(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2546 และแนวโน้มปี 2547

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 12, 2004 16:27 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        ด้านการผลิต:  
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับทำให้ภาคการเงิน ภาคการก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์แข็งแกร่งมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสาขาเศรษฐกิจดังกล่าวโดยปกติมักเป็นเครื่องชี้ตาม (lagging indicator) ที่ยืนยันการปรับตัวขึ้นของวัฏจักรเศรษฐกิจในปี 2546 สาขาการเงินขยายตัวร้อยละ 12.5 เทียบกับร้อยละ 9.0 ในปี 2545 แม้ว่าสาขาก่อสร้างขยายตัวเพียงร้อยละ 3.4 และต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในปี 2545 แต่เนื่องมากจากการก่อสร้างภาครัฐที่ลดลงมากในไตรมาสแรกของปี ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวได้ดี
* การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.3 ซึ่งยังเป็นสาขาการผลิตที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้มากที่สุด ตามเงื่อนไขอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทำให้มีการผลิตเพื่อตอบสนองตลาดมากขึ้นตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในปี 2546 เท่ากับร้อยละ 66.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.3 ร้อยละ 11.7 โดยที่หลายอุตสาหกรรมการผลิตมีการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มกำลัง อาทิ ปิโตรเคมีขั้นต้น โลหะ สังกะสี แผ่นเหล็กชุบสังกะสี แผงวงจรไฟฟ้า และแผ่นเหล็กรีดร้อนและเย็น
* ปี 2546 เป็นปีที่ภาคการเกษตรขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 6.8 จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นทำให้ผลตอบแทนภาคเกษตรสูงขึ้น ภาคการเงิน:
สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วงปี 2546 ณ สิ้นปี 2546 ยอดสินเชื่อคงค้างธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นเร็วกว่าสินเชื่อที่ให้กับภาคธุรกิจ ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาคธุรกิจมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้และตลาดทุนเพิ่มขึ้นมากรวมทั้งมีผลประกอบการสูงขึ้นในปี2546 การระดมทุนโดยการหุ้นกู้ภาคเอกชนและตราสารทุนที่ออกใหม่ในตลาดแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.1 และ 120.2 ตามลำดับ ประกอบกับปริมาณเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าสินเชื่อทำให้สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง การแก้ปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีความคืบหน้ามากขึ้น สัดส่วน NPLs ลดลงตามลำดับและคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.7 ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม ณ สิ้น เดือนธันวาคม 2546
สถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นปี 2546 เท่ากับ 772.15 เพิ่มขึ้นจากระดับ 578.98 ณ สิ้นไตรมาสที่สาม โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 34,236 ล้านบาท ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เทียบกับ 24,257 ล้านบาท ในไตรมาสที่สามภาคธุรกิจเอกชนปรับตัวดีขึ้น กำไรบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น และบริษัทเอกชนสามารถจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้น และโดยเฉลี่ยสัดส่วนหนี้ต่อทุนลดลงสู่ระดับ 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2545
(ยังมีต่อ).../2.เงื่อนไขและ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ