ่งเล็งจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

อนึ่ง โดยภาพรวม สหรัฐฯ ยังคงมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยในฐานะประเทศคู่ค้าสาคัญ ถึงแม้ว่าไทยจะไม่ได้ถูกจัดลาดับความสาคัญในการออกนโยบายทางการค้าเป็นอันดับต้นๆ โดยมีการคาดการณ์ว่า การจัดทาสนธิสัญญา FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ไม่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้ และหากไทยต้องการผลักดันสนธิสัญญาดังกล่าว ควรจะทาในรูปความตกลง TPP-FTA ซึ่งจะมีความเป็นไปได้มากกว่า

4. กฎหมายตอบโต้การแทรกแซงเงินของประเทศคู่ค้า

ร่างกฎหมาย Currency Exchange Rate Oversight Reform Act of 2010 (S. 3134) ได้ถูกเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะปฏิรูปการตรวจสอบการแทรกแซงค่าเงินของสหรัฐฯ รวมถึงกาหนดมาตรการตอบโต้การแทรกแซงค่าเงินของประเทศคู่ค้า โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะต้องจัดทารายงานการตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างๆ เสนอต่อรัฐสภาปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ จะมีการจาแนกผลการตรวจสอบประเทศที่พบการแทรงแซงค่าเงินออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) ประเทศที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนที่ต่ากว่ามูลค่าที่ควรเป็นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นโดยพื้นฐาน (fundamentally misaligned currency) และ (2) ประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ากว่ามูลค่าที่ควรเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินสกุลอื่นโดยพื้นฐานที่ต้องได้รับการดาเนินการเป็นขั้นแรก (fundamentally misaligned currency for priority action) ซึ่งการที่อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศนั้น ๆ มีมูลค่าต่ากว่าที่ควรเป็นจะต้องเป็นผลสืบเนื่องจากการดาเนินนโยบายของรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ อย่างชัดเจนจากการตรวจสอบดังกล่าว หากมีการตรวจพบการแทรกแซงค่าเงินของประเทศคู่ค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศสหรัฐฯ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ สามารถใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนตลาดภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ (countervailable subsidy) ต่อประเทศนั้น ๆ ได้

ถึงแม้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกผลักดันเพื่อตอบโต้การแทรกแซงเงินหยวนของจีนเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมา หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่า ฝ่ายบริหารสหรัฐฯ ยังคงไม่ได้มีการดาเนินการอย่างจริงจังต่อการดาเนินนโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรมหลายอย่างของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแทรกแซงค่าเงินหยวน ดังนั้น การเสนอร่างกฎหมายต่างๆ เพื่อตอบโต้การแทรกแซงค่าเงิน รวมถึงการดาเนินการภายใต้กระบวนการยุติข้อพิพาทภายใต้ WTO อาจเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อแสดงให้เห็นถึงการดาเนินการในเชิงรุกของฝ่ายบริหารสหรัฐฯ

5. ข้อสังเกต/คิดเห็น

สหรัฐฯ จะมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนผู้แทนราษฎร (US Midterm Election) ในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยมีการคาดการณ์ว่า พรรครีพับรีกันจะได้เสียงในวุฒิสภาและสภาผู้แทนผู้แทนราษฎรมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญของการผลักดันนโยบายทางการค้าต่างๆ ที่ไม่ได้รับการผลักดันเท่าที่ควรจากรัฐสภาที่นาโดยพรรดเดโมแครต และอาจนาไปสู่ความคืบหน้าในการจัดทาสนธิสัญญาทางการค้ากับต่างประเทศของสหรัฐฯ เช่น ความตกลง FTAs สหรัฐฯ-โคลอมเบีย ปานามา เกาหลีใต้ และความตกลง TPP-FTA

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ