สาขาค้าส่งค้าปลีกและการซ่อมแซม ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อน โดยภาคการค้าชะลอลงตามภาวะการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ส่วนการซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ลดลงร้อยละ 1.2 เนื่องจากรายได้ของธุรกิจซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ลดลง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร " โรงแรมขยายตัวชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอลงในช่วงปลายไตรมาส " ขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากร้อยละ 11.0 ในไตรมาสก่อน โดยบริการภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากร้อยละ 5.6 ส่วนโรงแรมขยายตัวร้อยละ 13.6 ต่ำกว่าร้อยละ 26.4 ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศรวมคนไทยที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ชะลอลงจากร้อยละ 24.4 ในไตรมาสก่อน เป็นผลกระทบของเหตุการณ์ทางการเมืองในเดือนกันยายนส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดือนกันยายนชะลอตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มตลาดในเอเชีย เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากตลาดดังกล่าวลดลงกว่าร้อยละ 10.0 ส่วนกลุ่มตลาดยุโรปมิได้วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมซึ่งสะท้อนภาวะการท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ อยู่ที่ร้อยละ 59.3 ต่ำกว่าร้อยละ 60.7 ในช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำแนกตามถิ่นที่อยู่ (พันคน) 2548 2549 2548 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 เอเชีย 6,396 1,349 1,486 1,773 1,788 1,932 1,829 1,941 ยุโรป 2,849 822 507 615 905 1,061 624 674 อเมริกา 833 222 180 187 244 252 221 205 อื่นๆ 1,439 281 334 431 393 377 436 496 รวม 11,651 2,674 2,507 3,006 3,330 3,622 3,110 3,316 นักท่องเที่ยวต่างประเทศรวมคนไทย 11,567 2,693 2,520 3,016 3,338 3,628 3,135 3,343 อัตราเพิ่มร้อยละ -1.4 -10.1 -1.5 1.7 3.7 34.7 24.4 10.8 ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หมายเหตุ ไตรมาสที่ 3/2549 ประมาณการโดย สศช. สาขาตัวกลางทางการเงิน " ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น " ขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อน โดยกิจการธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง เพราะธนาคารมีต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น แม้ว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการยังคงมีการขยายตัวสูง ส่วนธนาคารออมสินมีผลประกอบการดีขึ้น สาขาการบริการอื่น ๆ " บริการอื่นๆ ขยายตัวสูงขึ้น " สาขาบริการโดยรวมขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 4.4 จากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากสาขาบริหารราชการแผ่นดินฯ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.2 ในขณะที่สาขาบริการชุมชนฯ ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน โดยสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากพิเศษ และสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว ซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดของสาขาลดลงร้อยละ 1.1 โดยสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว มียอดรายรับสุทธิลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.6 เป็นผลจากการที่มีผู้ถูกรางวัลมากขึ้น ในขณะที่ยอดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากพิเศษยอดจำหน่ายเท่าเดิม บริการเสริมสวยลดลงต่อเนื่องร้อยละ 15.7 ส่วนบริการกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ 8.5 ชะลอตัวจากร้อยละ 16.5 และบริการด้านกีฬา ขยายตัวสูงร้อยละ 16.5 จากร้อยละ 11.7 ในไตรมาสก่อน ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือน " การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ2.9 เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจการเมือง และภาวะน้ำท่วม " * การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.6 * ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค อาทิ รายได้เกษตรกรที่ชะลอตัวลงอย่างเด่นชัด จากการชะลอลงทั้งปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่งมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายน และภาวะน้ำท่วมขังในหลายจังหวัด ได้ส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้จ่ายสินค้าคงทนที่มีความอ่อนไหวต่อรายได้ โดยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสนี้ชะลอตัวลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสนี้เริ่มอ่อนตัวลง การให้บริการบัตรเครดิตและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (พันล้านบาท) 2549 2548 2548 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 การใช้จ่ายในประเทศ 450 101 107 114 128 131 128 133 การใช้จ่ายในต่างประเทศ 25 5 7 6 6 6 8 7 เบิกเงินสดล่วงหน้า 154 36 36 39 42 46 44 44 การใช้จ่ายรวม 629 143 150 159 177 183 179 184 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 17.3 16.8 17.1 21.9 13.9 28.6 19.5 15.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม 87.7 91.2 86.8 84.9 87.8 85.3 81.2 80.4 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -12.2 -15.2 -15.2 -11.6 -6.3 -6.5 -6.5 -5.3 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย * การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศในประเทศไทย ชะลอลงร้อยละ 2.7 อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ (ร้อยละ) 2548 2549 2548 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 3.5 2.6 3.9 3.7 3.9 6.6 4.3 3.3 หัก : การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ -2.9 -9.1 -4.9 -4.1 6.2 33.7 16.2 9.1 การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยว 4.2 4.0 4.7 4.6 3.6 3.7 3.2 2.7 บวก : การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ 5.2 7.5 3.0 4.9 5.9 10.5 5.9 6.6 การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด 4.3 4.1 4.7 4.6 3.7 3.9 3.3 2.9 (ยังมีต่อ).../รายจ่ายครัว..