ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 16, 2021 10:00 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค แถลงข่าว วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น.

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 7.5
ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY)
และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สอง
ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 ร้อยละ 0.4
(QoQ_SA) รวมครงึ่ แรกของปี 2564 เศรษฐกจิ ไทยขยายตวั รอ้ ยละ 2.0
ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว
เร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่าย
และการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง
ด้านการผลิต สาขาการผลิตอุตสาหกรรมและสาขาเกษตรกรรม
ขยายตัวเร่งขึ้น สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขา
การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งการขายปลีกและ
การซ่อมแซมฯ และสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ กลับมาขยายตัว ขณะที่
สาขาการก่อสร้างชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.7 ? 1.2
ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน
จาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจาก
การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ (3) ฐานการขยายตัวที่ต่ากว่าเกณฑ์ปกติ
ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 16.3
ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.1 และ
ร้อยละ 4.7 ตามลาดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 1.5 และดุลบัญชีเดินสะพัด
ขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP
ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสาคัญกับ (1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจากัด
โดย (i) การเพิ่มประสิทธิผลในการลดการแพร่เชื้อในครัวเรือน ชุมชน และกลุ่มแรงงาน (ii) การจัดลาดับความสาคัญในการดูแลผู้ป่วยตามอาการ
เพื่อจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (iii) การบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงอย่างเข้มข้นมากขึ้น และ
(iv) การเร่งรัดจัดหาและการกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง (2) การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรค
มีความรุนแรงและมีการดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด โดย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการการเงินและการคลังที่ได้ดาเนินการไปแล้ว
ควบคไ ปกบั การปรบั มาตรการและดาเนนิ มาตรการเพมิ่ เตมิ อย่างเหมาะสม เขา ถงึ เปา หมายไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพ และสอดคลอ้ งกบั การระบาดทที่ วีความรนุ แรง
มากขึ้น (ii) การพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่และมาตรการ
พัฒนาทักษะแรงงาน และ (iii) มาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง
(3) การดาเนินมาตรการสนับสนุนการฟนื้ ตวั ทางเศรษฐกจิ เมอื่ สถานการณก์ รระบาดผอ่ นคลายลง โดยใหค้ วามสาคัญกบั มาตรการสนบั สนนุ การฟนื้ ตวั ของ
การใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ การจัดพื้นที่สาหรับการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดาเนินมาตรการป้องกันการกลับมาระบาด
ของโรค การแก้ปัญหา และช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถกลับมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ (4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดย
(i) การควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สาคัญ (ii) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจากัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า (iii) การแก้ไขปัญหา
การขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต (iv) การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้า
ที่มีศักยภาพ (v) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และ
(vi) การเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่อยู่ในขั้นตอนของการเจรจาและเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสาคัญใหม่ ๆ (5) การรักษา
แรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่
นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาดภายในประเทศ (ii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง
(iii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iv) การดาเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอานวยความสะดวกเพื่อดึงดูด
นักลงทุน (v) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดาเนินการไปแล้ว และ (vi) การขับเคลื่อน
การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สาคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กาหนดไว้ และ (7) การรักษาบรรยากาศทาง
การเมืองและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปี 2564 และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกแรกในเดือนเมษายน 2563 ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐชะลอลง และการส่งออกบริการลดลง ด้านการผลิต สาขาการผลิตอุตสาหกรรมและสาขาเกษตรกรรมขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ และสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ กลับมาขยายตัว ขณะที่สาขาการก่อสร้างชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2564 ร้อยละ 0.4 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.0

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2564 1) การบริโภคภาคเอกชน กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนและปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 33.9 การใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มบริการสุขภาพ กลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน และกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คนทนขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัว ร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.4 ส่วนการใช้จ่าย หมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 7.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 10.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการใช้จ่ายหมวดเสื้อผ้าและรองเท้าร้อยละ 15.3 อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจาก การขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่รายจ่ายค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) และการโอนเพื่อสวัสดิการการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และร้อยละ 11.6 ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 22.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.1 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.6 2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เทียบกับการขยายตัว ร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 12.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาส ก่อนหน้า ส่วนการลงทุนด้านการก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.2 การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 19.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 7.7 และร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 28.4 และร้อยละ 9.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 19.1 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 13.4 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 19.2 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2564 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และร้อยละ 12.1 ตามลำดับ 3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 67,761 ล้านดอลลาร์ สรอ. (สูงสุดเท่าที่มีการจัดเก็บข้อมูล) ขยายตัวร้อยละ 36.2 (สูงที่สุดในรอบ 44 ไตรมาส) เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเช่น รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 89.1) รถกระบะ (ร้อยละ 190.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 102.2) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 24.6) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 37.6) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 40.0) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 21.2) ยางพารา (ร้อยละ 97.3) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 48.2) เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ลดลงร้อยละ 26.3) ข้าว (ลดลงร้อยละ 38.8) และน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 21.7) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวเร่งขึ้นเมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 33.6 รวมครึ่งแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 131,765 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ 4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.0 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ดัชนีผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือก (ร้อยละ 10.2) ยางพารา (ร้อยละ 6.7) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 9.9) ส่วนดัชนีผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 4.6) และอ้อย (ลดลงร้อยละ 5.9) ขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 14 ร้อยละ 2.6 และหมวดประมงลดลงร้อยละ 5.9 ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น ไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 โดยสินค้าเกษตรที่ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ยางพารา (ร้อยละ 59.0) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 27.4) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 76.7) อ้อย (ร้อยละ 30.3) และสุกร (ร้อยละ 11.3) ส่วนสินค้าเกษตรที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลง เช่น ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 18.9) และไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 0.9) การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 15.2 รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.7 5) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 16.8 ตามการเร่งตัวขึ้นของการส่งออก ฐานการขยายตัวที่ต่ำกว่าปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อน และการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ในประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 20.4 โดยดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 อัตราการใช้กำลัง การผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.21 ลดลงจากร้อยละ 67.44 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 52.81 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 147.4) การผลิตยางนอกและยางใน (ร้อยละ 98.9) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 25.3) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตปุ๋ยเคมี (ลดลงร้อยละ 30.7) การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ลดลงร้อยละ 13.8) การผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง (ลดลงร้อยละ 17.7) รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.9 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65.32 6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวจากฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 35.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้ รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.035 ล้านล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 89.0 ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 20,275 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.24 ลดลงจากร้อยละ 16.15 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.50 รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 17.2 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 37.1 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 99.4 และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 12.20 7) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมด้าน การส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตร และเงื่อนไขการเดินทางในประเทศที่ผ่อนคลายกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 20.7 โดย (1) ดัชนีบริการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 66.7 ในไตรมาสก่อนหน้า (2) ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และ (3) ดัชนีบริการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และบริการ ไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องในเกณฑ์สูงร้อยละ 23.2 รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 21.6 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา 8) สาขาไฟฟ์า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตทั้ง ในภาคการผลิตและภาคบริการที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ 4.9 สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจและปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 7.0 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ ส่วนดัชนีการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซรวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 11.3 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564 สศช. คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.2 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ (3) ฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 16.3 ขณะที่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.1 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 1.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2564 ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสแรกของปี 2564 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและแรงสนับสนุนจากมาตรการเยียวยา และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัวร้อยละ 15.1 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 33.9 และอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งสำหรับยานพาหนะร้อยละ 4.4 การใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 8.1 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของกลุ่มบริการสุขภาพ และกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย การใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ และการกลับมาขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมร้อยละ 8.2 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คนทนขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 7.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือน อุปกรณ์ครัวเรือน และการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และ หมวดเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงร้อยละ 15.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 21.8 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.8 จากระดับ 42.5 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมครึ่งแรกของปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.2 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 9.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 12.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาส ก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวเร่งขึ้นของภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้า โดยปริมาณ การนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ และยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ขยายตัวร้อยละ 24.5 ร้อยละ 44.1 และร้อยละ 20.3 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ในเขตเทศบาลที่ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 9.3 ขณะที่ดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.5 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.2 จากระดับ 46.6 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมครึ่งแรกของปี 2564 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.8 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติการส่งออก: มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ตามการเพิ่มขึ้นของ ทั้งปริมาณและราคาสินค้าส่งออก สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์และราคาสินค้าเกษตรและอาหาร ในตลาดโลก การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สองของปี 2564 มีมูลค่า67,761 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเท่าที่มีการจัดเก็บข้อมูล และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.2 สูงสุดในรอบ 44 ไตรมาส เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า โดยปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และสินค้าประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 ร้อยละ 19.9 และร้อยละ 8.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ร้อยละ 8.6 และการลดลงร้อยละ 9.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ส่วนราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรและอาหารส่วนใหญ่ในตลาดโลก เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่า การส่งออกขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 45.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 11.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การส่งออกในรูปของเงินบาท มีมูลค่า 2,125 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 33.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมครึ่งแรกของปี 2564 การส่งออกคิดเป็นมูลค่า 131,765 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.8 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ การส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,064 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.3 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563

%YoY ดัชนีมูลค่า ปริมาณ และราคาส่งออก

%YoY สินค้าส่งออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิต40.0 160.0 140.0 30.0 120.0 20.0 100.0

80.0 10.0 60.0 0.0

20.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2 -10.0 0.0 59 60 61 62 63 64 -20.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2 -20.0

-40.0 59 60 61 62 63 64 -30.0 -60.0 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 18.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ตามการขยายตัวของปริมาณการส่งออก ยางพาราและมันสำปะหลัง ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาล โดยมูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.3 ตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 มันสำปะหลัง มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.2 เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน และไต้หวัน โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 น้ำตาล มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 21.7 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นสำคัญ โดยปริมาณ การส่งออกลดลงร้อยละ 39.9 ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากอินโดนีเซียที่เป็นประเทศผู้นำเข้าสำคัญดำเนินนโยบายผลิตเองในประเทศ ประกอบกับเวียดนามปรับขึ้นภาษีนำเข้าน้ำตาล ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 ข้าวมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 38.8 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ ฮ่องกง และจีน เป็นสำคัญ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประเทศคู่ค้าบางประเทศปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคข้าวนุ่ม ในขณะที่ไทยส่งออกข้าวขาวเป็นหลัก โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 28.7 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 14.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 41.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า การขยายตัวของความต้องการรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Work From Home โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคาส่งออกร้อยละ 36.7 และร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 6.1 และร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 89.1) รถกระบะ (ร้อยละ 190.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 102.2) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 24.6) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 37.6) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 41.0) ปิโตรเคมี (ร้อยละ 41.9) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 40.0) และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 21.2) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญอื่น ๆ ที่ลดลง เช่น ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 26.3) เป็นต้น มูลค่า การส่งออกสินค้าประมงกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ร้อยละ 13.4 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ร้อยละ 16.0) สินค้าส่งออกอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 65.6 เป็นผลจากการลดลงของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 67.3 เป็นสำคัญ

การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.4 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดจีนขยายตัวร้อยละ 29.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ การส่งออก ไปยังตลาดญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 20.0 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) ไม่รวมสหราชอาณาจักรขยายตัวร้อยละ 49.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 27.7 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ขยายตัวร้อยละ 42.3 (การส่งออกไปเวียดนาม กัมพูชา เมียนมา และลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.6 ร้อยละ 37.2 ร้อยละ 50.2 และร้อยละ 35.1 ตามลำดับ) ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) กลับมาขยายตัวร้อยละ 27.0 (ตามการเพิ่มขึ้นของ การส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นสำคัญ) และการส่งออกไปยังตะวันออกกลาง (15) กลับมาขยายตัวร้อยละ 37.7 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสำคัญ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

มีมูลค่า 58,048 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 9.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อนและปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยปริมาณการนำเข้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 ร้อยละ 30.3 และร้อยละ 25.8 ตามลำดับ ส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.5 การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 1,820 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า

การนำเข้ามีมูลค่า 114,663 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 23.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และร้อยละ 4.3 ตามลำดับ การนำเข้าในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,535 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 12.3 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน และสินค้านำเข้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยมูลค่าการนำเข้าหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และประมง และยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้า หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 โดยสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ วัสดุที่ทำด้วยโลหะ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น มูลค่า การนำเข้าหมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม และหม้อแปลงและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฯ เป็นต้น มูลค่าการนำเข้าหมวดสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งขึ้นของการนำเข้าหมวดทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) และหมวดยานยนต์ ร้อยละ 156.6 และร้อยละ 78.5 ตามลำดับ อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกร้อยละ 4.0 ส่งผลให้อัตราการค้าลดลงจากระดับ 111.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นระดับ 108.4 ในไตรมาสที่สองของปี 2564 รวมครึ่งแรกของปี 2564 อัตราการค้าอยู่ที่ระดับ 108.5 เทียบกับระดับ 109.9 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยราคานำเข้าลดลงร้อยละ 3.3 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.3 ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ดุลการค้าเกินดุล 9.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (304.6 พันล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (224.3 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าการเกินดุล 8.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (281.7 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2564 ดุลการค้าเกินดุล 17.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (528.9 พันล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 22.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (709.0 พันล้านบาท) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม: ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศ ที่เอื้ออำนวย และปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ร้อยละ 2.2 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัว ได้แก่ (1) ข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น (2) ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เนื่องจากต้นยางพาราที่กรีดได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูงประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย (3) มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ตามการขยายพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ (4) ไก่เนื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศ และ (5) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจากแรงจูงใจด้านราคา ประกอบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร มีการบริหารจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐาน การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 4.6) อ้อย (ลดลงร้อยละ 5.9) และ กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 5.9) เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 12.8 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) ยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.0 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ยางธรรมชาติในต่างประเทศ (2) กลุ่มไม้ผล เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 โดยเฉพาะทุเรียน เนื่องจาก ความต้องการบริโภคทุเรียนทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (3) ปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.7 เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (4) อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ประกอบกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดที่มีคุณภาพดี ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของภาครัฐ (5) สุกร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เนื่องจาก ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ราคาข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 18.9) และราคาไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 0.9) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 15.2 รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม: ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 16.8 ตามการเร่งตัวขึ้นของการส่งออก ฐานการขยายตัวในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ และการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ในประเทศ การขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 20.4 สูงสุดในรอบ 34 ไตรมาส โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 28.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาส โดยการผลิตยานยนต์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามร้อยละ 147.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 98.9 และการผลิตจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 125.1 เป็นสำคัญ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตสำคัญ ๆ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 25.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไปกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 50.3 การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของที่เกี่ยวข้องขยายตัวร้อยละ 73.4 อย่างไรก็ตาม การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 13.8 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 9.4 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานร้อยละ 33.3 การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 และการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.4 เป็นสำคัญ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 63.21 ลดลงจากร้อยละ 67.44 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 52.81 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสำคัญ 30 รายการ มีอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 98.11) การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง (ร้อยละ 85.67) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 81.83) และ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 80.38) ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตในช่วงร้อยละ 70 - 80 จำนวน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 79.61) การฆ่าสัตว์ปีกและการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง (ร้อยละ 79.19) การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง (ร้อยละ 76.26) และการผลิตกระดาษลอนลูกฟูกและกระดาษแข็งลอนลูกฟูก (ร้อยละ 75.27) ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 147.4) การผลิตยางนอกและ ยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง (ร้อยละ 98.9) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 25.3) การผลิตจักรยานยนต์ (ร้อยละ 125.1) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 50.3) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 33.3) การผลิตเครื่องประดับเพชรพลอยแท้และสิ่งของ ที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 73.4) การผลิตมอลต์และสุราที่ทาจากข้าวมอลต์ (ร้อยละ 68.5) การผลิตชิ้นส่วนและ อุปกรณ์เสริมสาหรับยานยนต์ (ร้อยละ 130.4) และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ร้อยละ 44.9) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสาคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 30.7) การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) (ร้อยละ 13.8) การผลิตสัตว์น้าบรรจุกระป๋อง (ร้อยละ 17.7) การผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ร้อยละ 12.7) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์และ ปูนปลาสเตอร์ (ร้อยละ 1.9) การผลิตเครื่องแต่งกายที่ทาจากการถักนิตและโครเชต์ (ร้อยละ 37.7) การผลิตสบู่และ สารซักฟอก ผลิตภัณฑ์เคมีที่ใช้ในการทาความสะอาดและขัดเงา น้าหอมและเครื่องประทินโฉม (ร้อยละ 3.8) การผลิตผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 2.8) การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน (ร้อยละ 12.7) และ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ร้อยละ 4.0) เป็นต้น รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากที่ลดลงร้อยละ 2.9 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 อัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 65.32 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร: ขยายตัวจากฐานที่ต่าผิดปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 35.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสนี้ รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.035 ล้านล้านบาท ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 89.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 51.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่มีมูลค่าต่ากว่าไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่สาม ตลอดทั้งไตรมาส ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจานวน 20,275 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) ใกล้เคียงกับจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนมาจากการดาเนินมาตรการเปิดประเทศสาหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ ( Special Tourist VISA STV) เป็นสาคัญ สาหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 8.24 ลดลงจากร้อยละ 16.15 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่สูงกว่าร้อยละ 6.50 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 17.2 แต่น้อยกว่าการลดลง ร้อยละ 37.1 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงร้อยละ 99.4 และอัตรา การเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 12.20 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์: กลับมาขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับ การลดลงร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์ในประเทศ การเร่งตัวขึ้น ของกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก และฐานการขยายตัวที่ต่ากว่าปกติในช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้อง กับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 27.6 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และ จักรยานยนต์) ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 27.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยหมวดการขายส่งสินค้าเฉพาะทางอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 48.9 (เช่น การขายส่งเหล็กกล้าและโลหะ ที่นอกกลุ่มเหล็กขั้นมูลฐาน เป็นต้น) และหมวดการขายส่งสินค้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 (เช่น การขายส่ง นาฬิกา เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น) ดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 40.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 และหมวดการขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.9 เป็นสาคัญ และ ดัชนีการขายปลีก (ยกเว้น ยานยนต์และจักรยานยนต์) ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 23.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.1 และหมวดการขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็นสาคัญ รวมครึ่งแรกของปี 2564 สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยดัชนีการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 ดัชนีการขายส่ง (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และดัชนีการขายปลีก (ยกเว้นยานยนต์และจักรยานยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 17.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมการส่งออกสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตร รวมทั้งเงื่อนไขการเดินทางในประเทศที่อยู่ในระดับผ่อนคลายกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน และสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีบริการขนส่งในไตรมาสนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 20.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 17.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย (1) ดัชนีบริการขนส่งทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.0 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 66.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของดัชนีปริมาณเที่ยวบินภายในประเทศ เป็นสาคัญ (2) ดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของดัชนีปริมาณการขนส่งสาธารณะ เป็นสาคัญ และ (3) ดัชนีบริการขนส่งทางน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีปริมาณตู้สินค้า เป็นสาคัญ ในขณะที่บริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 18.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับบริการไปรษณีย์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในเกณฑ์สูงร้อยละ 23.2 สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของรายรับผู้ประกอบการ รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 21.6 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา โดยบริการขนส่งลดลงร้อยละ 8.6 ประกอบด้วยดัชนีบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 50.2 ดัชนีบริการขนส่งทางน้าขยายตัวร้อยละ 10.8 และดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลาเลียงลดลงร้อยละ 2.5 ตามลาดับ ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 5.8 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 24.4 สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ: เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตทั้งในภาคการผลิตและบริการที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในไตรมาสนี้ดัชนีการผลิตไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติรวมกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 5.9 ประกอบด้วย (1) ดัชนีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจร้อยละ 7.0 และการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส ของปริมาณ การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 13.7 ขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 2.0 และ (2) ดัชนีการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซ และความต้องการใช้ ก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม ตามลาดับ รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศลดลงร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 11.3 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา สาขาก่อสร้าง: เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 12.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการก่อสร้างภาครัฐ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยการก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 23.1 ในไตรมาสก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 12.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้าง ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า) ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการลดลงต่อเนื่องของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ขณะที่การก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และ อาคารโรงงาน) ลดลงน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างในหมวดการบริการและขนส่ง และ การก่อสร้างอื่น ๆ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 9.7 ตามการเพิ่มของดัชนีราคาหมวดเหล็ก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3) หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0) และหมวดกระเบื้องปูพื้นและแผ่นเซรามิก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3) เป็นสาคัญ รวมครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.9 ในช่วงครึ่งหลังของปีผ่านมา โดยการก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.3 ผู้มีงานทา: เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ตามการกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งของผู้มีงานทานอกภาคเกษตร และการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้มีงานทาในภาคเกษตร ส่วนอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า และอยู่ในระดับต่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ผู้มีงานทารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วยผู้มีงานทานอกภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 68.94) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ตามการเพิ่มขึ้นของผู้มีงานทาในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4) และสาขาก่อสร้าง (เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 5.1) เป็นสาคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากฐานต่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับภาครัฐดาเนินมาตรการควบคุมการระบาด อย่างไรก็ตาม ผู้มีงานทาในสาขาอุตสาหกรรมและสาขาการขายส่ง การขายปลีก และการซ่อมยานยนต์ฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 และไตรมาสที่ 3 ตามลาดับ และผู้มีงานทาภาคเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 31.06) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญบางรายการ เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา และมันสาปะหลัง เป็นต้น อัตราการว่างงาน ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ากว่าอัตรา การว่างงานร้อยละ 2.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ว่างงานเฉลี่ยจานวน 7.32 แสนคน เทียบกับจานวน 7.45 แสนคน ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยครึ่งแรกของปี 2564 ผู้มีงานทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ด้านการคลัง

การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2564 (เมษายน - มิถุนายน 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 717,930.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.4 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 และร้อยละ 61.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรมีสาเหตุสำคัญมาจาก (1) การเหลื่อมระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งในปีงบประมาณ 2563 มีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 ขณะที่ในปีงบประมาณ 2564 มีการขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปเป็นภายในเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และ (2) ฐานการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต่ำผิดปกติ ในปีก่อนหน้าตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม การบริโภคภายในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับปัจจัยสนับสนุน การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตประกอบด้วย (1) การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีเบียร์ เนื่องจากการดำเนินมาตรการเยียวยาผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบกิจการสถานบริการ โดยการขยายเวลาการยื่นแบบรายการชำระภาษีให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบกิจการสถานบริการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีปี 2563 ออกไปเป็นภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จากเดิมที่กำหนดให้ต้องเสียภาษีสรรพสามิตเมื่อนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ประกอบกับในช่วงเดียวกันของปี 2564 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมเร่งชำระภาษีเบียร์เพื่อรองรับการจำหน่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (2) การจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น เนื่องจากการสำรองน้ำมันของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อความต้องการประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนาและเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้นในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 10 - 15 เมษายน 2564) ประกอบกับการชำระภาษีน้ำมันฯ ล่วงหน้าก่อนวันหยุดแรงงานประจำปี 2564 ของโรงกลั่นน้ำมันบางแห่ง และ (3) การจัดเก็บภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการหยุดการผลิตชั่วคราวของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่วนใหญ่ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในปี 2563 รวมทั้งการขยายระยะเวลาการชำระภาษีออกไป เป็นภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 และการเร่งชำระภาษีของผู้ผลิตยานยนต์ในเขตประกอบการเสรี (Free Zone) ประกอบกับการทยอยส่งมอบรถยนต์นำเข้าให้กับผู้ซื้อในงานมหกรรมยานยนต์ปี 2564 ครั้งที่ 42 รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,738,161 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลยังคงต่ำกว่าประมาณการรายได้จัดเก็บ ตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 10.1 ทั้งนี้ รายได้จัดเก็บของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 9.0 ร้อยละ 11.5 และร้อยละ 21.5 ตามลำดับ การใช้จ่ายของรัฐบาล ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 912,129.8 ล้านบาท1 ลดลงร้อยละ 11.2 (รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 15.1 ขณะที่รายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1) ประกอบด้วย (1)การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จำนวน677,070.1 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 5.0 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.6 ต่ำกว่าร้อยละ 22.3 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 553,432.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.8 (อัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 21.0 ต่ำกว่าร้อยละ 22.9 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เนื่องจากฐานที่สูงผิดปกติจาก การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่มีความล่าช้าในการบังคับใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และรายจ่ายลงทุน 123,637.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 16.2 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 19.1 ใกล้เคียงกับร้อยละ 19.2 ในไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน) เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นสำคัญ (2)การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปี 26,785.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 18.1 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.4 เท่ากับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) (3)การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จำนวน 51,853 ล้านบาท2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 4.1 ตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นสำคัญ และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (วงเงิน 1 ล้านล้านบาท) จำนวน 161,092.0 ล้านบาท การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีในไตรมาสที่สาม

เทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเฉลี่ย1,200,000 100 30 1,000,000 80 25 เฉลี่ย= 21.1 20.6 800,000

60 20 600,000 15 40 400,000 10 20 200,000 5000-200,000 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3 -20 Q3/53Q3/54Q3/55Q3/56Q3/57Q3/58Q3/59Q3/60Q3/61Q3/62Q3/63Q3/64 -400,000 2560 2561 2562 2563 2564 -40 ที่มา: GFMIS ที่มา: GFMIS รวม 9 เดือนแรกในปีงบประมาณ 2564 มีการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐรวม 3,024,515.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 จำนวน 2,228,520.5 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 67.8 ต่ำกว่าร้อยละ 70.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 1,945,109.7 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 73.7 ต่ำกว่าร้อยละ 77.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) และการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 283,410.8 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 43.8 สูงกว่าร้อยละ 35.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) (2) การเบิกจ่ายงบประมาณกันไว้เบิกเหลื่อมปีจำนวน 160,712.6 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 74.5) (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จำนวน 187,805.6 ล้านบาท3 และ (4) การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (วงเงิน 1 ล้านล้านบาท) จำนวน 459,730.6 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง สถานะเงินคงคลัง10,000 60 9,000 700,000 50 8,000

350,000 7,000 40 600,000

300,000 6,000 500,000 5,000 30 250,000 4,000

20 400,000 3,000 200,000 300,000 2,000

10 150,000 1,000

200,000 00100,000 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3 100,000 50,000 2560 2561 2562 2563 2564

00 GDP (Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3

2560 2561 2562 2563 2564 ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ที่มา: กระทรวงการคลังหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,825,097.8 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.1 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 8,665,193.8 ล้านบาท (ร้อยละ 55.1 ของ GDP) และเงินกู้จากต่างประเทศ 159,904.1 ล้านบาท (ร้อยละ 1.0 ของ GDP) โดยแบ่งเป็น (1) หนี้ของรัฐบาล 7,760,488.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.9 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 772,090.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 285,357.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.2 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (4) หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,161.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ฐานะการคลัง: ในไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 64,415 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 41,598 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 215,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 108,987 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2564 จำนวน 351,379 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 460,366 ล้านบาท รวม 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณ 645,952 ล้านบาท ขาดดุลเงิน นอกงบประมาณ 67,596 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 601,810 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลยังคงขาดดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 111,738 ล้านบาท ภาวะการเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปีในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดย กนง. ให้น้ำหนักกับการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดในจังหวะที่เกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดอันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ทั้งนี้การดำเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาคที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00-0.25 ต่อปี ควบคู่กับการคงระดับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ไว้ที่ 120,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน แต่ได้เริ่มหารือเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป ญี่ปุ่น และอังกฤษ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 ร้อยละ (-0.10) และร้อยละ 0.10 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางรัสเซียได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2564 ธนาคารกลางของรัสเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.00 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 6.50 ขณะที่ธนาคารกลางจีนได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินผ่านมาตรการปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงร้อยละ 0.5 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดิม ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.42 ต่อปี ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 0.48 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.36 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและคงอัตราดอกเบี้ย MLR ไว้ในระดับเดิม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.96 ต่อปี ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 1.00 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า และอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.13 ต่อปี เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.55 ต่อปี และเฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยลดลงตามการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ในเดือนกรกฎาคม 2564 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจากเดือนก่อนหน้า สินเชื่อคงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 2564 ยอดสินเชื่อ คงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อ ในระบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากจากการชะลอตัวลงของสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับสินเชื่อครัวเรือนซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการด้านสินเชื่อที่ดาเนินการตามมาตรการของรัฐบาลทยอยสิ้นสุดลง ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ1.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับสินเชื่อในสาขาสาคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (ขยายตัวร้อยละ 35.1) สาขาที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร (ขยายตัวร้อยละ 11.6 ) สาขาการก่อสร้าง (ขยายตัวร้อยละ 7.8) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (ขยายตัวร้อยละ 1.9) และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้า และระบบปรับอากาศ (ขยายตัวร้อยละ 0.3) ในส่วนของสินเชื่อในสาขาสาคัญ ๆ ที่ลดลง ได้แก่ กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ลดลงร้อยละ 7.9) และ สาขาการผลิต (ลดลงร้อยละ 2.8) ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 5.7 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อเพื่อการบริโภค ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการสภาพคล่องของครัวเรือน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) พบว่า สินเชื่อคงค้างปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 เป็นการลดลงต่อเนื่อง 8 ไตรมาสติดต่อกัน และลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าในทุกสาขาที่สาคัญ ยกเว้นสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ ขณะที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เร่งตัวขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของ ปี 2564 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 31.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 3.52 จากค่าเฉลี่ย 30.29 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย และสถานะขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารทุน โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ยอยู่ที่ 91.01 ลดลงจากระดับ 91.02 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วง เดือนเมษายนค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ภายในประเทศ มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ขณะที่เดือนพฤษภาคมค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ซึ่งสอดคล้องกับการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังส่งสัญญาณของการคงนโยบายการเงินไว้ในระดับเดิม และจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนมิถุนายนค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังจากการประกาศให้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นมาก สาหรับค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาคเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาท อาทิ ค่าเงินของประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และฮ่องกง อ่อนค่าลงร้อยละ 3.2 ร้อยละ 1.6 ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 1.2 ร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ ขณะที่ค่าเงินของประเทศ ไต้หวัน จีน และฟิลิปปินส์ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.4 ร้อยละ 0.4 และ ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สองอยู่ที่ 119.28 จุด ลดลงจาก ค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 2.86 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 3.72 จากค่าเฉลี่ย 31.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 ภายในประเทศเป็นสาคัญ ด้านค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก นักลงทุนหันมาถือเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อปิดรับความเสี่ยง หลังสถานการณ์การแพรระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ามีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของ ปี 2564 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนที่สาคัญจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการค้าโลก ภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผล มาจากหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่มี ความก้าวหน้าในการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทยได้รับปัจจัยลบค่อนข้างมาก ในช่วงปลายไตรมาสอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศที่มีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และการดาเนินมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการกระจายและการฉีดวัคซีนในประเทศ ปัจจัยดังกล่าวทาให้ ดัชนีราคา ตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นไตรมาสปิดที่ 1,588 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.04 ทั้งนี้ ดัชนีตลาด หลักทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่นในภูมิภาค โดยนักลงทุนรายย่อย และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ ไทยติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง สาหรับกลุ่มธุรกิจที่ดัชนีปรับขึ้นที่สาคัญ ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ขณะที่กลุ่มธุรกิจ การเงินปรับลดลงร้อยละ 10.4 กลุ่มบริการลดลงร้อยละ 3.0 และกลุ่มทรัพยากรลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงจากเดือนมิถุนายน 2564 ร้อยละ 4.1 มาอยู่ที่ 1,522 จุด เป็นผลมาจากนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทรงตัวอยู่ใน ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดาเนินมาตรการเพื่อป้องกันการระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น โดยนักลงทุน รายย่อยและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติยังคง ขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลง โดยในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ของไทยช่วงอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง สอดคล้องกับการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ระยะยาวของสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการดาเนิน มาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ที่กระทบต่อการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจเป็นสาคัญ ทาให้นักลงทุนเริ่มกลับมาถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น และส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัว เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ากว่า 5 ปี อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในไตรมาสก่อนหน้า โดย ณ สิ้นไตรมาสที่สองของปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปี ณ สิ้นไตรมาสอยู่ที่ ร้อยละ 0.48 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 0.45 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อ้างอิงอายุ 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.78 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 1.95 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิ 72.8 พันล้านบาท เทียบกับสถานะขายสุทธิ 0.3 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า สาหรับการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 459.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ และกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค ในเดือนกรกฎาคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศภายหลังจานวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทาสถิติใหม่ต่อเนื่อง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปีและอายุ 10 ปี ณ สิ้นไตรมาสอยู่ที่ร้อยละ 0.48 ต่อปี และร้อยละ 1.57 ต่อปี ตามลาดับ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 8.2 พันล้านบาท เทียบกับการซื้อสุทธิ 42.4 พันล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ ตามการน่าเงินออกไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนไทย ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเทียบกับการเกินดุลในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกสุทธิ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เงินทุนไหลออกสุทธิ 5.75 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการไหลออกสุทธิ 2.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการนาเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย ทั้งในรูปแบบการลงทุนในหลักทรัพย์ และการลงทุนโดยตรงเป็นสาคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินไหลเข้าจากการลงทุนอื่น ๆ (เงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินฝาก และบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้อื่น ๆ) และการกลับมาลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ขาดดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (163.8 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (38.6 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (103.5 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 14.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบกับการขาดดุล 7.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นสาคัญ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 9.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (สูงกว่าการเกินดุล 8.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (267.3 พันล้านบาท) เทียบกับ การเกินดุล 6.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (203.2 พันล้านบาท) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 246.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7,901.2 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 241.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (7,461.3 พันล้านบาท) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สองของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.4 เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ -0.5 ในไตรมาสแรกของปี 2564 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.04 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มเครื่อง ประกอบอาหาร กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้า และกลุ่มผักและผลไม้ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 0.4 ตามลาดับ และดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบกับการลดลง ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร และหมวดพลังงาน ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.6 และร้อยละ 22.5 ตามลาดับ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44 รวมครึ่งแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.9 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.3 เงินส่ารองระหว่าง ประเทศ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2564 อยู่ที่ 246.5 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.4 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับ เฉลี่ยร้อยละ -0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยในหมวดอาหารและ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น และหมวด ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นตามหมวดพลังงาน เป็นส่าคัญ 4 ในเดือนกรกฎาคม 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.1 5 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สองของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรก ของปี 2564 ตามราคาที่เพิ่มขึ้นในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเป็นสาคัญ โดยราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 3.3 ราคาหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรและการประมง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.3 ในไตรมาสก่อนหน้า5 รวมครึ่งแรกของปี 2564 ดัชนีราคาผู้ผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในช่วงครึ่งหลัง 2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ามันไตรมาสที่สองของปี 2564 ราคาน้ามันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ราคาน้ามันดิบอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่สองของปี 2564 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 67.7 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.5 จากราคาเฉลี่ย 30.9 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย 59.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสแรกของปี 2564 การเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกสะท้อนจากข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ขยายตัว ทาให้ความต้องการน้ามันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) ประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทาให้การท่องเที่ยวและการเดินทางเพิ่มขึ้น และ (3) กลุ่มโอเปกพลัส มีมติคงระดับการเพิ่มกาลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการใช้น้ามันที่เริ่มฟื้นตัว รวมครึ่งแรกของปี 2564 ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 63.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 จากค่าเฉลี่ย 40.6 ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 จากราคาเฉลี่ย 43.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สองของปี 2564 เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สองของปี 2564 ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสแรก นาโดยเศรษฐกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ตามการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนของกิจกรรมเศรษฐกิจภายในประเทศ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index: PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในไตรมาสที่สอง ซึ่งอยู่ระดับสูงกว่าช่วงก่อนมีการแพร่ระบาด อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย6 เช่นเดียวกับการบริโภคภายในประเทศสะท้อนจากดัชนีการค้าปลีกที่ปรับตัวสูงขึ้นสอดคล้องกับระดับ ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนสาคัญจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดมากขึ้นตามลาดับ ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลงและมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับการดาเนินมาตรการช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องและมาตรการการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของอุปสงค์ในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักส่งผลให้การค้าโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาในเอเชียขยายตัวในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงมากขึ้น สะท้อนจากจานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เร่งขึ้นสูงต่อเนื่อง ท่ามกลางแนวโน้มการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับสัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนยังอยู่ในระดับต่า ทาให้รัฐบาลต้องดาเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้งจนส่งผลกระทบต่อของการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการ นอกจากนี้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานชั่วคราว รวมทั้งต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่สูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวทาให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ในไตรมาสที่ 2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกภายหลังจากปรับผลของปัจจัยฤดูกาลแล้ว ภายใต้ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักทั้งจากการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (Pent-up demand) การเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย การเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ประกอบกับฐานที่ต่าในปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าเป้าหมายนโยบายการเงินในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา อินเดีย และเกาหลีใต้ ในขณะที่ตลาดแรงงานยังคงตึงตัวและไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่าและการคงการเข้าซื้อสินทรัพย์ไว้ตามเดิม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.2 (Advance Estimate) เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และนับเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส เมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.5 (%QoQ saar.) เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สอดคล้องกับ การปรับตัวดีขึ้นของการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 0.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อน ภายหลังจากการใช้จ่ายของมาตรการโปรแกรมให้สินเชื่อเพื่อคุ้มครองธุรกิจ (Paycheck Protection Program) สิ้นสุดลงในเดือนพฤษภาคม ภายใต้การฟื้นตัวอย่างชัดเจนของอุปสงค์ภายในประเทศส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE inflation) อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ สถานการณ์ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 5.9 แม้จะลดลงจาก ร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ยังสูงกว่าช่วงก่อนการระบาด สอดคล้องกับการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ยังคงอยู่ในระดับต่ากว่าในช่วงก่อนการเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 ? 16 มิถุนายน 2564 มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 ? 0.25 และส่งสัญญาณการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานเต็มที่และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเข้าสู่เป้าหมายในระยะยาวที่ร้อยละ 2.0 เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 13.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นการฟื้นตัวของทุกเศรษฐกิจประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสเปนและฝรั่งเศสซึ่งขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 19.8 และร้อยละ 18.7 ตามลาดับ เมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ swda.) ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ สอดคล้องกับการปรับตัว ดีขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายลง สะท้อนจากจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สเปน อิตาลี และเบลเยี่ยม เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 63.1 สูงสุดนับตั้งแต่มีการจัดทาข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2551 เช่นเดียวกับดัชนีภาคบริการซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.8 สูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.9 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และยังสูงเมื่อเทียบกับร้อยละ 7.3 ในไตรมาสแรกของปี 2563 ก่อนการระบาด สาหรับการดาเนินมาตรการเศรษฐกิจที่สาคัญในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้อนุมัติเงินกู้ภายใต้โครงการ Recovery Assistance for Cohesion and the Territories of Europe (REACT-EU)7 เป็นครั้งแรก โดยอนุมัติให้กับเนเธอร์แลนด์และออสเตรียเป็นมูลค่าประมาณ 262 ล้านยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ Next Generation EU Recovery and Resilience Facility มูลค่า 6.725 แสนล้านยูโร นอกจากนี้ การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ครั้งสุดท้ายของไตรมาสที่สองยังคงมีมติดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.0 และยังคงดาเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป8 เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อนและสูงที่สุดในรอบ 45 ไตรมาส สอดคล้องกับการขยายตัวของกิจกรรมการผลิต โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 53.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังเผชิญกับข้อจากัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงซึ่งรวมถึงกรุงโตเกียว ออกไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการอยู่ที่ระดับ 48.0 ที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 46.9 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ากว่า 50.0 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 อย่างไรก็ตาม ดัชนีค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากฐานการขยายตัวที่ต่าในปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 -18 มิถุนายน 2564 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ -0.1 และการดาเนินนโยบายเพื่อรักษาระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) ช่วงอายุ 10 ปี ให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 (Yield Curve Control) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป9 เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 7.9 เทียบกับร้อยละ 18.3 ในไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากฐานการขยายตัวที่ต่า ในไตรมาสแรกของปี 2564 การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 51.7 เทียบกับ 51.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 30.4 เทียบกับร้อยละ 48.8 ในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการอยู่ที่ระดับ 53.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับปริมาณการค้าปลีกภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 13.9 ต่อเนื่องจากร้อยละ 33.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออกยังเผชิญกับข้อจากัดจากราคาวัตถุดิบการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล็ก และทองแดง รวมทั้งต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น และค่าเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการอิสระที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ส่งผลให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 รัฐบาลจีนได้ประกาศให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ธุรกิจภาคเอกชนในการหาแหล่งเงินทุน รวมถึงมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่น การอุดหนุนค่าแรง เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ธนาคารกลางจีนมีมติให้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 โดยเฉพาะมาตรการพักชาระหนี้สาหรับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดย่อมและผู้ประกอบการอิสระ รวมถึงการค้าประกันสินเชื่อและมาตรการอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจภาคเอกชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เมื่อมี ความจาเป็น ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ขยายตัวจากฐานที่ต่าในปีก่อน โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวสูงสุดใน 44 ไตรมาส อยู่ที่ร้อยละ 14.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและภาคการก่อสร้าง ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคบริการ นอกจากนี้ มูลค่า การส่งออกสินค้า ขยายตัวร้อยละ 33.5 สูงสุดในรอบ 44 ไตรมาส เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวสูงสุดใน 42 ไตรมาส อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ร้อยละ 13.7 เทียบกับร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 44 ไตรมาส สอดคล้องกับการส่งออกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 23.6 สูงสุดในรอบ 41 ไตรมาส โดยสินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวในเกณฑ์สูงได้แก่ หมวดเครื่องมือเครื่องจักร ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงที่สุดในรอบ 13 ไตรมาส ส่วนการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 23.7 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 26.9 เทียบกับร้อยละ 33.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 37.4 สูงสุดในรอบ 44 ไตรมาส โดยเป็นผลจากการเร่งขึ้นของการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องกับการลงทุนรวมที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 สูงสุดในรอบ 4 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจของฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 1.0 ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.0 (%QoQ sa.) ตามลาดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.5 ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 3.1 ในไตรมาสแรก โดยเป็นการลดลงของเศรษฐกิจครั้งแรก ในรอบ 4 ไตรมาส ขณะที่เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นการชะลอตัวลงจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในช่วงไตรมาสแรกเป็นสาคัญ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน กลับมาขยายตัว เนื่องจากฐานการขยายตัวที่ต่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการยังคงมีข้อจากัดเนื่องจากการแพร่ระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนมิถุนายน สะท้อนจากยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในทุกประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลกลับมาดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดเข้มงวดอีกครั้ง ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 6.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ เศรษฐกิจมาเลเซีย เศรษฐกิจอินโดนีเซีย และเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ขยายตัวร้อยละ 16.1 ร้อยละ 7.1 และร้อยละ 11.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 3.9 ตามลาดับ ในส่วนของ การดาเนินนโยบายเศรษฐกิจ หลายประเทศมีการดาเนินมาตรการการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม อาทิ มาเลเซียมีการประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ Strategic Programme to Empower the People and Economy Plus (Pemerkasa)10 ส่วนฟิลิปปินส์มีการขยายระยะเวลาของโครงการ Bayanihan II ไปจนกระทั่งสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 และมีเพิ่มการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ขณะที่เวียดนามมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดหาวัคซีนอย่างเร่งด่วนงบประมาณ 339 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกันด้านนโยบายการเงิน ธนาคารกลางเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าอย่างต่อเนื่อง 4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2564 เศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งและดีกว่าที่คาด แต่เป็นการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึงและมีความแตกต่างกันในรายประเทศ (Uneven recovery) นาโดยการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และจีน ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์การระบาดที่ดีขึ้นและมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดาเนินการได้เป็นปกติมากขึ้น นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการดาเนินมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ และยูโรโซน ขณะเดียวกัน การฟื้นตัวของอุปสงค์ของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก มีแนวโน้มที่จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีสัดส่วนพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นหลัก ให้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่น และหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ อินเดีย และกลุ่มประเทศอาเซียน ยังคงเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงและความล่าช้าในการกระจายวัคซีน ทาให้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อออกไปรวมทั้งความล่าช้าในการผ่อนคลายมาตรการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของ กลุ่มประเทศเหล่านี้ในช่วงที่เหลือของปี 2564 จะล่าช้าออกไปมากกว่าที่คาด ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนเงื่อนไขและสมมติฐานที่สาคัญ ดังนี้ (1) การกระจายวัคซีนมีประสิทธิภาพและสามารถบรรเทาผลกระทบจากไวรัสกลายพันธุ์ได้ทั้งการลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต โดยคาดว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะสามารถกระจายวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2564 ขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาคาดว่าจะสามารถกระจายวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 50 ภายในสิ้นปี 2564 และร้อยละ 75 ภายในครึ่งแรกของปี 2565 (2) ไม่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างและยืดเยื้อมากขึ้น และการกลายพันธุ์ของไวรัสไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนให้ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ จนนาไปสู่การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรง และทาให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดเพิ่มเติมจากในปัจจุบันและส่งผลกระทบต่อการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และ (3) รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยังคงดาเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งไม่มีการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายเศรษฐกิจที่เร็วเกินไปเมื่อเทียบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและพื้นฐานเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่า เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในช่วงที่เหลือของ ปี 2564 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 6.0 และร้อยละ 8.5 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.2 และร้อยละ 8.5 ในปี 2563 ตามลาดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 5.8 และร้อยละ 7.8 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสาคัญ ๆ ดังนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2495 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.4 ในปี 2563 ตามแนวโน้มการฟื้นตัว อย่างชัดเจนของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการ ภายหลังจากมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนมากขึ้น (ประชากรได้รับวัคซีนครบโดสครอบคลุมร้อยละ 49.9 ของจานวนประชากรทั้งหมด ณ 10 สิงหาคม 2564) จนทาให้สามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้ตามลาดับ ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจสาคัญ ๆ ยังคงแสดงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้น โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ระดับ 63.4 นับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการรายงานตัวเลข ขณะเดียวกันดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการอยู่ที่ระดับ 59.8 สูงกว่าระดับ 50.0 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการใช้จ่ายในภาคบริการ สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ สะท้อนจากระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภคซึ่งสูงสุดในรอบ 17 เดือน และการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานดังจะเห็นจากอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ต่ากว่าร้อยละ 5.9 ในเดือนก่อน และร้อยละ 10.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้จะยังสูงกว่าร้อยละ 3.5 ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งในส่วนที่ เริ่มดาเนินการไปแล้ว วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. และมาตรการทางการคลังเพิ่มเติม วงเงินรวม 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อมุ่งเน้นช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐ12 ทั้งนี้ คาดว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในช่วง ที่เหลือของปีจะเริ่มผ่อนคลายลงเนื่องจากฐานปีก่อนที่เริ่มสูงขึ้น สาหรับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.4 สูงที่สุด ในรอบ 13 ปี โดยในกรณีฐานคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงดาเนินนโยบายการเงินอย่างผ่อนคลายตลอดช่วงที่เหลือของปี 2564 ทั้งการคงระดับดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่าและการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้กลับมาสูงขึ้นอย่างชัดเจนในระยะต่อไป คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มสื่อสารถึงการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาลดระดับการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไป เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.4 ในปี 2563 โดยมีแรงสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้น ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม ดัชนีภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 62.9 เป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และดัชนีภาคบริการอยู่ที่ระดับ 50.3 สูงสุด ในรอบ 8 เดือน สอดคล้องกับความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน (ประชากรได้รับวัคซีนครบโดสครอบคลุมร้อยละ 52.6 ของจานวนประชากรทั้งหมด ณ 10 สิงหาคม 2564) ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 และช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีสอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจในปี 2564 จะได้รับแรงสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ของสหภาพยุโรป13 วงเงินรวม 1.361 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.5 ต่อ GDP และการดาเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นใกล้เคียงกับระดับเป้าหมายในระยะปานกลางที่ร้อยละ 2.014 และรักษาระดับการเข้าซื้อพันธบัตรเท่าเดิมต่อไป15 อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงที่เหลือของปี ยังมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับข้อจากัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เริ่มมีจานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งอาจส่งผลให้หลายประเทศกลับมาดาเนินมาตรการควบคุมและล็อคดาวน์อีกครั้ง เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.8 สูงสุดในรอบ 10 ปี และเป็นการกลับมาขยายตัวจากการลดลงร้อยละ 4.7 ในปี 2563 โดยเศรษฐกิจได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสาคัญ นอกจากนี้ ยังมีแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจาปี 2564 วงเงินรวมทั้งสิ้น 106.6 ล้านล้านเยน ซึ่งถือเป็นวงเงินงบประมาณที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยงบประมาณ 5 ล้านล้านเยน ถูกจัดสรรไว้สาหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในการฟื้นฟูภาคบริการ ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในการประชุมเมื่อวันที่ 15 - 16 กรกฎาคม 2564 BOJ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ (-0.1) และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (JGBs) อายุ 10 ปี ที่ร้อยละ 0.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่สามของปี ญี่ปุ่นเผชิญกับการแพร่ระบาดในระลอกใหม่ที่กลับมาทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องขยายระยะเวลาและพื้นที่ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ โตเกียว โอกินาวา โอซาก้า และเมืองอื่น ๆ อีก 11 เมืองทั่วประเทศ ออกไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ซึ่งจะเป็นข้อจากัดต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและภาคบริการ สะท้อนได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 47.4 ซึ่งเป็นการอยู่ในระดับต่ากว่า 50 เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายน่าจะ ผ่อนคลายมากขึ้นภายหลังจากเริ่มมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนในอัตราที่เร่งขึ้นมาก โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสครอบคลุมร้อยละ 35.7 ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.0 และร้อยละ 29.9 ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ตามลาดับ เศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 สูงสุดในรอบ 9 ปี โดยเร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในปี 2563 แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสาคัญมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากความสาเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออกได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของประเทศเศรษฐกิจหลัก การผ่อนคลายลงของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการส่งออกสินค้าบางส่วนที่ได้รับประโยชน์จากโควิด-19 นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังจะได้รับแรงสนับสนุนจาก การดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางจีน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ได้ประกาศลดอัตราส่วนสารองขั้นต่า (Required Reserve Ratio) จากร้อยละ 9.4 เป็นร้อยละ 8.9 ส่งผลให้มีสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นราว 1 ล้านล้านหยวน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ขณะที่มาตรการทางการคลัง รัฐบาลยังคงดาเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้เงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขทั้งการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดและการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเร่งเบิกจ่ายเงินชดเชยผู้ว่างงานและขยายเวลาการจ่ายเงินชดเชยให้แรงงานต่างชาติ การลดการจัดเก็บภาษีและงดการจัดเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เหลือของปี 2564 คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีข้อจากัดจากการแพร่ระบาดภายในประเทศและในประเทศคู่ค้าที่สาคัญที่เริ่มกลับมาอีกรอบ รวมทั้งราคาสินค้าทุนและต้นทุนค่าขนส่งสินค้าทางเรือที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 50.3 ซึ่งเป็นระดับที่ต่าสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และมูลค่าการส่งออกสินค้าของจีนในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 18.9 ชะลอลงจากร้อยละ 31.8 ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ แรงขับเคลื่อนทางการคลังยังมีแนวโน้มที่จะลดลง สอดคล้องกับการปรับลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาลลงจากร้อยละ 3.6 ของ GDP ในปีก่อน เป็นการขาดดุลร้อยละ 3.2 ในปี 2564 เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะเกาหลีใต้และไต้หวัน และภาคการส่งออกตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมถึง การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศเนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ จะขยายตัวร้อยละ 4.1 ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 6.2 ตามลาดับ ฟื้นตัวจาก การลดลงร้อยละ 0.9 ร้อยละ 6.1 และร้อยละ 5.4 ในปี 2563 ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไต้หวันในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับ ร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน และเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2563 ตามแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เศรษฐกิจต่าง ๆ มีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินประมาณ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ของฮ่องกง เงินกู้เพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศวงเงิน 5.34 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ของไต้หวัน และโครงการช่วยเหลือแรงงานและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบวงเงิน 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ของสิงคโปร์ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวจากการลดลงในปีก่อน โดยมีแรงสนับสนุนสาคัญจากการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญอย่างสหรัฐฯ ยูโรโซน และจีน อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีความรุนแรงจนนาไปสู่การดาเนินมาตรการควบคุมที่เข้มงวดและยืดเยื้อมากขึ้น ประกอบกับความล่าช้าในการกระจายวัคซีน จะเป็นข้อจากัดสาคัญที่จะส่งผลให้ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี นอกจากนี้ การแพร่ระบาดที่มีความรุนแรงมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อภาคการผลิต การขนส่ง และภาคบริการให้มีความล่าช้าออกไป ทาให้คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 4.5 ฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงที่ร้อยละ 2.1 ร้อยละ 5.6 และร้อยละ 9.6 ในปี 2563 ตามลาดับ แต่ปรับลดลงจากร้อยละ 5.4 ร้อยละ 6.4 และ ร้อยละ 6.1 ส่วนเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2563 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในการประมาณการครั้งก่อน แม้กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ากว่า ที่คาดการณ์ในกรณีฐาน ซึ่งจะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ในหลายประเทศที่เผชิญกับการระบาดที่รุนแรงและมีความเสี่ยงที่การระบาดอาจยืดเยื้อมากกว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน ภายใต้เงื่อนไขสาคัญ ได้แก่ (i) การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า (Delta Variant B.1.617.2) และสายพันธุ์เบต้า (Beta Variant B.1.351) ซึ่งมีแนวโน้มทาให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ลดลงกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และอาจไม่เพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหรือควบคุมการแพร่ระบาดได้ตามที่คาดในกรณีฐาน แม้ในประเทศที่มีการกระจายวัคซีนในประชาชนในสัดส่วนที่สูงแล้วก็ตาม และ (ii) ความล่าช้าของการกระจายวัคซีนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนา ส่งผลให้การแพร่ระบาดยังคงมีความรุนแรงและจานวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอเมริกาใต้ ส่งผลให้หลายประเทศยังต้องมีการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดและยังคงจากัด การเดินทางระหว่างประเทศต่อไปในช่วงที่เหลือของปีซึ่งจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกแตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้ ในกรณีฐาน (2) ผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตและห่วงโซ่การผลิตโลก เนื่องจาก (i) สถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงมากขึ้นส่งผลให้ต้องปิดโรงงานและหยุดการผลิตในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน (ii) การขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตที่สาคัญ อาทิ ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จักรยานยนต์ และเครื่องใช้ในครัวเรือน และ (iii) การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่สูงขึ้นจากปัญหาการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งราคาสินค้าทุน อาทิ ราคาเหล็กและทองแดง (3) ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทาให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อ่อนแอลงจนทาให้หนี้สินอยู่ในระดับสูงขึ้น ควบคู่ไปกับตลาดแรงงานที่เปราะบางจากอัตราการว่างงานสูงโดยเฉพาะในภาคบริการ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ที่เพิ่มมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางเริ่มปรับทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินเร็วกว่า ที่คาด และอาจจะส่งผลกระทบซ้าเติมต่อความสามารถในการชาระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือน ขณะเดียวกัน ช่องว่างทางนโยบาย (Policy Space) ของแต่ละประเทศลดลงเนื่องจากการดาเนินนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับการแพร่ระบาดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะกลายเป็นข้อจากัดสาคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป และ (4) ความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก ซึ่งขึ้นอยู่กับ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นโยบายเศรษฐกิจของเยอรมนีภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงผู้นาหลังจากการเลือกตั้งในเดือนกันยายน ความผันผวนของเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ผลกระทบจากการปฏิรูปภาคการเงินการลงทุนในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมบริษัท ด้านเทคโนโลยี และด้านการศึกษา รวมทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และเสถียรภาพทางการเมือง อาทิ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน สถานการณ์ทางการเมืองในฮ่องกงและเมียนมา และความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนของประเทศต่าง ๆ ความสามารถในการกระจายวัคซีนให้ประชาชนแต่ละประเทศถือได้ว่าเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งจะนาไปสู่ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมและส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากหลายประเทศเศรษฐกิจหลักที่ สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสของการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตลงได้ ดังจะเห็นได้จาก ความสัมพันธ์ของ scatter plot ที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศที่มีสัดส่วนการฉีดวัคซีนสูงมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเสียชีวิตของประชากรในสัดส่วนที่ต่ากว่า อย่างไรก็ตาม การกลับมาเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในอิสราเอล สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ภายใต้การระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ยังเป็นเรื่องที่ ท้าทายขีดความสามารถและประสิทธิผลของวัคซีน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศสาคัญ ๆ ที่ยังต้องติดตาม และประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในปี 2564 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจนนาโดยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก ตามความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนและ การดาเนินมาตรการทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวและทาให้อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศเพิ่ม สูงขึ้นและสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อดังกล่าวส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของประเทศสาคัญ ๆ มีแนวโน้มจะดาเนินนโยบายการเงินกลับสู่ปกติ (Policy Normalization) เร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพบว่าเป็นการฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึงและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ (Uneven recovery) จากแผนภาพ Scatter Plot เปรียบเทียบระดับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สาคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาด และไตรมาสที่ สองของปี 2564 จะเห็นได้ว่าหลายประเทศการผลิตภาคอุตสาหกรรม และมูลค่าการค้าปลีกฟื้นตัวมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนวิกฤต สอดคล้องกับการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) โดยเฉพาะในส่วนของดัชนีราคาที่อยู่อาศัยและราคารถยนต์มือสองที่ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ และมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ถาวร (Permanent Inflationary Pressure) ดังนั้น แนวโน้มการตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนทิศทางการดาเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยการลดการผ่อนคลายนโยบาย การเงินลงจึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรง จากการกลายพันธุ์ของไวรัส และความเสี่ยงจากตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ สะท้อนจากอัตราการว่างงานในหลายประเทศยังอยู่ใน ระดับสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาด 5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สำคัญซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด ประกอบด้วย (1) การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ที่เริ่มทวีความรุนแรงนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 และยังคงมีความยืดเยื้อ ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วและเป็นวงกว้างมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องมีการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดในหลายพื้นที่จนส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และการใช้จ่ายภายในประเทศยังมีข้อจำกัดใน การขยายตัว รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างล่าช้า (2) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจท่ามกลาง การว่างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและถูกซ้ำเติมโดยการแพร่ระบาดระลอกใหม่ (3) แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิต รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และ (4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยในปี 2564 ยังมีแรงสนับสนุนสำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สามารถกลับมาขยายตัวได้อย่างช้า ๆ ประกอบด้วย (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อน จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ (3) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้ภาคเกษตรตามแนวโน้มผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร และ (4) ฐานการขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ปัจจัยสนับสนุน 1) การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 นำโดยการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่สำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนที่ส่งผลให้สามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดจนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ และการใช้จ่ายกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติมากขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักยังได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและสนับสนุนการฟื้นตัวทั้งด้านการเงินและการคลังขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ปริมาณการค้าโลกขยายตัวดีขึ้น และจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นหลักขยายตัวได้ 2) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจำปีและมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจำปี 2564 ในกรณีฐานคาดว่าจะมีการเบิกจ่าย ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 91.5 ของงบประมาณทั้งหมด โดยแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำที่ร้อยละ 98.0 และงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 65.0 ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณ 2564 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 3.007 ล้านล้านบาท เทียบกับ 2.944 ล้านล้านบาท ในปีงบประมาณ 2563 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ขณะที่งบประมาณเหลื่อมปี 2564 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณ หรือคิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1.834 แสนล้านบาท (2) การเบิกจ่ายภายใต้งบลงทุน รัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 65.0 จากวงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติ (3) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งสิ้น 850,000 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่าย ในปีงบประมาณ 2564 ทั้งสิ้น 5.508 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 84.1 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 และคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายอีก 85,000 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 (4) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 150,000 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของวงเงินกู้) ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2564 และคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายอีก 100,000 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 และ (5) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) โครงการพักทรัพย์พักหนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและปรับโครงสร้างหนี้ มาตรการเยียวยาและช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและค่าใช้จ่ายที่ด้านการศึกษา มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศอื่น ๆ อาทิ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 3) การปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคเกษตรกรรมตามแนวโน้มผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 การผลิตสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 1.7 เป็นการกลับมาขยายตัวภายหลังจากลดลงร้อยละ 6.8 และร้อยละ 0.2 ในช่วงครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี 2563 ตามลำดับ ตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับการเพาะปลูก โดยผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพด และ ยางแผ่นดิบ ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง ในช่วงครึ่งแรกของปีขยายตัวได้ร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 และร้อยละ 8.7 ในช่วงครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี 2563 ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นของความต้องการในตลาดโลกสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพด และผลไม้ การเพิ่มขึ้นของทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรและราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้รายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยที่ร้อยละ 13.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2564 คาดว่าผลผลิตภาคเกษตรจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ข้อมูลล่าสุด ณ 11 สิงหาคม 2564 ชี้ให้เห็นว่าปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) อยู่ที่ระดับ 1,541.69 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน 4) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ในเศรษฐกิจไทยใน ปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นการถดถอยครั้งแรกในรอบ 11 ปี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลกที่ลดลงร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2564 สามารถกลับมาขยายตัวได้ภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออกและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังคงรุนแรงและมีแนวโน้มยืดเยื้อท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนมีความระมัดระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดำรงชีวิตและการเดินทาง ในขณะที่ภาครัฐจำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดมากขึ้นเพื่อลด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุปสงค์ในประเทศ และทำให้ภาค การท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่องยังมีข้อจำกัดในการขยายตัว โดยข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และจำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยรายวันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดเริ่มกระจายครอบคลุมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ส่งผลให้ในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกาศให้พื้นที่ 29 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จากเดิม 13 จังหวัด ซึ่งแสดงถึงความรุนแรงของการระบาดและผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์ในกรณีฐาน ขณะเดียวกัน สถานการณ์ระบาดที่ยังคงรุนแรงท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและความล่าช้าของการกระจายวัคซีน ทั้งภายในประเทศและประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และมีแนวโน้มที่จะทำให้แต่ละประเทศยังต้องดำเนินมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อไป 2) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ท่ามกลาง การว่างงานที่อยู่ในเกณฑ์สูงและได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ในระยะต่อไปมากขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพักชำระหนี้ชั่วคราว การปรับโครงสร้างหนี้ และมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ต่อสินเชื่อทั้งหมดในไตรมาสที่หนึ่งปี 2564 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกัน และใกล้เคียงกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับสัดส่วนของสินเชื่อชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mentioned Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อทั้งหมด ในไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ลดลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 7.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ถือว่าสูงขึ้น เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่สี่ ของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาด สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Nonperforming Loans) และสัดส่วนของสินเชื่อชั้นกล่าวถึงพิเศษต่อสินเชื่อทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 13.1 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 4.6 และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่สี่ ของปี 2562 ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 90.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง สะท้อนจากอัตราการว่างงานที่ยังสูง โดยในไตรมาสที่สอง ของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.0 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 โดยอัตราการว่างงานยังคงสูงในสาขาภาคบริการที่ยังคงมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว อาทิ สาขาที่พักแรม สาขาตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว สาขาการบริหารสำนักงาน และสาขาการก่อสร้างอาคาร 3) แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการระบาดในพื้นที่การผลิต รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ดังนี้ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกใหม่เริ่มส่งผลกระทบในโรงงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรม ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 พบว่า มีโรงงานที่มีการระบาดทั้งสิ้น 518 แห่ง มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 36,861 คน โดยประเภทอุตสาหกรรมที่พบว่ามีโรงงานที่มีผู้ติดเชื้อ มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ หากการแพร่ระบาดยังคงมีความรุนแรงและกระจายในกลุ่มฐานการผลิตที่สำคัญเป็นวงกว้างมากขึ้น จะทำให้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก และการลงทุนในระยะต่อไปให้แตกต่างไปจากที่คาดในกรณีฐาน (2) ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์หรือชิปในตลาดโลกที่ส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั่วโลกได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องชะลอกำลังการผลิตลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ์า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม และ (3) ปัญหาด้าน โลจิสติกส์ระหว่างประเทศทั้งจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรืออยู่ในระดับสูง และระยะเวลาขนส่งสินค้าที่ใช้เวลานานมากขึ้น เนื่องจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไม่เพียงพอในการรองรับการขนส่งสินค้า โดยค่าระวางเรือสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุตไปยังสหรัฐฯ ยุโรป และฮ่องกงในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมร้อยละ 123.8 ร้อยละ 87.0 และร้อยละ 60.0 ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกและเป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงที่เหลือของปี 4 ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขในเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ทิศทางการดำเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะนโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และจีน (2) ความผันผวนของตลาดเงิน รวมทั้งเงินลงทุนระหว่างประเทศภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกใหม่ รวมถึงการปฏิรูปการกำกับดูแลธุรกิจของรัฐบาลจีน ซึ่งจะส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน (3) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศสำคัญในระยะต่อไป ภายใต้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ์อตามการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คาดและการเร่งตัวขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากผลของการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการซื้อสะสมในช่วงก่อนหน้า (Pending Demand) อย่างไรก็ดี ในกรณีฐาน คาดว่าธนาคารกลางสำคัญ ๆ อาจเริ่มส่งสัญญาณแต่จะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมถึงปรับลดมาตรการทางการเงินเชิงปริมาณภายในปี 2564 (4) การฟื้นตัวที่ไม่พร้อมกันของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่ยังคงเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ที่รุนแรงและมีขีดจำกัดทางด้านระบบสาธารณสุขและการกระจายวัคซีนที่ไม่เพียงพอ มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงจากปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออาจมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้ากว่าเศรษฐกิจอื่น ๆ และ (5) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และเสถียรภาพทางการเมือง อาทิ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและกลุ่มนาโต้ และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ที่อาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาพลังงาน รวมถึงสถานการณ์การทางการเมืองในเมียนมาร์ที่อาจจะส่งผลต่อการค้าชายแดนและการควบคุมการแพร่ระบาดตามแนวชายแดนได้

ผลกระทบต่อตลาดแรงงานยังคงสูง โดยเฉพาะภาคบริการ อัตราการว่างงานของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่สูงกว่าร้อยละ 1.0 ในปี 2562 ช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาด เมื่อพิจารณาในรายสาขาการผลิต (สาขาสุดท้ายก่อนการว่างงาน) พบว่าสาขาท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งสาขาด้านการผลิตสื่อและกิจกรรมบันเทิงอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบรุนแรง และมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง อาทิ สาขาตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว (อัตราการว่างงานร้อยละ 23.8) สาขาการขนส่งทางอากาศ (ร้อยละ 21.2) สาขาที่พักแรม (ร้อยละ 10.6) สาขาการผลิตภาพยนตร์ วีดิทัศน์ และรายการโทรทัศน์ การบันทึกเสียงลงบนสื่อและการจัดพิมพ์จำหน่ายหรือเผยแพร่ดนตรี (ร้อยละ 5.3) สาขาการจัดผังรายการและการแพร่ภาพกระจายเสียง (ร้อยละ 4.8) สาขากิจกรรมด้านการกีฬา ความบันเทิง และการนันทนาการ (ร้อยละ 3.6) สาขากิจกรรมไปรษณีย์และการรับส่งพัสดุภัณฑ์ (ร้อยละ 3.1) และสาขากิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปะและความบันเทิง (ร้อยละ 2.8) เมื่อพิจารณาแยกตามอาชีพ พบว่าในปี 2563 ทุกอาชีพมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 อัตราการว่างงานในบางสาขาอาชีพลดลงจาก ปีก่อนหน้า อาทิ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้าน การประกอบ ขณะที่ในบางสาขาอาชีพอัตราการว่างงานยังคงเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ช่างเทคนิคสาขาต่าง ๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเสมียน เมื่อพิจารณาระดับจังหวัด พบว่าจังหวัดที่มีอัตราการว่างงานสูง อาทิ ภูเก็ต (ร้อยละ 11.0) นราธิวาส (ร้อยละ 7.8) พังงา (ร้อยละ 4.2) และขอนแก่น (ร้อยละ 4.1) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 พบว่าอยู่ที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจาก 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ต่ำกว่า 43.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2562 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้มีงานทำที่มีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 12.8 ลดลงจากร้อยละ 17.3 ในปี 2563 แต่ยังสูงกว่าร้อยละ 10.1 ในปี 2562 สัดส่วนดังกล่าวนี้แสดงถึงสภาวะตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

1) การประมาณการครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานในกรณีฐานที่สำคัญ ดังนี้ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศจะผ่านพ้นจุดสูงสุดและสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ โดยในกรณีฐานคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตจะเริ่มผ่านพ้นจุดสูงสุดในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564 ก่อนที่จะเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ ในเดือนกันยายนและปรับตัวลดลงมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จนส่งผลให้ภาครัฐสามารถเริ่มผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นตามลำดับ (2) ไม่มีการแพร่ระบาดในระลอกใหม่จากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าในปัจจุบันทั้งการแพร่ระบาด ในต่างประเทศและภายในประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจนส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการท่องเที่ยวอย่างรุนแรงมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน (3) การกระจายวัคซีนสามารถเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและตามเป์าหมายที่คาดไว้ โดยในกรณีฐานคาดว่าจะสามารถกระจายวัคซีนได้อย่างน้อย 85 ล้านโดส ครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรทั้งหมดภายในปี 2564 และ (4) วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป์องกันโรคโควิด-19 และสามารถสร้างการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันโรคและ ลดอัตราการป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2)

ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักที่แข็งแกร่งและเร็วกว่าที่คาดการณ์ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน โดยเฉพาะประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศได้และมีความคืบหน้าใน การกระจายวัคซีนให้กับประชาชน อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และจีน ทำให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดมากขึ้น จนส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังจะได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเงินและการคลังขนาดใหญ่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ยูโรโซน และจีน ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 8.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.3 ในปี 2563 และ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน 3) - 32.3 2563 และ 29.8 - 30.8 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเจ็ดเดือนแรกของ ปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 32.6 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับ 30.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และ 31.4 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ และอ่อนค่าลงมากกว่าสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเผชิญกับข้อจำกัดในการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่ยังคงรุนแรง และการลดลงของรายรับจากการท่องเที่ยวต่างชาติที่ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุล ขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาด เนื่องจากความคืบหน้า ในการกระจายวัคซีนและการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพิ่มเติม สอดคล้องกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดและการลดลงของประสิทธิภาพของวัคซีนท่ามกลางการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดมีแนวโน้มกลับมารุนแรงมากขึ้น ประกอบกับความกังวลของนักลงทุนต่อความไม่แน่นอนในการปรับทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลัก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ท่ามกลางแนวโน้มอัตราเงินเฟ์อที่สูงขึ้น ราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 62.0 ? 72.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 42.4 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อนที่ 58.0 ? 68.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สอดคล้องกับราคาน้ามันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์ในสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน โดยราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ย ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 73.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงขึ้นจาก 67.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล และ 60.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรก ตามลาดับ ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในช่วงที่เหลือของปี 2564 ที่สาคัญ ได้แก่ (1) แนวโน้มการฟื้นตัวดีกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2564 สานักบริหารสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (US Energy Information Administration: EIA) คาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ามันทั่วโลกทั้งปี 2564 จะเพิ่มขึ้น 5.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปี 2563 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 (2) การปรับลดกาลังการผลิตของกลุ่ม OPEC สะท้อนจากอัตราความร่วมมือ (Compliance rate) ในการสารวจเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 115 ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 100 (3) ปริมาณน้ามันดิบคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 62.8 ของความจุถังจัดเก็บน้ามันที่กาลังใช้งานจริง (Working Storage Capacity) ณ สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นระดับที่ต่าสุดในรอบ 146 สัปดาห์ และต่ากว่าระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 73.9 ในปี 2563 และ (4) ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ การเจรจาข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน รวมถึงสถานการณ์ในเบลารุสและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับกลุ่มประเทศองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจฉุดรั้งอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ประกอบกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ ซึ่งอาจทาให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้ากว่าที่คาดและกระทบต่อความต้องการใช้น้ามัน (2) การเพิ่มขึ้นของจานวนแท่นขุดเจาะน้ามันดิบในสหรัฐฯ และแคนาดา และ (3) ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก OPEC และกลุ่มประเทศพันธมิตร (OPEC+) ในการเพิ่มกาลังการผลิตน้ามันเดือนละ 4 แสนบาร์เรลต่อวันในช่วง 5 เดือนหลังของปี 2564 5) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าในปี 2564 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ? 3.5 และร้อยละ 4.0 ? 5.0 โดยมีค่ากลางของช่วงสมมติฐานราคาส่งออกและราคานาเข้าอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 4.5 ตามลาดับ เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.8 และร้อยละ 3.8 ในปี 2563 ตามลาดับ และเป็นการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาสินค้านาเข้าจากการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบในตลาดโลก และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 6) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.12 ล้านล้านบาท ลดลงจาก 0.44 ล้านล้านบาทในปี 2563 หรือคิดเป็น การลดลงร้อยละ 73.1 และเป็นการปรับลดลงจาก 0.17 ล้านล้านบาท ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ตามการลดลงของประมาณการจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 จาก 5.0 แสนคนในการประมาณการครั้งก่อน เป็น 1.5 แสนคนในการประมาณการครั้งนี้ และเป็นการลดลงจาก 6.7 ล้านคนจากปี 2563 หรือลดลงร้อยละ 97.8 การปรับลดสมมติฐานดังกล่าวเป็นผลจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดที่รุนแรงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นการปรับลดสมมติฐานจานวนนักท่องเที่ยวในประเทศต้นทางที่สาคัญ ได้แก่ อินเดีย ภูมิภาคเอเชียใต้ และภูมิภาคอาเซียน ที่ยังคงเผชิญกับการระบาดรุนแรงและมีความล่าช้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน รวมทั้งประเทศจีนที่มีแนวโน้มยังจากัดการเดินทางออกนอกประเทศของนักท่องเที่ยวชาวจีน อย่างไรก็ตาม ในกรณีฐานคาดว่าการผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) และพื้นที่นาร่องอื่น ๆ จะยังดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว 7) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2564 ร้อยละ 91.5 ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งเป็นการปรับลดจากสมมติฐานการเบิกจ่ายร้อยละ 92.5 ในประมาณการครั้งก่อน โดยแบ่งเป็น อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาร้อยละ 98.0 เท่ากับสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน และอัตราการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนร้อยละ 65.0 ซึ่งเป็น การปรับลดลงจากร้อยละ 70.0 ในประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสที่สามที่ต่ากว่าสมมติฐาน ในการประมาณการครั้งก่อน และ (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปีอยู่ที่ร้อยละ 85.0 เท่ากับสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อน (3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจร้อยละ 70.0 ของวงเงินงบประมาณ เท่ากับสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา (4) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งสิ้น 850,000 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่าย ในปีงบประมาณ 2564 ทั้งสิ้น 550,800 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 84.1 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563 และคาดว่าในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 จะมีการเบิกจ่ายอีก 85,000 ล้านบาท และ (5) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติมวงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 150,000 ล้านบาท (ร้อยละ 30 ของวงเงินกู้) ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2564 และคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายอีก 100,000 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ? 1.2 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 1.0) เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 สาหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 1.5 เทียบกับร้อยละ (-0.8) ในปี 2563 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.0 ของ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ 3.5 ในปี 2563 ในการแถลงข่าววันที่ 16 สิงหาคม 2564 สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 0.7 ? 1.2 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เป็นการปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงจากร้อยละ 1.5 - 2.5 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 2.0) ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและการปรับเปลี่ยนสมมติฐานประมาณการที่สาคัญ ๆ ดังนี้ 1) การแพร่ระบาดภายในประเทศในระลอกใหม่ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ซึ่งมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่ตั้งไว้ในเงื่อนไขและสมมติฐานในการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะผ่านพ้นจุดสูงสุดได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ส่งผลให้มีการปรับประมาณการองค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สาคัญ ประกอบด้วย (1) การปรับประมาณการการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศระลอกใหม่ที่มีความรุนแรง สะท้อนจากจานวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวันที่ยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจนทาให้ภาครัฐต้องเพิ่มระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่16 และส่งผลกระทบต่อ การเดินทางออกไปจับจ่ายใช้สอยและดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน รวมทั้งก่อให้เกิดความระมัดระวังพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามของปีให้ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสาคัญ โดยคาดว่าในปี 2564 การอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 1.1 ปรับลดลงจากร้อยละ 1.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และ (2) การปรับประมาณการการส่งออกบริการ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าที่คาดของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังรุนแรงภายในประเทศและหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทาให้ประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวยังไม่สามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ตามที่คาด และจะส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทยล่าช้าออกไปกว่า ที่คาดในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าในปี 2564 จานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 1.5 แสนคน ลดลงจาก 5 แสนคน ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับ 6.7 ล้านคน ในปี 2563 ส่งผลให้คาดว่าจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 1.2 แสนล้านบาท ลดลงจาก 1.7 แสนล้านบาท ในการประมาณการครั้งก่อน และ 4.4 แสนล้านบาทในปี 2563 2) การปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายของงบประมาณรายจ่ายลงทุนภาครัฐ ให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในสามไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 ที่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมไปร้อยละ 43.8 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด ซึ่งต่ากว่าร้อยละ 46.7 ที่คาดการณ์ไว้ในการประมาณเศรษฐกิจครั้งก่อน ดังนั้น ในการประมาณการครั้งนี้จึงปรับลดสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนสาหรับปีงบประมาณ 2564 เป็นร้อยละ 65.0 ลดลงจากร้อยละ 70.0 ในการประมาณครั้งก่อน ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนภาครัฐขยายตัวได้ช้าลงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม 3) การปรับสมมติฐานเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สาคัญซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน และประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย) ส่งผลให้ในปี 2564 เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 6.0 และร้อยละ 8.5 ตามลาดับ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 และร้อยละ 7.8 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งจะส่งผลให้ภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.1 ปรับตัวดีขึ้นจาก การลดลงร้อยละ 1.0 ในปี 2563 แต่เป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศที่ยังคงมีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังพฤติกรรมการใช้จ่ายและการดารงชีพเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและภาครัฐเพิ่มระดับความเข้มงวดของการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายพื้นที่ของประเทศมากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นของประชาชนในการออกมาจับจ่ายใช้สอยปรับตัวลดลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 35.3 เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้าและต่าสุดเป็นประวัติการณ์ และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 0.9 ในปี 2563 และเป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 5.1 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และพระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท ในส่วนที่มีการปรับแผนการเบิกจ่ายเป็นมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่มากขึ้นจากสมมติฐานในการประมาณครั้งก่อน 2) การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.8 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 8.4 ในปี 2563 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก และสอดคล้องกับดัชนีการใช้กาลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 63.9 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 55.4 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.7 เป็นการปรับลดจากร้อยละ 9.3 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับลดสมมติฐานอัตราเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2564 ลงเป็นร้อยละ 65.0 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด จากสมมติฐานเดิมที่ร้อยละ 70.0 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลอัตราการเบิกจ่ายในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2564 ซึ่งต่ากว่าที่คาดไว้ในสมมติฐานเดิม ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากการลงทุนก่อสร้างภาครัฐที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดภายในประเทศระลอกใหม่ 3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 16.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.5 ในปี 2563 และเป็น การปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 10.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 13.3 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.3 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก อย่างไรก็ตาม การปรับลดสมมติฐานจานวนนักท่องเที่ยวส่งผลให้คาดว่าการส่งออกบริการจะอยู่ในระดับต่ากว่าประมาณการครั้งที่ผ่านมา เมื่อรวมกับการปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกสินค้า ทาให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการรวมขยายตัวร้อยละ 9.6 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในการประมาณการครั้งก่อน และการลดลงร้อยละ 19.4 ในปี 2563 4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 13.8 ในปี 2563 และเป็น การปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 13.1 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการนาเข้าสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 15.6 เทียบกับร้อยละ 9.1 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการปรับสมมติฐานราคาสินค้านาเข้าจากการขยายตัวร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 4.5 ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ามันดิบ เมื่อรวมกับการปรับประมาณการการนาเข้าบริการ คาดว่าปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 15.8 เทียบกับร้อยละ 4.7 ในการประมาณการครั้งก่อน และเทียบกับการลดลงร้อยละ 13.3 ในปี 2563 5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุลที่ 3.92 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 4.09 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2563 และเพิ่มขึ้นจากการเกินดุล 3.87 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าเร็วกว่ามูลค่าการนาเข้า อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับดุลบริการที่มีแนวโน้มขาดดุลมากขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนตามความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณ 1.03 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ (-2.0) ของ GDP เทียบกับการเกินดุล 1.76 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของ GDP ในปี 2563 และการเกินดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP ในการประมาณการครั้งก่อน 6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 ? 1.5 เทียบกับร้อยละ 1.0 ? 2.0 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลมาจากการลดลงของแรงกดดันทางด้านการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด 6. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับแนวทางที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1) การควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด โดยให้ความสำคัญกับ (1) การเพิ่มประสิทธิผลในการลดการแพร่เชื้อ ในครัวเรือน ชุมชน และกลุ่มแรงงาน (2) การจัดลำดับความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตามอาการเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเร่งรัดจัดหายาและเวชภัณฑ์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดการใช้ทรัพยากรเพื่อรองรับผู้ป่วยกรณีอาการรุนแรง (3) การบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงอย่างเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัดภายในบริเวณสถานประกอบการหรือโรงงาน (Bubble and Seal) และ (4) การเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนอย่างเพียงพอและทั่วถึง2) การช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจในช่วงที่การระบาดของโรคมีความรุนแรงและมีการดำเนินมาตรการควบคุม

การระบาดอย่างเข้มงวด ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างความเหมาะสม เข้าถึงเป์าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น (2) การพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานและธุรกิจผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงาน ควบคู่ไปกับ การพิจารณามาตรการสร้างงานใหม่และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน และ (3) การพิจารณามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในลักษณะเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ประกอบการธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบรุนแรงตั้งแต่การระบาดระลอกแรกและยังมีความล่าช้าในการฟื้นตัว โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs 3) การดำเนินมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง โดยให้ความสำคัญกับมาตรการ

สนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ การจัดพื้นที่สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการป์องกันการกลับมาระบาดของโรค และการแก้ปัญหาและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถกลับมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ 4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ (1) การควบคุมการแพร่ระบาดในฐานการผลิตที่สำคัญ (2) การเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า (3) การแก้ไขปัญหา การขาดแรงงานต่างชาติในภาคการผลิต (4) การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (5) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการพัฒนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า และ (6) การเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า 5) การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่าย (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 91.5 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 98.0 และงบลงทุนร้อยละ 65.0 (2) งบเหลื่อมปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.0 (3) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70.0 และ (4) แผนงานและโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.0 ของวงเงินกู้ และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม เงินกู้วงเงิน 5 แสนล้านบาท ให้ได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50.0 ของวงเงินกู้ 6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (1) การควบคุมการระบาดภายในประเทศเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน (2) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริง (3) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและ การประกอบธุรกิจ (4) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป์าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (5) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมถึงการขับเคลื่อนการเกิดของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาค และ (6) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ 7)การดูแลเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมแก่ปัญหาเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ควบคู่ไปกับ การติดตามและเฝ์าระวังความผันผวนและแรงกดดันด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงและความยืดเยื้อในการระบาดภายในประเทศ และการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ